สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32

Main Article Content

บุญยวีร์ พัฒน์ธนกิตติโชค

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบสภาพการบริหารงบประมาณของสถาน ศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 ตามความ คิดเห็นของผู้บริหารและครู กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารและครูทั้งหมด จำนวน 246 คนจากโรงเรียน 10 โรงเรียนซึ่งได้มาโดยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวม ข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 1 ฉบับ 55 ข้อมีค่าอำนาจจำแนก รายข้อตั้งแต่ 1.835 –7.856 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .992 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบสมมติฐานใช้ t – test (Independent Samples) กำหนดระดับนัยสำคัญ .05 ผลการวิจัย ปรากฏดังนี้

1. ความคิดเห็นของผู้บริหารต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขต เมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและรายด้านทุกด้านมี การปฏิบัติอยู่ในระดับมาก

2. การเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูต่อสภาพการบริหารงบประมาณของสถาน ศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32 โดยรวมและ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครูได้แสดงความคิดเห็นและให้ข้อเสนอแนะเพิ่มเติมเกี่ยวกับสภาพ การบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขตเมืองบุรีรัมย์ ฯลฯ ครบทั้ง 7 ด้าน

 

Budget Management Condition of Schools in Muang Buriram Consortium Under the Supervision of Secondary Education Office Area 32

This study aimed to investigate and compare budget management condition of schools in Muang Buriram Consortium under the supervision of Secondary Education Office Area 32 based on opinions of teachers and administrators. Sample Random Sampling was used for the sample group, consisted of 246 teachers and administrators from 10 schools. A set of questionnaire having the reliability value at. 992. Percentage, mean, and standard deviations were used for the statistical treatment and independent Sample t-test used for hypothesis testing. The statistical was set for the significance level at .05. Results of the study revealed that following:

1. As a whole, the administrator respondents’ opinions to budget management condition under the supervision of Secondary Education Ofice Area 32 were found at a high level.

2. As a whole, comparing opinions of the administrator and the teacher respondents to budget management condition under the supervision of Secondary Education Office Area 32 were found at a high level. There was a statistically significant difference at .05

3. The opinions and suggestions to budget management condition of the administrator and the teacher respondents of schools in Muang Buriram Consortium were completed all 7 parts.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)