การพัฒนากิจกรรมการจัดการเรียนรู้ เรื่อง แนวนโยบายแห่งรัฐโดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการแก้ปัญหาของผู้เรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้เรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐโดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายที่มีต่อการจัดการเรียนรู้เรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐโดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรมกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/1 โรงเรียนโพธิสัมพันธ์พิทยาคาร ภาคเรียน ที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 20 คน ได้มาจากสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนหน่วยการจัดการเรียนรู้เรื่องแนวนโยบายแห่งรัฐโดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม แบบ วัดความสามารถในการแก้ปัญหา และแบบสอบถามความพึ่งพอใจของผู้เรียน สถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติที่แบบไม่เป็นอิสระต่อกัน
ผลการศึกษาพบว่า 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายมีความสามารถในการแก้ปัญหาหลังได้รับการจัดการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรมสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนพึงพอใจระดับมากที่สุดต่อการจัดการเรียนรู้เรืองแนวนโยบายแห่งรัฐโดยใช้กระบวนการพัฒนานวัตกรรม
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กนก จันทรา. (2556). “ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ปัญหาเป็นฐานที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและความรับผิดชอบต่อสังคมของนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 5”. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). นวัตกรรมทางสังคม: ประโยชน์ที่มีมากกว่าที่คิด. วารสารนักบริหาร (Executive Journal), 32 (3).
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จารุวรรณ สุขุมาลพงษ์. (2553). แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ. (ออนไลน์). สืบค้น 1 กุมภาพันธ์ 2565. จากhttps://www.parliament.go.th/ewtadmin/ewt/elaw_parcy/ewt_dl_link.php?nid=174
ณฐวัฒน์ ล่องทอง, “การปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (เพื่อความสุข (ใจ) ในการทำงาน)” (ภาควิชาจิตวิทยา คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 2557), 4.
“พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542.” (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116, ตอนที่ 74 ก (19 สิงหาคม), 7-9.มูลนิธิสยามกัมมาจล. (2022). 10 ขั้นตอนการพัฒนางานนวัตกรรมที่เด็กต่อกล้าได้เรียนรู้ ในโครงการ “ต่อกล้าให้เติบใหญ่”. (ออนไลน์). สืบค้น 27 ธันวาคม 2564, จาก https://bit.ly/3IVw5SW.
วลัยลักษณ์ คงพระจันทร์. (2562). “ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21”: อยู่รอดแม้จุดยืนมนุษย์สั่นคลอนในโลกดิจิทัลที่ไม่ย้อนกลับหลัง. (ออนไลน์). สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2565, จาก https://www.nectec.or.th/news/news-pr-news/21st-centuryskills.html.
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.
สํานักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน). (2565).นวัตกรรมทางสังคม. (ออนไลน์). สืบค้น 5 กุมภาพันธ์ 2565,จาก https://www.nia.or.th/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9 %80%E0%B 8% 9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%B2.html.
สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 – 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร: พริกหวาน
กราฟฟิค จํากัด.
สํานักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Samuel Muriithi. (2022). The 7 steps of the Creative Process Used in Spurring Innovation. (online). Accessed December 24. Available from http://gaebler.com/The-7-Steps-of-the-Creative-Process-Used-in-Spurring-Innovation.