การบริหารงานการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำ นักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา บุรีรัมย์ เขต 3

Main Article Content

วินัย มาตา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถาน
ศึกษาและครูเกี่ยวกับการบริหารงานการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำ นักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต3จำแนกตามสถานภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้ง
นี้ประกอบด้วยกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ตอบแบบสอบถาม คือผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนในโรงเรียน
ขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต3 ปีการศึกษา
2558 โดยแยกเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำ นวน 79 คน และครูผู้สอน จำ นวน 79 คนรวมทั้งสิ้น 158
คน และกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก โดยเลือกผู้อำ นวยการกลุ่มงานส่งเสริมการจัดการ
ศึกษา จำ นวน 1 คน ศึกษานิเทศ จำ นวน 1 คน ผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนขยายโอกาสทางการ
ศึกษา กลุ่มพัฒนาคุณภาพการศึกษาละ 1 โรงเรียน จำ นวน 24 คน รวมทั้งสิ้น 26 คน เครื่องมือที่ใน
การเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบสอบถาม มี3 ลักษณะได้แก่การตรวจสอบรายการ แบบมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ และแบบปลายเปิด มีค่าความเชื่อมั่น 0.966 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน วิเคราะห์เชิงเนื้อหาจัดอันดับและหาค่าร้อยละ การ
ทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที
ผลการวิจัยพบว่า
1.ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหารงานการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถม
ศึกษาบุรีรัมย์เขต3โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ
ด้านการมีส่วนร่วมของชุมชนและเครือข่าย รองลงมาคือ ด้านการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนและด้าน
การดำ เนินงานตามนโยบาย ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยตํ่าที่สุด คือ ด้านการกระบวนการจัดการเรียนรู้ตาม
ลำดับ
2. เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหาร
งานการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด
สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต3จำแนกตามสถานภาพตำแหน่ง พบว่าความ
คิดเห็นของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน ไม่แตกต่างกัน
3.ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะของผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอนเกี่ยวกับการบริหาร
งานการจัดการศึกษาวิชาชีพระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัด
สำ นักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาบุรีรัมย์เขต3ดังนี้การจัดสรรงบประมาณที่ใช้จัดการศึกษา
วิชาชีพ จัดนิทรรศการตลาดแรงงานพบผู้ประกอบการ การสร้างความรู้ความเข้าใจ เกี่ยวกับการนำ
หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 มาจัดการสอน
พื้นฐานอาชีพ แนะแนวอาชีพแก่ผู้เรียนรายงานผลการจัดการศึกษาวิชาชีพ
4.การสัมภาษณ์เชิงลึกแนวทางการบริหารงานการจัดการศึกษาวิชาชีพ ระดับมัธยมศึกษา
ตอนต้น พบว่า สถานศึกษาควรจัดการสอนวิชาชีพตามบริบทชุมชน ความพร้อมของสถานศึกษา
ความถนัดของผู้เรียน ปรับโครงสร้างหลักสูตรให้สอดคล้องกับวิชาชีพ จัดการเรียนการสอนให้ผู้เรียน
ได้ปฏิบัติจริง ประสานความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในการจัดการศึกษา

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ดวงทิพย์แก้วประเสริฐ. (2548).การพัฒนารูปแบบการจัดการศึกษาวิชาชีพในศูนย์การเรียนชุมชน
โดยผ่านองค์กรท้องถิ่น ตำ บลนํ้าโจ้ อำ เภอแม่ทะ จังหวัดลำ ปาง.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ประสิทธิ์สุวรรณรักษ์. (2542). ระเบียบวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. บุรีรัมย์:
คณะครุศาสตร์สถาบันราชภัฏบุรีรัมย์.
สำ นักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2554).รายงานผลการดำ เนินงานโครงการส่งเสริมและสนับสนุน
การมีงานทำ ของนักเรียน นักศึกษา ให้มีรายได้ระหว่างเรียนของกระทรวงศึกษาธิการ.
กรุงเทพ ฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
สำ นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553).แนวทางการการจัดการเรียนรู้วิชาชีพระดับ
มัธยมศึกษาตอนต้น.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
วันเพ็ญ จินะชิต. (2550).การสำรวจความสนใจในการเลือกศึกษาสาขาอาชีพของนักเรียนไทยภูเขา
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสังกัดกองการศึกษาพิเศษ เขตภาคเหนือ.
เอกปรัชญายานะสาร. (2545).การจัดการศึกษาวิชาชีพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนตำ บลป่าเมี่ยง
อำ เภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิตบัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.