ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จใน การปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อทดสอบความสัมพันธ์การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 114 คน โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติพื้นฐานประกอบด้วยค่าร้อยละค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบสมมติฐานประกอบด้วย t-test ,F-test วิธีการวิเคราะห์สหสัมพันธ์แบบพหุคูณ (Multiple Correlation Analysis), การวิเคราะห์การถดถอยอย่างง่าย (Simple Regression Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยแบบพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้ทำบัญชีสำนักงานบัญชีคุณภาพในภาคตะวันออกเฉียงเหนือส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุส่วนใหญ่ต่ำกว่า 30 ปี ระดับการศึกษาปริญญาตรี ประสบการณ์การทำงาน น้อยกว่า 5 ปี และ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน ต่ำกว่า 20,000 บาท 2) ผู้ทำบัญชีในสำนักงานบัญชีคุณภาพในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความคิดเห็นเกี่ยวกับการพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชี โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านคุณลักษณะเฉพาะของบุคคล ด้านค่านิยม จรรยาบรรณ และทัศนคติทางวิชาชีพ ด้านความรู้ทางวิชาชีพบัญชี และด้านทักษะทางวิชาชีพบัญชี 3) ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสำเร็จในการปฏิบัติงาน โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ได้แก่ ด้านมาตรฐานความน่าเชื่อถือ ด้านมาตรฐานความน่าเชื่อถือ ด้านความพึงพอใจของทุกฝ่าย ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน และด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ 4) การพัฒนาสมรรถนะวิชาชีพบัญชี มีความสัมพันธ์และผลกระทบเชิงบวกกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานโดยรวม (SWB) ได้แก่ ด้านการบรรลุเป้าหมายความสำเร็จ (AGB1) ด้านมาตรฐานความน่าเชื่อถือ (SRB2) ด้านความทันเวลาของผลลัพธ์ (TOB3) ด้านกระบวนการปฏิบัติงาน (WPB4) และด้านความพึงพอใจของทุกฝ่าย (PSB5) อย่างมีนัยสำคัญ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กานดา แซ่หลิ่ว. (2560). ศักยภาพทางการบัญชีมีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของนักบัญชี
ในจังหวัดสมุทรปราการ.การศึกษาค้นคว้าอิสระ บช.ม. (การบัญชี). กรุงเทพฯ :
มหาวิทยาลัยศรีประทุม. หน้า 15 - 19
นลพรรณ บุญฤทธิ์. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรองค์การ
บริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชาการจัดการสาธารณะ : มหาวิทยาลัย
บูรพา. หน้า 19
บุญช่วง ศรีธรราษฎร์. (2561). ผลกระทบของสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่ที่มีต่อความสำเร็จใน
การทำงานของนักบัญชีบริษัทในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือเมื่อเปิดเสรีทางเศรษฐกิจ.
วารสารวิชาการ การตลาดและการจัดการ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี ปี ที่ 5
ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน.
ประภาพร วีระสอน. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาศักยภาพการปฏิบัติงานทางการ
บัญชีกับความสำเร็จในการปฏิบัติงานของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ตอนล่าง 1. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี) มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ปราณี คำมา. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาสมรรถนะด้านวิชาชีพบัญชีกับ ประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของนักวิชาการเงินและบัญชีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลอีสาน. วิทยานิพนธ์ บช.ม. (บัญชีมหาบัญฑิต). มหาสารคาม : มหาสารคาม : มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 5,8, 26
เปรมรินทร์ ฮ้อปียะกุล และคณะ. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างความน่าเชื่อถือของสารสนเทศ
ทางการบัญชีกับประสิทธิภาพการตัดสินใจของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัย
มหาสารคาม. หน้า 131 - 132.
รักษินา กวีขำคม. (2563). สมรรถนะของผู้สอบบัญชีภาษีอากรที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ ปีที่ 11 ฉบับที่ 1 (มกราคม-มิถุนายน) 2563. กรุงเทพมหานครฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒ. หน้า 106.
สุจิตตรา ประครองสี. (2559). ความสัมพันธ์ระหว่างสมรรถนะทางการบัญชีสมัยใหม่กับ
ความสำเร็จใน วิชาชีพของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. หน้า 1.
Akkermans, J., Schaufeli, W.B., Brenninkmeijer, V., and Blonk, R. W. B. (2013). The Role of Career Competencies in the Job Demands - Resources Model.
Journal of Behavior. 83(3) : 356 – 366.