การพัฒนาชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพและประสิทธิผลของชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ และ 2) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษโดยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ พนักงานในกลุ่มธุรกิจท่องเที่ยวและบริการในเขตกรุงเทพมหานคร จำนวนทั้งสิ้น 38 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้เข้ามารับบริการการฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) ชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษ 2) แบบทดสอบก่อนเรียน ระหว่างเรียน และหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นผู้เข้าอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรม และสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test dependent
ผลการศึกษาพบว่า ประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษสำหรับพนักงานธุรกิจท่องเที่ยวและบริการสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ E1 = 80 / E2 = 80 ทั้งสองหัวข้อ กล่าวคือ หัวข้อการใช้ภาษาอังกฤษในการสำรองที่พักและตั๋วเครื่องบินมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 80/93 และ หัวข้อการใช้ภาษาอังกฤษในการจัดทัวร์และแนะนำสถานที่ท่องเที่ยวมีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 82/96 โดยค่าประสิทธิภาพของชุดฝึกอบรมเกินกว่าเกณฑ์ที่ได้กำหนดเอาไว้มาก
ในด้านประสิทธิผลนั้น ชุดฝึกอบรมมีประสิทธิผลที่ดี ผู้เข้าอบรมมีคะแนนเฉลี่ยของแบบทดสอบหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน กล่าวคือ คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนหัวข้อแรกมีค่าเท่ากับ 9.63 และหัวข้อที่สองเท่ากับ 9.29 แสดงให้เห็นว่าผู้เข้าอบรมสามารถใช้ชุดฝึกอบรมด้วยตนเองได้เป็นอย่างดี ซึ่งทำให้มีพัฒนาการทางด้านทักษะภาษาอังกฤษเพิ่มมากขึ้น
ความคิดเห็นของผู้เข้าอบรมที่มีต่อชุดฝึกอบรมทักษะภาษาอังกฤษนั้น ผู้เข้าอบรมเห็นด้วยว่าชุดฝึกอบรมนี้สามารถเพิ่มทักษะภาษาอังกฤษและความเข้าใจในด้านเนื้อหาได้จริง นอกจากนี้ ผู้เข้าอบรมยังกล่าวด้วยว่า สามารถนำทักษะที่ได้ไปประยุกต์ใช้และต่อยอดกับความรู้ด้านการท่องเที่ยวและบริการได้เป็นอย่างดี ควรจะนำชุดฝึกอบรมไปเผยแพร่ให้กับผู้ที่สนใจต่อไป
Development of an English Skill Training Package for Hospitality and Tourism Officers
Currently, Thai skilled-workers have faced lots of pressure in labor market, particularly in travel industry where they have to use English as a medium language. This is due to their less ability of English communication. Training package, as one of the teaching methods, can help them improve their English skills. Therefore, the researchers have developed an English skill training package for hospitality and tourism officers to reduce this burden. This research tends to explode1) the efficiency and effectiveness of the training package according to the 80/80 standard, and 2) the opinion of hospitality and tourism officers regardless to the training package.
The samples, which are 38 people who are working as officers in the field of hospitality and tourism industry, are obtained by using purposive sampling method from the English training session. The instruments included a training package, a pretest and posttest paper, and a questionnaire of officers’ opinions. The data are analyzed with the statistical methods including average, standard deviation, and t-test dependent.
The research results illustrate that efficiency of the training package is higher than expected. That is, in other words, higher than 80/80 standard for both topics; 80/93 for English for hotel and airline reservation topic and 82/96 for English for tourist attractions and tour operation topic. In terms of effectiveness, the scores of the posttest are higher than the pretest: the average posttest scores are 9.63 for the first topic and 9.29 for the second topic. This means that after using training package, learning achievement scores for the sample group is higher. So, it is clear that the training package can help those officers develop their
For the opinion part, hospitality and tourism officers said that they agreed that this training package can improve English skills as well as increase knowledge in hospitality and tourism field. Furthermore, they also said that they would apply skills and knowledge learnt with their work experience and would recommend this training package to others in this field.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์