การใช้ประโยชน์ป่าชุมชนโกรกประดู่ ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์

Main Article Content

ผกามาศ มูลวันดี

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้ วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการใช้ประโยชน์จากป่าชุมชนโกรกประดู่ ตำบลโคกกลาง อำเภอลำปลายมาศ จังหวัดบุรีรัมย์ เพื่อทราบถึงมูลค่าของสิ่งที่คงเหลืออยู่ในป่า และข้อมูลการใช้ ประโยชน์จากป่า ดังนี้ 1) มูลค่าคงเหลือของป่า ประมาณปี พ.ศ.2518 มีพื้นที่ประมาณ 4,000 กว่าไร่ สัตว์ป่า มีหลากหลายพันธุ์ หนองน้ำกลางพื้นที่ป่าเป็นแหล่งน้ำสำคัญของชุมชน เป็นทั้งน้ำอุปโภคและ บริโภค เป็นแหล่งจับสัตว์น้ำ เก็บหาของป่า และพืชใช้เป็นอาหาร ไม้ฟืน ปัจจุบันในปี พ.ศ.2559 พื้นที่ ของป่าคงเหลือประมาณ 714 ไร่ จากระยะเวลาที่ผ่านมา 41 ปี แสดงให้เห็นชุมชนมีการเข้าไปใช้พื้นที่ ของป่าในการทำประโยชน์หรือใช้ประโยชน์ในการทำมาหากินและมีการครอบครองป่าทำให้พื้นที่ป่าลด น้อยลง 2) การใช้ประโยชน์จากป่าจากชุมชนที่อาศัยอยู่รอบป่า จำนวน 104 คน จากทั้ง 4 หมู่บ้าน พบว่า ป่าชุมชนโกรกประดู่ยังมีความอุดมสมบูรณ์ ซึ่งเห็นได้จากมูลค่าสิ่งที่ยังคงเหลือจากการเข้าไปใช้ ประโยชน์ เช่น ประโยชน์ที่ได้จากเห็ดป่ามีมูลค่าตลอดปี จำนวน 218,350 บาท มันสำปะหลัง/อื่น ๆ เช่น ผักติ้ว กลอย หนอไม้ ฯลฯ จำนวน 1,179,500 บาท ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่คนในชุมชนได้มีการ เข้าไปใช้ประโยชน์จากป่าในชุมชน แสดงให้เห็นว่าคนในชุมชนควรมีการรักษา และอนุรักษ์ป่าชุมชน โกรกประดู่ให้คงเหลือชั่วลูกชั่วหลาน และ 3) ประโยชน์ที่ได้จากป่าของคนในชุมชน มีดังนี้ 3.1) การนำ ของดีด้านป่า ป่าชุมชนแห่งนี้มีไม้หลากหลายชนิด เช่น ต้นตะขบ ต้นเหลื่อม ต้นจิก ต้นประดู่ ต้นจบก ต้นติ้ว ต้นกุงหรือต้นพลวง ต้นรัง ต้นเต็ง ต้นแดง ต้นตูมกา ต้นมะค่า ต้นไข่เน่า เป็นต้น ซึ่งไม้บางอย่าง กำลังจะสูญพันธุ์และไม้บางอย่างกำลังเป็นที่ต้องการของนักออกแบบบ้านจัดสรร 3.2) การนำของดี ด้านเห็ด ป่าชุมชนแห่งนี้จะอุดมไปด้วยเห็ดหลากหลายสายพันธุ์ เช่น เห็ดน้ำหมาก เห็ดตะปู เห็ดผึ้ง เห็ดหำพระ เห็ดหน้าขาว เห็ดระโงก เห็ดนางฟ้าป่า เห็ดไค เห็ดโคนใหญ่ เห็ดโคนน้อย เห็ดน้ำแป้ง เห็ดหน้าแหล่ เห็ดหน้าวัว เห็ดถ่าน เห็ดเผาะ เป็นต้น เห็ดบางประเภทเป็นเห็ดที่หายากเป็นที่ต้องการ ของตลาด มีราคาสูง ในฤดูที่เห็ดงอกจะมีคนในชุมชนและนอกชุมชนจำนวนมากไปหาเห็ดในป่าชุมชนแห่งนี้เพื่อนำไปขายเป็นรายได้ หรือนำมาใช้ในการประกอบอาหาร 3.3) การนำของดีด้านสมุนไพร ป่าแห่งนี้มีสมุนไพรที่เกิดขึ้นในป่า เช่น สมอพิเภก แคป่า เครือฟันซ้าย พังคี เครือส้มลม ส้มกุ้ง ต้นหัว ไก่โอก หนอนตายหยาก เครือสาวหลง โด่ไม่รู้ล้ม เป็นต้น ซึ่งคนในชุมชนที่เป็นคนเก่าแก่จะนำมาใช้ใน การรักษาคน และ 3.4) การนำของดีด้านสถานที่ ป่าชุมชนโกรกประดู่เป็นสถานที่ที่ใช้ในการเป็นแหล่ง เรียนรู้คนนักเรียนในสถานศึกษาใกล้ ๆ เนื่องจากเป็นป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีหนองน้ำ 3 หนองน้ำ ที่ปัจจุบันกำลังจะขาดหายไป เป็นสถานที่ที่คนในชุมชนใช้ปลูกข้าวเพื่อนำมาขายเป็นรายได้ถวายวัด แสดงให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของป่าแห่งนี้

