การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5

Main Article Content

วิมัลลี คำนุ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5 เพื่อเปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา โดยศึกษาจากความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและจำแนกศึกษาสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันเพื่อเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ใน การศึกษาวิจัยและสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน (Standards Deviation) และการทดสอบค่าที (t-test Independent Samples)

ผลการวิจัยพบว่า 1)การบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของสถานศึกษา ในภาพรวมมีระบบการบริหารจัดการที่ดี ระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน โดยเรียงลำดับตามค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย ได้ดังนี้คือ ด้านกระบวนการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการภายในสถานศึกษา ด้านการเรียนการสอน ด้านทรัพยากรการเรียนรู้ และด้านโครงสร้างพื้นฐาน และอยู่ในระดับปานกลางคือ ด้านความร่วมมือภาครัฐเอกชนและชุมชน ซึ่งสะท้อนระบบบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษาของโรงเรียนต่าง ๆ ว่ามีการจัดระบบที่ดี มีการนำระบบการบริหารไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา 2)เปรียบเทียบการบริหารเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกันพบว่ามีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการเรียนการสอนตามความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาในสถานศึกษาที่มีขนาดต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

INFORMATION AND COMMUNICATION TECHNOLOGY ADMINISTRATION FOR EDUCATION OF SCHOOLS UNDER KHONKAEN PRIMARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE 5

The objectives of this research were: (1) to study an information and communication technology administration for education of schools under Khon Kaen Primary Educational Service Area Office 5; and (2) to compare the administration of information and communication technology for education of those schools. Opinions of school administrators were studied as well. A sample group of this study included schools with different sizes. The collected data were analyzed for mean and standard deviation. In addition, an independent samples t-test was also conducted. The study found that: 1) The overall administration of information and communication technology for education of schools was at a high level. However, when it was considered separately, the study showed that an administration of information and communication technology for education of schools could be arranged from high to low according to its means as follows: Leaning Process, Internal Administration, Learning and Teaching Process, Learning Resources, and Basic Structure. On the other hand, Cooperation with Private Sector, Government Sector, and Community was at a moderate level. The findings showed that schools had a good system in information and communication technology administration for education. An administrative system was applied for educational purposes. 2) According to a comparison of information and communication technology administration for education, the study revealed that opinions of administrators from schools with different sizes were different significantly and statistically at .05 level. However, the study also showed that opinions regarding learning and teaching process of administrators from schools with different sizes were not different significantly at .05 statistical level.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)