การศึกษาผลการใช้พลังงานทดแทนเพื่อการหุงต้มในระดับครัวเรือน

Main Article Content

พัชรินทร์ ฤชุวรารักษ์
วิเชียร เกิดสุข
ดิรก สาระวดี
วิจิตร จันทรมาศ
วชิราพร เกิดสุข

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการใช้พลังงานทดแทน ศักยภาพ ข้อจำกัด และแนวทางการใช้พลังงานทดแทนเพื่อประกอบการหุงต้มในระดับครัวเรือน โดยศึกษาใน 3 พื้นที่ที่ได้รับการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทน คือ 1) ต.ม่วงหวาน จ.ขอนแก่น 2)ต.โคกสูง จ.ขอนแก่น และ 3)กลุ่มต.บัลลังก์ จ.นครราชสีมา ทำการศึกษาด้วยการเก็บข้อมูลจากแบบสัมภาษณ์ครัวเรือน และการสนทนากลุ่ม เปรียบเทียบก่อนและหลังการส่งเสริมเทคโนโลยีพลังงานทดแทน

ผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคโนโลยีพลังงานทดแทนเพื่อประกอบการหุงต้ม คือ เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแนวตั้ง เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแนวนอน เครื่องผลิตถ่านอัดแท่ง บ่อหมักก๊าซชีวภาพแบบโอ่ง และเตาซุปเปอร์อั้งโล่ ทำให้ลดปริมาณการใช้พลังงานเพื่อการหุงต้มเฉลี่ย 188.15 กก./ปี/ครัวเรือน ลดค่าใช้จ่ายด้านพลังงานเพื่อการหุงต้มเฉลี่ย 1,076.77 บาท/ปี/ครัวเรือน ด้านศักยภาพรายเทคโนโลยีพบว่าเทคโนโลยีที่มีการใช้อย่างต่อเนื่องมากที่สุดหลังสิ้นสุดการส่งเสริม คือ เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแนวตั้ง ร้อยละ 97.6 ของครัวเรือนที่ได้รับเทคโนโลยี รองลงมา คือ เตาซุปเปอร์อั้งโล่ ร้อยละ 88.9 และ เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแนวนอน ร้อยละ 77.27 ปัจจัยสำคัญที่ทำให้มีผู้สนใจใช้เตาเผาถ่าน 200 ลิตรแนวตั้งจำนวนมาก เนื่องจากเป็นเทคโนโลยีที่ใช้ได้ง่าย ผลิตจากวัสดุที่มีในท้องถิ่น และสามารถโยกย้ายไปเผาตามจุดต่างๆ ได้สะดวก

 

A RESULT OF RENEWABLE ENERGY FOR COOKING IN THE HOUSEHOLD

This study is conducted in three sub districts (comprise of Muang Waan, Koksoong in Khonkaen province and Bunlang in Nakhonratchasima province) to explore a comparative adaptation on adopting of various alternative energy technologies before and after the extension programs intervened. Quantitative data is collected by questionnaire on household interviewing. As well as the qualitative method by using focus group technique and semi structural interview guideline are applied for enhancing a clearer illustration. It found that vertical 200 liters charcoal making chamber, horizontal 200 liters charcoal making chamber, Charcoal briquette hand machine, 2 cubic meters household digester for biogas , and Super Unglo stove could reduce a using of energy cooking stuff, comparably 188.15 kg. per household an annum. By converting, it can reduce Baht 1,076.77 of expenses per household per year. A high adoption percentage is on vertical 200 liters charcoal making chamber is 97.6%, 88.89.% of Super Unglo stove, and 77.27% of horizontal 200 liters charcoal making chamber. Factors effection for the high percentage of the adoption is a simplicity and handy equipment, especially for the vertical 200 liters charcoal making chamber is movable to elsewhere.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)