 

The Exploitation of Krokpradoo Community Forest, Tambol Khokklang, Amphoe Lamplaimat, Buriram Province

The purposes of this research were to study the exploitation of Krokpradoo community forest, Tambol Khokklang, Amphoe Lamplaimat, Buriram, in order to find out value of the remaining in forests and the exploitation of forest as follow 1) the residual value of forests around the year 1975 with an area of more than 6,400,000 Sq Mts. There were a variety of wildlife species. The swamps in the forest area were the main water sources for the community as well as consumption water, the fishing sources and gathering wild plants which were used as food and firewood. In the year 2016 the remaining forest area of about 1,142,400 Sq Mts. In the period of the past 41 years, was shown that the community got into an area of forest for using or using in the livelihood and making the possession that made forest areas reduce.2) The exploitation of the community around the forest of 104 people from 4 villages, was found that Krokpradoo community forest remained plentifully with the evident from the value of what remains to be exploited such as the benefits of wild mushrooms that were valued throughout the year of 218,350 baht. Cassava / others as Tiew leave, wild yams, bamboo shoots and etc. of 1,179,500 baht, were collected from the community forest. It was shown that the people in the community should People in the community should be maintain and conserve the remaining community forest of Krokpradoo until the latest generation and 3) the exploitation of forest were as following 3.1) Adoption of wild plants, which were various kinds such as Takhob tree, Luam, Jig, Pradoo, Jabok, Tiew, Kung or Phluang, Rung, Teng, Dang, Toomka, Makha, Khainao and so on, which some wood was going be extinct and some was in need of housing design. 3.2) Adoption of mushrooms, this community was rich of various species of wild mushroom such as Nammak, Tapoo, Phung, Ham Phra, Nakhao, Ra-Gnok, Nangfapa, Khai, Khon Yai, Khon noi, Nam Pang, Na Lae, Nawua, Than, Phoe and so on. Some kinds of wild mushroom were rare, in need of the market and high prices. In the season of the mushrooms growing, people in the community and outside went to find a lot of mushrooms in the community forest, in order to sell or use in cooking. 3.3) Adoption of herbs which grew in the forest area such as Samor Pipek, Kaepa, Khruafansai, Phungkhee, Khrua Somlom, Somkung, Hua Kai-ok, Nontaiyak, Khrua Saolong, Domairoolom and so on. People in the community who were traditional, had used them to treat people and. 3.4) Adoption of places, Krokpradoo community forest was used to be as students resources for nearby schools because of its abundance with 3 marshes where were almost disappeared. It was a place used to plant rice for making income for a temple which was proved of an abundance of the forest.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Academic Paper)