ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: จิตวิญญาณแห่งอาเซียน ซิมโฟนิกแรปโซดี สำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา

Main Article Content

ืืNattaporn Pakalong

บทคัดย่อ

ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: จิตวิญญาณแห่งอาเซียน ซิมโฟนิกแรปโซดี สำหรับวงเชมเบอร์               ออร์เคสตรา เป็นงานสร้างสรรค์ที่แสดงจินตนาการกว้างไกลทางดนตรี มีวัตถุประสงค์เพื่อผสมผสานความงาม เสียงแห่งขนบวัฒนธรรมอาเซียน โดยคัดสรรบทเพลงตัวแทนชาติสมาชิกจำนวน 10 บท มาบูรณาการร่วมกับเอกภาพจังหวะบทเพลงพื้นเมืองพร้อมทั้งการสร้างสรรค์ทำนองสอดสลับ และศิลปะการพลิกแพลงสีสันลีลา นับเป็นหัวใจสำคัญในการประสานคุณลักษณะองค์ประกอบดนตรี บทเพลงบรรเลงโดยวงที่มีเครื่องสายเป็นหลัก  ประกอบกับเสียงสังเคราะห์ที่เพิ่มสีสันโดย อิเล็กโทน ผลงานอยู่ในคีตลักษณ์แรปโซดี ซึ่งเชื่อมโยงมรดกดนตรีอาเซียนด้วยกลวิธีการประพันธ์ อันหลากหลายโดยมีแนวเดี่ยวไวโอลิน ที่มีการบรรเลงคล้ายการขับร้องนำในเพลงพื้นบ้าน และการย้ายโมดไปตามท่วงทำนองลีลา ซึ่งถือเป็นมนต์สะกดของดนตรีอาเซียน


             จิตวิญญาณแห่งอาเซียน ซิมโฟนิกแรปโซดีสำหรับวงเชมเบอร์ออร์เคสตรา ประกอบด้วย เครื่องสายตะวันตก 15 คน และ เครื่องตี ได้แก่ ไซโลโฟน ทิมปานี และแนวเสียงสังเคราะห์โดยอิเล็กโทน บทเพลงมีความยาวทั้งสิ้น 30 นาที

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)
Author Biography

ืืNattaporn Pakalong, บริษัทสยามดนตรียามาฮ่า จำกัด

น.ส.ณัฐพร ผกาหลง 

เกิดวันที่ 19 กันยายน 2526

  • ระดับปริญญาตรี และปริญญาโท ภาควิชาศิลปะ ดนตรี และนาฎศิลป์ศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย 
  • Electone Specialist (2006-2010)
  • Yamaha Piano & Electone Performance Grade 5
  • Yamaha Fundamental Grade 4
  • ประสบการณ์ดนตรี Thai Youth Orchestra (1998 – 2001)
  • Chulalongkorn Symphony Orchestra (2001 – 2005)
  • Bangkok Symphony Orchestra (2002)
  • Thailand Philharmonic Orchestra (2006-2007)
  • ปัจจุบันอาจารย์พิเศษ คณะวิศกรรมศาสตร์ดนตรี สถาบัน เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • ปัจจุบันอาจารย์ไวโอลิน พิเศษ โรงเรียนนานาชาติ ฮาร์โรว์
  • ปัจจุบันดูแลหลักสูตรไวโอลิน จัดทำหลักสูตรไวโอลินสำหรับเด็ก ระบบการสอบ รวมถึงฝึกอบรมบุคคลากรครูไวโอลิน โรงเรียนดนตรี   ยามาฮ่า  ในเครือข่ายทั่วประเทศ

 

References

1. ณัชชา โสคติยานุรักษ์ (2544). สังคีตลักษณ์และการวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์
มหาวิทยาลัย.
2. วีรชาติ เปรมานนท์ (2537). ปรัชญาและเทคนิคการแต่งเพลงร่วมสมัยไทย. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรม ศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
3. ณัชชา โสคติยานุรักษ์ (2551). การเขียนเสียงประสานสี่แนว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกศ
กะรัต.
4. ณัชชา โสคติยานุรักษ์ (2557). พจนานุกรมศัพท์ดุริยางคศิลป์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เกศ
กะรัต.
5. สดับพิณ รัตนเรือง (2548). คัมภีร์เพลงคลาสสิก. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์เพื่อนคู่หู
6. Adler,S. (1993). The study of Orchestration. 2nd. New York: Schirmer Books.