ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลและการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย

Main Article Content

ผกามาศ บุตรสาลี

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี และความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย 2) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี 3) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงาน และ 4) ทดสอบความสัมพันธ์ระหว่างการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย โดยเป็นการวิจัยแบบผสม ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากนักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย จำนวน 228 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ซึ่งค่าความเชื่อมั่นของทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลอยู่ระหว่าง 0.843-0.955 การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี อยู่ระหว่าง 0.740-0.936 และความสำเร็จในการทำงานอยู่ระหว่าง 0.717-0.963 และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐาน ประกอบด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมติฐาน ประกอบด้วย การวิเคราะห์สหพันธ์แบบพหุคูณ และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย มีความคิดเห็นเกี่ยวกับทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลโดยรวมอยู่ในระดับมาก
          การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และความสำเร็จในการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านทัศนคติ และด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 3) ทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล ด้านทัศนคติ และด้านการคิดวิเคราะห์และการแก้ไขปัญหา มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 4) การปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านความซื่อสัตย์สุจริต มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงลบกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวม และการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชี ด้านพฤติกรรมทางวิชาชีพ และด้านความโปร่งใส มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการทำงานโดยรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กนกพร บุญธรรม และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะทางวิชาชีพกับความสำเร็จในการทำงานของหัวหน้าสำนักงานบัญชีคุณภาพในประเทศไทย. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. 10(2) : 34-41.

กรมพัฒนาธุรกิจการค้า. (2566). รายชื่อสำนักงานบัญชีคุณภาพ. (ออนไลน์). สืบค้นได้จาก : https://www2.dbd.go.th/news_view.php?nid=5303. (สืบค้นเมื่อวันที่ 21 เมษายน 2566).

กุลธิดา ธนสมบัติศิริ. (2564). คุณลักษณะของนักบัญชียุคใหม่ที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในสำนักงานรับทำบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บช.ม. (การบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

จารุวรรณ แซ่เต้า. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

จารุวรรณ แซ่เต้า และคณะ. (2564). ความสัมพันธ์ระหว่างทักษะวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลกับความสำเร็จในการทำงานของผู้บริหารฝ่ายบัญชีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. 3(5) : 21-35.

จารุพร พฤกธารา และคณะ. (2565). สมรรถนะของนักวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัลเพื่อพัฒนาคุณภาพสำนักงานบัญชีจังหวัดระยอง. วารสารวิชาการการจัดการภาครัฐและเอกชน. 4(3) : 149-167.

จิราวรรณ ธนบูรณ์วาณิช และพรรณทิพย์ อย่างกลั่น. (2566). ปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกของประเทศไทย. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์. 7(2) : 29-42.

ฐิติมา จุลจินดา และพัชรินทร์ บุญนุ่น. (2561). คุณลักษณะของบัณฑิตสาขาการบัญชีที่สถานประกอบการในจังหวัดสงขลาต้องการ. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). สงขลา : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัย.

ณณิชากร กล้องแก้ว และคณะ. (2564). การพัฒนาความรู้ทางการบัญชีของผู้จัดทำบัญชีในยุคดิจิทัลในเขตอำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา: ในมุมมองของผู้ประกอบการ. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 15(3) : 314-326.

ทรงศักดิ์ ภูสีอ่อน. (2561). การวิจัยและพัฒนาทางการศึกษา. มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์.

นุชจนีย์ ดีจิต. (2562). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการปฏิบัติงานตามจรรยาบรรณของนักบัญชีในเขตภาคเหนือ. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บช.ม. (การบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

ปิยพงศ์ ประไพศรี และกาญจนา นันทพันธ์. (2563). แนวทางการพัฒนาวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีในยุคดิจิทัล. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. 7(12) : 422-435.

มนัสภรณ์ วังแวว และอัศนีย์ ณ น่าน. (2566). คุณลักษณะของนักบัญชียุคดิจิทัลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของนักบัญชีสังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 9(1) : 183-196.

วสันต์ ครองมี และคณะ. (2563). ผลกระทบของทักษะนักบัญชียุคดิจิทัลที่มีผลต่อความสำเร็จในการทำงานของผู้ทําบัญชีในสำนักงานบริการด้านบัญชีจังหวัดเชียงใหม่. วารสารบริหารธุรกิจมหาวิทยาลัยแม่โจ้. 2(1) : 67-86.

วิยะดา สุวรรณเพชร. (2563). ผลกระทบของทักษะทางการบัญชีดิจิทัลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานทางบัญชีของนักบัญชีในเขตนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ศิรินภา คำภิระยศ. (2566). ทักษะของนักบัญชียุคดิจิทัลกลุ่มธุรกิจการเงินในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์. (2561). ข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชี ว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ : สภาวิชาชีพบัญชี ในพระบรมราชูปถัมภ์.

สิริพร กรรณศร และประเวศ เพ็ญวุฒิกุล. (2564). คุณค่าทางวิชาชีพและจรรยาบรรณที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชีในเขตภาคกลาง. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ. 15(2) : 1-18.

สุพัตรา รักการศิลป์ และคณะ. (2562). ความสัมพันธ์ระหว่างจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีกับประสิทธิภาพการทำงานของนักบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. รายงานการวิจัย สาขาวิชาการบัญชี คณะวิทยาการจัดการ. บุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

สุณีรัตน์ ศรีชื่น. (2564). คุณสมบัติที่พึงประสงค์ของนักบัญชีวิชาชีพในยุคดิจิทัลที่ผู้ประกอบการมีความต้องการในจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (การบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดารัตน์ มูลกิตติ. (2564). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดทำบัญชีและความสำเร็จในวิชาชีพบัญชีของนักบัญชีมหาวิทยาลัยในจังหวัดกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บช.ม.(การบัญชี). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีปทุม.

สุลิตา สุปิณะ และคณะ. (2563). การศึกษาทักษะทางวิชาชีพบัญชีที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี : กรณีศึกษา นักบัญชีในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล.วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์. 22(1) : 123-132.

Aaker, D.A., V. Kumar & G.S. Day. (2001). Marketing Research. (7thed). New York : John Wiley & Sons.

Hair, J.F. & others. (2006). Multivariate Data Analysis. (6thed). New Jersey : pearson.

Rovinelli, R.J. & R.K. Hambleton. (1977). On the Use of Content Specialists in the Assessment of Criterion-referenced Test Item Validity. Journal of Educational Research. 49-60.