การพัฒนาชุดวิชาภาษาและวัฒนธรรมลาวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ T5 Model สำหรับผู้เรียนชาวไทยและชาวต่างชาติในจังหวัดนครราชสีมา

Main Article Content

Lerson Ritthikhan

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการได้แก่ 1) เพื่อพัฒนาชุดวิชาภาษาและวัฒนธรรมลาวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ T5 Model 2) เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของชุดวิชาภาษาและวัฒนธรรมลาวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ T5 Model 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนการเรียนภาษาและวัฒนธรรมลาวผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ตามแบบ T5 Model ประชากรในการวิจัยครั้งนี้คือ ครูผู้สอนภาษาไทยซึ่งเป็นศิษย์เก่าหลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิตและหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา จำนวน 45 คน โดยใช้บทเรียน E-Learning รูปแบบ T5 Model เป็นแนวทาง ในการวิจัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ บทเรียน กิจกรรม แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจ


            ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (e-learning) ภาษาและวัฒนธรรมลาวจากการทดลองครั้งที่ 1 พบว่ามีประสิทธิภาพ 80/83  และการทดลองครั้งที่ 2 พบว่า มีประสิทธิภาพ 81/83 จึงสรุปได้ว่าบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ภาษาและวัฒนธรรมลาว เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด ผลการเรียนรู้พบว่า ผู้เรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยหลังใช้บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ภาษาและวัฒนธรรมสูงกว่าก่อนเรียนทุกหน่วยการเรียนรู้ โดยหน่วยการเรียนที่ 4 เรื่อง อาหาร มีผลการเรียนรู้สูงสุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.31 คิดเป็นร้อยละ 86.2 รองลงมา  คือ หน่วยการเรียนที่ 5 เรื่อง สถาปัตยกรรม ที่ค่าเฉลี่ย 4.31 คิดเป็นร้อยละ 85.8 และ หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 ที่ค่าเฉลี่ย 4.11 คิดเป็นร้อยละ 82.2  และ 3) ครูผู้สอนภาษาไทยมีความพึงพอใจต่อบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ (E-learning) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนมากที่สุด ที่ค่าเฉลี่ย 4.56 คิดเป็นร้อยละ 88.9 รองลงมา         คือ ด้านรูปแบบบทเรียนและเว็บไซต์ ที่ค่าเฉลี่ย 4.55 คิดเป็นร้อยละ 88.9 ด้านวิธีการเรียนการสอนที่ค่าเฉลี่ย 4.48 คิดเป็นร้อยละ 87.6 ด้านการนำเสนอเนื้อหาบทเรียนที่ค่าเฉลี่ย 4.47 คิดเป็นร้อยละ 87.4 และมีความพึงพอใจในภาพรวม ที่ค่าเฉลี่ย 4.58 คิดเป็นร้อยละ 89.3

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

พรรณี โรจนเบญจกุล, ศรีปริญญา ธูปกระจ่าง และชาญเดช เจริญวิริยะกุล. (2561). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิผลการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาในระดับอุดมศึกษา ในวารสารสมาคมนักวิจัย. ปีที่ 23 ฉบับที่ 2 พฤษภาคม - สิงหาคม 2561.

พิชิต โสภากันต์ (2552). การรับรองผลงานของนักศึกษาในการเรียนการสอนแบบเน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง สำหรับเก็บรวบรวมใน portfolio. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.

สุนีย์ ศีลพิพัฒน์ และคณะ. (2550). การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ชุดวิชาเศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศโดยใช้ T5 Model. การวิจัยครั้งนี้ได้รับทุนอุดหนุนจากสถาบันวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.