Effects of Genre-based Approach to Improve Grade 11 Students’ Writing Ability and Retention
Main Article Content
บทคัดย่อ
The findings were as follows :
1. The efficiency of lesson plans of English writing on genre-based approach was 89.40/77.64 which was higher than the criterion set at 75/75.
2. The grade 11 students’ writing ability post-test mean score was higher than the pre-test mean score with statistically significant difference at .05 level.
3. The grade 11 students’ satisfaction toward writing after learning through the genre-based approach in overall was at the most satisfactory
4. The comparison of grade 11 students has the retention after learning English writing through the genre-based approach. The findings can be significant for teachers and students to develop effective teaching and learning regarding writing ability on genre-based approach in the EFL settings.
ผลการใช้การสอนแบบอรรถลักษณะเพื่อพัฒนาความสามารถ และความคงทนในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแผนการจัดการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 2) เปรียบเทียบความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะ ก่อนเรียนและหลังเรียน 3) ศึกษาความพึงพอใจของ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนการเขียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะ และ 4) ศึกษาความคงทนการเขียนภาษาอังกฤษของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 5 โดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 จำนวน 42 คน ซึ่งเรียนวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน (อ32102) ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสตึก อำเภอสตึก จังหวัดบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนต่อการ เขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ Dependent Samples t-test โดยกำหนด ค่านัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
ผลการศึกษาพบว่า
1. แผนการจัดการเรียนรู้การเขียนภาษาอังกฤษ โดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ 89.40/77.64 ซึ่งมีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 ที่ตั้งไว้
2. เปรียบเทียบนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนภาษาอังกฤษโดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะมีความสามารถในการเขียนภาษา อังกฤษหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05
3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเขียนโดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะในระดับมากที่สุด
4. เปรียบเทียบนักเรียนที่เรียนการเขียนโดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะมีความคงทนการเรียนไม่แตกต่างจากหลังเรียน
ผลจากการศึกษาจะเป็นข้อมูลที่สำคัญสำหรับครูและนักเรียนในการพัฒนาการเรียนการ สอนทักษะการเขียนโดยใช้การสอนแบบอรรถลักษณะของการเรียนภาษาอังกฤษในฐานะภาษา ต่างประเทศที่มีประสิทธิภาพต่อไป
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์