การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านจากข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดบุรีรัมย์เพื่อส่งเสริม ความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ

Main Article Content

ปัญญา แร่เพชร
อัญญารัตน์ นาถธีระพงษ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกทักษะการอ่าน ให้ได้ตามเกณฑ์ 75/75 เพื่อเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน และเพื่อศึกษาเจตคติของนักศึกษาหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่าน กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาสาขาวิชาภาษาอังกฤษ ชั้นปีที่ 2 หมู่ที่2 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ จำนวน 33 คน ได้มาจากการสุ่มแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบฝึกทักษะการอ่าน จำนวน 8 บท แผนการสอนจำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถการอ่านเพื่อความเข้าใจก่อนและหลังเรียนและแบบวัดเจตคติของนักศึกษา ซึ่งประกอบด้วยแบบวัดเจตคติโดยสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า และแบบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง ผู้วิจัยดำเนินการวิจัยโดยใช้การวิจัยเชิงทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อนและหลังเรียน

ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะการอ่านมีประสิทธิภาพเท่ากับ 79.81/81.52 ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมาก 2) ความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษของนักศึกษาหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านสูงกว่าก่อนการใช้แบบฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) นักศึกษามีเจตคติต่อแบบฝึกทักษะการอ่านอยู่ในระดับสูงทุกบทเรียน

 

The Development of Reading Comprehension Exercises Based on English Local Information of Buriram Province to Promote Reading Comprehension

The purposes of this research were 1) to develop reading skill exercises based on local information of Buriram Province and to test their effectiveness according to the standard 75/75 2), to compare students’ English reading comprehension before and after using the developed exercises and 3) to analyze students’ attitudes toward the developed exercises. The sample consisted of 33 second year students of English major, Faculty of Education, Buriram Rajabhat University. Simple random sampling technique was used for selecting the sample. The instruments used in this study included 8 units of developed exercises, 8 lesson plans, and English reading comprehension proficiency pre/post-test, an attitude questionnaire toward English reading comprehension exercises in form of rating scale and using the semi-structured interview and conducting the research by using one group pretest posttest design.

The study revealed that:1) The effectiveness of English reading comprehension exercises was 79.81/81.52 percent for the practice exercises and post-test which means the developed exercises were highly effective.2) The students’ English reading comprehension proficiency after using the developed exercises was significantly higher than before at the 0.05 level. 3) The students’ attitudes toward the developed exercises were at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)