การรับรู้ต่อรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือน ในการควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

Main Article Content

นิษฐา หรุ่นเกษม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการรับรู้ต่อการมีรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือน
เพื่อควบคุมการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยใช้วิธีการสำ รวจการรับรู้ของเด็กนักเรียนไทยต่อ
การมีรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือนบนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่อการบริโภคเครื่องดื่ม
แอลกอฮอล์จำ นวนกลุ่มตัวอย่าง ทั้งสิ้น 1,945 ตัวอย่าง
ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เห็นด้วยกับการกำ หนดให้มีรูปภาพประกอบ
ข้อความคำ เตือนบนบรรจุภัณฑ์ (ขวดและกระป๋อง) ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ (ในปัจจุบันยังไม่มี
กฎหมายบังคับให้มีการแสดงรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือน) มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 45.9 ทั้งนี้
หากนักเรียนเป็นนายกรัฐมนตรีของประเทศไทยซึ่งเป็นผู้มีหน้าที่ปกป้องสุขภาพของประชาชนชาวไทย
นักเรียนจะเลือกให้มีการนำรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือนติดบนบรรจุภัณฑ์(ขวดและกระป๋อง)ของ
เครื่องดื่มอย่างไร พบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เลือกให้มีการติดรูปภาพประกอบข้อความคำ เตือนบน
บรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์มากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.0

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ิษฐาหรุ่นเกษม. (2556).กลยุทธ์การสื่อสารการตลาดของกลุ่มอุตสาหกรรมธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์.
กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
พิมพ์พรรณศิลปะสุวรรณและคณะ. (2556). ผลกระทบจากรูปแบบฉลากคำ เตือนเรื่องสุขภาพบนซอง
บุหรี่แบบเรียบง่ายปราศจากสีสรร ที่มีต่อพฤติกรรมสนองตอบในการบริโภคบุหรี่ของวัยรุ่น
ในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา. (2553).การรับรู้และทัศนคติของเยาวชนต่อมาตรการข้อความคำ เตือนประกอบ
ภาพสัญลักษณ์บนบรรจุภัณฑ์เครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ : ศูนย์วิจัยปัญหาสุรา.
อรทัยวลีวงศ์และ ทักษพลธรรมรังสี. (2557). มาตรการฉลากรูปภาพคำ เตือน (Pictorial warning)
ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. กรุงเทพฯ : สำ นักงานพัฒนานโยบายสุขภาพระหว่างประเทศ.
อารีกุล พวงสุวรรณ และคณะ. (2555).แรงสนับสนุนของสังคมไทยต่อมาตรการภาพพร้อมข้อความ
คำ เตือนบนฉลากเครื่องดื่มแอลกอฮอล์. วารสารวิชาการสาธารณสุข ปีที่ 21 ฉบับที่ 3
พฤษภาคม – มิถุนายน 2555.