สภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
1. ผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และผู้ปกครองมีความคิดเห็นเกี่ยวกับสภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และ ผู้ปกครอง เกี่ยวกับสภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ทั้งโดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน
3. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหาร ครูผู้ดูแลเด็ก และ ผู้ปกครองในหน่วยสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล กับหน่วยสังกัดเทศบาลตำบล เกี่ยวกับสภาพบรรยากาศการเรียนการสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05
4. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับสภาพบรรยากาศการเรียน การสอนของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์ ในแต่ละด้าน ดังนี้ 1) การจัดสภาพห้องเรียนควรจัดบริเวณรอบอาคารเรียนให้สะอาด ปลอดภัย มีต้นไม้ร่มรื่น 2) ด้านเทคนิค การปกครองชั้นเรียนของครู ครูผู้ดูแลเด็กควรอบรมให้นักเรียนมีคุณธรรม จริยธรรมทุกวัน 3) ด้านบุคลิกภาพของครู ครูผู้ดูแลเด็กควรมีความประพฤติดี ทั้งทาง กาย วาจาและใจ 4) ด้านพฤติกรรมการสอนของครูควรศึกษาเด็กเป็นรายบุคคลเพื่อนำไปพัฒนานักเรียน 5) ด้านการจัดป้ายนิเทศ ควรจัดป้ายนิเทศให้สวยงาม น่าดู สร้างความสนใจให้แก่ นักเรียน 6) ด้านการ จัดมุมต่างๆ ในห้องเรียนควรมีมุมเก็บอุปกรณ์ทำความสะอาดห้องเรียน แยกเป็นสัดส่วน 7) ด้านการจัดโต๊ะเก้าอี้ของนักเรียนและครูควรจัดโต๊ะเก้าอี้ ขนาดเหมาะสมกับรูปร่างและวัยของนักเรียน 8) ด้านปฏิสัมพันธ์ในห้องเรียน ครูผู้ดูแลเด็กควรเปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นอย่างเท่าเทียมกัน ตามลำดับ
The Condition and Environment of Teaching and Learning in the Child Development Centers under the Local Administrative Organization in KasangDistrict, Buriram Province
This research aimed to study and compare the opinions of administrators, babysitters and guardians about the condition and environment of teaching and learning in the child development centers under the Local Administrative organization in Kasang District, Buriram Province, classified by positions and organizations in eight aspects : student’s and teacher’s desks provocation, supervising exhibitions, classroom environment management, classroom corners,teacher’s personality, teacher’s behaviors, teacher’s classroom management, and teacher’s classroom interactions. The samples were 36 administrators, 135 babysitters and 310 guardians. The administrator and babysitters groups of samples were all population while the guardians was selected by simple random sampling. The instrument was a 3 – part questionnaire including checklist, 5-rating scale and open-ended form. The data were analyzed by using percentage, mean, and standard deviation.The hypotheses were tested by t-test and F-test. If there was significant difference, the pair comparisons were applied by Schiffe´method. The findings were as follows:
1. The opinions of the administrators, babysitters, and guardians about the conditionand environment of teaching and learning in the child development centers under the Local Administrative Organization in Kasang District, Buriram Province both in overall and each aspect were at high levels.
2. The comparison of the opinions of administrators, babysitters, and guardians about the condition and environment of teaching and learningin the child development centers under the Local Administrative Organization in Kasang District, Buriram Province bothoverall and ineach aspect was not different.
3. The comparison of the opinions of administrators, babysitters and guardians about the condition and environment of teaching and learning in the child development centers under the Local Administrative Organization in Kasang District, Buriram Province, classified by organizations was statistically significant difference at .05
4. The opinions and suggestions about the condition and environment of teaching and learning of the child development centers under the Local Administrative Organization in Kasang District, Buriram Province, in each aspect were that : 1) Classroom environment management : the building environment should be clean, safe and fresh air, 2) Teacher’s classroom management : the babysitters should daily train and teach students to have morality and ethics, 3) Teacher’s personalities: the babysitters should be as the good model, 4) Teacher’s behaviors : teachers should study the individual student in order to bring it to develop the students, 5) Supervising exhibitions: the supervising exhibitions should be beautiful, and attracted the interests of students, 6) Classroom corners ; the corners in the classroom for keeping the clean instruments should be provided and separated, 7) Student’s and teacher’s desks provocation: the provocation of desks should be suitable for appearance and age of students, and 8) Classroom interactions: the babysitters should let the students a chance to express their ideas equally, respectively.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์