บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณากัมพูชา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่อง "บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชา" ฉบับนี้เป็น ส่วนหนึ่งในวัตถุประสงค์ของการทำวิทยานิพนธ์ในระดับปริญญาเอก สาขาดุริยางคศิลป์คณะศิลปกรรมศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่นโดยผู้วิจัยสนใจเนื้อหาด้านวัฒนธรรมทางดนตรีจาเป๊ย มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 2 ประเด็น คือ 1) บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเป็ย ในราชอาณาจักรกัมพูชาในพิธีกรรมต่าง ๆ 2) บทบาทหน้าที่ของจาเปียในวัฒนธรรมการเจรียงในราชอาณาจักรกัมพูชา ผลการศึกษาพบว่า
1. บทบาทหน้าที่ของวัฒนธรรมดนตรีจาเบีย ในราชอาณาจักรกัมพูชาในพิธีกรรมต่าง ๆ ใช้บรรเลงประกอบในวงดนตรีต่าง ๆ โดยปรากฏ 4 วง คือ (1) วงเพลงการ์กูล คือ วงดนตรีอารักษ์เพื่อใช้ประกอบการเลี้ยงเทวดา หรือเรียกอีกอย่างว่าพิธีเข้าทรงอารักษ์เป็นพิธีบวงสรวง (2) วงเพลงการ์โบราณ โดยชื่อของวงเพลงการ์โบราณ เป็นพิธีมงคลสมรสของชาวเขมร (3) วงเพลงมโหรี เป็นวงที่ใช้บรรเลงในงานมงคลทั่วไป เช่น งานขึ้น บ้านใหม่ งานบวช งานเลี้ยงต้องรับที่เน้นการบรรเลงคลอภายในงาน และ (4) วงพระบิตร หรือ วงเพลงปี่แก้วเป็นชื่อเพลงที่มีความสำคัญเพลงหนึ่งในพิธีอัญเชิญพระวิญญาณในพระราชวงศานุวงศ์ของเจ้าฟ้ามหากษัตริย์
2. บทบาทหน้าที่ของจาเปียในวัฒนธรรมประกอบการร้องเจรียง ซึ่งการร้องเจรียงคือการร้องเล่าเรื่องราวต่างๆ เป็นทำนองด้วยภาษาเขมรควบคู่หรือสลับการดีดจาเปียโดยเนื้อหาของการร้องเจรียงเป็นการเล่าเรื่องบรรยายให้ผู้ทังจินตนาภาพตามเนื้อหานั้น ๆ โดยอาศัยเสียงของเครื่องดนตรีจาเบียสร้างอรรถรสให้กับเนื้อหาเช่น หากเนื้อหาในตอนใดกล่าวถึงความตื่นเต้นน่ากลัวนักดนตรีจะบรรเลงเร็วๆ และดีดเน้นจังหวะของจาเป็ยให้เร็วและดังขึ้น ส่วนเนื้อหาในตอนใดต้องการสื่อถึงความโศกเหร้าจะบรรเลงให้ช้าลงสลัยกับร้องเอื้อนเสียงให้เป็นทำนอง และนิยมบรรเลงเกรินนำด้วยเพลงพักเจือย จากนั้นจึงเริ่มร้องเข้าเนื้อหาที่จะเล่าโดยระหว่างร้องเจรียง นั้นจะสลับการตีดจาเปียไปเรื่อย ๆ จากนั้นเมื่อเนื้อเรื่องเล่าใกล้จะจบ นักร้องจะบรรเลงทำนองเดิมอีกครั้ง โดย ถือเป็นการจบกระบวนการร้องเจรียงจาเปียในหนึ่งเรื่อง
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2560). การเปลี่ยนแปลงทางดนตรี ขอนแก่น : โครงการตำราบัณฑิตสาขาดุริยางคศิลป์.
คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่นพงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ (2561). เพลงมโหรีแห่งกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ : ธนาเพรส.
พงษ์ศิลป์ อรุณรัตน์ (2561), เพลงมโหรีแห่งกรุงศรีอยุธยา กรุงเทพฯ : ธนาเพรส ลิปปวชิญ์ กิงแก้ว (2562). จาปุถงแวง : บริบทวัฒนธรรมดนตรีกัมพูชา. วิทยานิพนธ์ปริญญา ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิต, สาขาวิชามานุษยดุริยางควิทยา คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัย.
อรอุมา เวชกร. (2555), กลวิธีการบรรเลงจเปยฏองเวงของครูจุม แลงจันทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาดุริยางค์ไทย ภาควิชาดุริยางคศิลป์ คณะศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.