การพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย : กรณีศึกษา ตำ บลนาอ้อ อำ เภอเมือง จังหวัดเลย

Main Article Content

นัยนา อรรจนาทร

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพของแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำ บลนาอ้อ
อำ เภอเมืองจังหวัดเลย2) หาแนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน 3)สร้างรูปแบบของแหล่งเรียน
รู้ชุมชน 4) พัฒนาแหล่งการเรียนรู้ชุมชน และ5) ประเมินรูปแบบแหล่งเรียนรู้กลุ่มตัวอย่างในงานวิจัย
ได้แก่ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับแหล่งเรียนรู้ชุมชนในตำ บลนาอ้อ อำ เภอเมือง จังหวัดเลย วิธีการรวบรวม
ข้อมูลโดยวิธีเชิงคุณภาพ ใช้การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสนทนากลุ่ม และการประชุมระดมความ
คิดเห็นแบบมีส่วนร่วม ส่วนข้อมูลเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามความพึงพอใจสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพทั่วไปตำ บลนาอ้อ อำ เภอเมือง จังหวัดเลย เป็นตำ บลที่เก่าแก่มาตั้งแต่สมัย โดย
ส่วนใหญ่สืบเชื้อสายมาจากเวียงจันทน์และหลวงพระบาง ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งมี
แหล่งเรียนรู้ชุมชนที่สำคัญในวัดศรีจันทร์ตำ บลนาอ้อ อำ เภอเมือง จังหวัดเลย ได้แก่ พิพิธภัณฑ์ประ
ภัสสร์จันทโชติซึ่งยังไม่มีระบบในการจัดการข้าวของเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ยังไม่ได้รับการดูแลจาก
ชุมชน ทำ ให้พิพิธภัณฑ์ไม่น่าสนใจ
2.แนวทางในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชนในจังหวัดเลย ที่ชุมชนต้องการคือควรมีการจัด
ทำ ระบบและทะเบียนประวัติข้าวของเครื่องใช้มุมหนังสือสำ หรับชุมชน การจัดทำ ประวัติวัด ประวัติ
พิพิธภัณฑ์และควรให้ชุมชนมีส่วนร่วม
3. การสร้างรูปแบบของการพัฒนาแหล่งเรียนรู้ชุมชน มีดังนี้จัดทำ หนังสือประวัติหมู่บ้าน
นาอ้อ ประวัติวัด และประวัติพิพิธภัณฑ์จัดลงทะเบียนเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์จัดทำ ป้ายชื่อติดสิ่งของ
ในพิพิธภัณฑ์จัดทำ ป้ายแสดงระเบียบการใช้จัดมุมการอ่านหนังสือและส่งเสริมกิจกรรมการอ่านใน
พิพิธภัณฑ์จัดอบรมภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว การจำลองของใช้โบราณ และจัดเรียงเครื่องใช้
ภายในพิพิธภัณฑ์ให้เป็นหมวดหมู่
4. จากการพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน ได้ดำ เนินการพัฒนารูปแบบแหล่งเรียนรู้ชุมชน
ในจังหวัดเลย มีการจัดเรียงเครื่องใช้ในพิพิธภัณฑ์ให้เป็นหมวดหมู่ได้แก่จัดทำ ป้ายชื่อพร้อมบอกข้อมูล
ของวัตถุแต่ละชิ้น หมวดหมู่พระพุทธรูป เครื่องใช้ในครัวเรือน เครื่องมือทางการเกษตรเครื่องมือเครื่อง
ใช้ในการทอผ้าเครื่องแต่งกายการจัดทำ มุมหนังสือและการจัดทำแผ่นพับเพื่อประชาสัมพันธ์และเผย
แพร่ข้อมูล
5. ผลการศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้ตอบแบบสอบถามที่มีต่อการพัฒนาแหล่งเรียน
รู้ชุมชนในจังหวัดเลยโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยด้านที่มีระดับความพึงพอใจสูงสุด คือ ด้าน
อาคารสถานที่รองลงมาคือด้านงบประมาณ ส่วนด้านที่มีระดับความพึงพอใจน้อยที่สุดคือด้านการ
มีส่วนร่วมของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ก้าน กุณะวงษ์. นายกเทศมาตรีเทศบาลตำ บลนาอ้อ. สัมภาษณ์เมื่อ 4 มกราคม 2557.
จันทะนีคามะดา. รองประธานสภาเทศบาลตำ บลนาอ้อ. สัมภาษณ์เมื่อ 4 มกราคม 2557.
ฉวีลักษณ์บุณยะกาญจน์. (2554).การจัดการสารสนเทศท้องถิ่น.วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุดแห่ง
ประเทศไทย 4, 1 (ม.ค.-มิ.ย.54) 1-12.
บัญญัติปันอินทร์. (2555). แนวทางการบริหารจัดการแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
โดยการมีส่วนร่วมของโรงเรียนบัวสลีวิทยา อำ เภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย.วิทยานิพนธ์
ครุศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
ประพนธ์พลอยพุ่ม. ประธานสภาวัฒนธรรมจังหวัดเลย. สัมภาษณ์เมื่อ 4 มกราคม 2557.
พรบ. การศึกษาแห่งชาติพ.ศ. 2542. (2542). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 116 ตอน 74 ก หน้า 8
ลงวันที่ 19 สิงหาคม 2542.
พระสุขีชาครธมฺโม. (2553). ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีฮีตสิบสอง : ศึกษากรณี
ตำ บลเมืองเก่า อำ เภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. พุทธศาสตรมหาบัณฑิต(พระพุทธศาสนา)
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เรณุมาศ กุละศิริมา และคณะ. (2555). รูปแบบการจัดการศูนย์การเรียนรู้ของชุมชนโคกโคเฒ่า
อำ เภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
วรรณนาศิลประเสริฐ. (2555).การศึกษาคุณค่าและกระบวนการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อเป็นศูนย์
การเรียนรู้ชุมชน : กรณีศึกษาจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัว อำ เภอเมือง จังหวัดราชบุรี.
ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สภาวัฒนาธรรมบ้านนาอ้อ. (2547). หมู่บ้านวัฒนธรรมนาอ้อ จังหวัดเลย. เลย: สภาวัฒนาธรรม
บ้านนาอ้อ.
สัมฤทธิ์สุภามา. วัฒนธรรมจังหวัดเลย. สัมภาษณ์เมื่อ 4 มกราคม 2557.