การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชา การบริหารจัดค่ายภาษาอังกฤษ

Main Article Content

Anothai Ponyeam Pachsang

บทคัดย่อ

งานวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อ 1. พัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ ผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการบริหารจัดค่ายภาษาอังกฤษ 2. พัฒนาเครื่องมือในการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักศึกษาครูภาษา อังกฤษ และ 3. ประเมินตนเองเรื่องทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาภาษาอังกฤษ คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการบริหารจัดค่ายภาษาอังกฤษ ภาคเรียนที่ 1 ในปีการศึกษา 2563 จำนวน 49 คน ได้มาโดยการเลือกอย่างเจาะจง (Purposive sampling) ผลการวิจัยปรากฏ ดังนี้ 1. โปรแกรมเสริมสร้างทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพผ่านการจัดการเรียนการสอนรายวิชาการบริหารจัดค่ายภาษาอังกฤษ ใช้สำหรับจัดการเรียนการสอนทั้งหมด 16 สัปดาห์ สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง มีหัวข้อที่ใช้ในการจัดการเรียนการสอนจำนวน 7 หัวข้อ มีการกำหนดภาระงานจำนวน 7 ภาระงาน ซึ่งครอบคลุมการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพทั้ง 5 ด้าน มีการฝึกปฏิบัติทั้งในห้องเรียนและสถานการณ์จริง และวัดประเมินผลภาระงานทั้งรูปแบบกลุ่มและรายบุคคล 2. เครื่องมือในการประเมินทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ สำหรับนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ ประกอบด้วยข้อคำถามจำนวน 54 ข้อ ครอบคลุมทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพทั้ง 5 ด้าน เป็นข้อคำถามที่ให้ผู้เรียนเลือกตอบตามระดับทักษะของตนเองจำนวน 5 ระดับ และ 3. ผลการประเมินตนเองเรื่องทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพของนักศึกษาครูภาษาอังกฤษ พบว่า กลุ่มตัวอย่างประเมินตนเองในภาพรวมอยู่ในระดับมาก (xˉ = 4.28, S.D. = 0.654)

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

Anan Srisopa. (1982). Educational Measurement and Evaluation: For Teachers, Lecturers, Students and others. (การวัดและประเมินผลทางการศึกษา: สำหรับครู อาจารย์ นักศึกษา นักเรียน และผู้เกี่ยวข้อง). Bangkok, A-Printing.

Anucha Somabut. (2020). 21st Century Learning Skills in Life & Career Skills. (ทักษะในศตวรรษที่ 21 ด้านทักษะชีวิตและอาชีพ). Online. Retrived from http://wanwanut.myreadyweb.com/article/topic-51592.html (20 Jan 2019)

Barrow, H., M., and Mcgee. (1979). A practical approach to measurement in physical education. Philadelphia: Lea & Febiger.

Duangduen Ornnuam. (1986). The Model of Program Development for Children with Special Needs in the Primary Education. (รูปแบบโปรแกรมการศึกษาสำหรับเด็ก สามารถพิเศษในชั้นประถมศึกษา : รายงานการวิจัย). Bangkok, Faculty of education, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Kessaree Suwanrungsri. (1999). A Development of Multicultural School and Community Partnership Program for the Improvement of Preschool Teaching in Southern Muslim Community. (การพัฒนาโปรแกรมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนและชุมชนตามแนวคิดพหุวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาการสอนระดับอนุบาลในชุมชนไทยมุสลิมภาคใต้). Master’s thesis, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Grittiyakarn Topitak. (2020). Performance Assessment: Concept to Practice. (การ ประเมินการปฏิบัติ: แนวคิดสู่การปฏิบัติ). Naresuan Press. Phitsanulok.

Mathew, D.K. (1978). Measurement in physical education. Philadephia: Wm.C.Brown.

Pimpun Thechakup and Pornthip Kangkhan. (2008). Competency and the way to develop teachers in the changes. (สมรรถนะครูและแนวทางการพัฒนาครูในสังกัดที่เปลี่ยนแปลง). Office of the Education Council, Ministry of Education. Bangkok.

Preut Siribunpituk et al. (2001). Research: Crisis and strategy for develop Faculty of Education for reforming education in educational plan phase 9-10 (2545-2554) รายงานการวิจัยเรื่องภาวะวิกฤตและยุทธศาสตร์การพัฒนาคณะครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ เพื่อปฏิรูปการศึกษาในแผนพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ระยะที่ 9-10 (พ.ศ. 2545-2554). Office of the Basic Education Commission. Bangkok.

Suthat Sungkkhapan. (2013). Journal of Century 21st skills, P.hd. Students, Curriculum and Instrument, Mahasarakham University. (บทความทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 นิสิตปริญญาเอกสาขาหลักสูตรและการสอน รุ่นที่ 5 มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).

Suwimol Wongwanich. (2003). Modern Assessment of Learning. (การประเมินผลการเรียนรู้แนวใหม่). Faculty of education, Chulalongkorn University, Bangkok, Thailand.

Tisana Khammanee et al. (2003). Instructional Model: Various Choices. (รูปแบบการเรียนการสอนทางเลือกที่หลากหลาย). Chulalongkorn University Press, Bangkok.

Waralee Tanomchat and Napat Srichareonmongkol. (2017). Development of Learning Program Using by Experience-based Learning for Early Childhood of Alpha Generation for Teacher Professional Students in Early Childhood Education Program. (การพัฒนาโปรแกรมการเรียนรู้โดยใช้ประสบการณ์เป็นฐาน เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้ให้แก่เด็กปฐมวัยในยุคเจเนอเรชั่นอัลฟาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย). Rambhai Barni Rajabhat University.