การพัฒนารูปแบบอาหารพื้นบ้านอีสานสำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ทัศนีย์ นาคุณทรง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพและปัญหาการดูแลอาหารสำ หรับเด็ก
ปฐมวัย 2) พัฒนารูปแบบอาหารพื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัย 3) ติดตามผลการใช้รูปแบบอาหาร
พื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัย การวิจัยแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 การศึกษาสภาพปัญหาและการดูแลอาหารสำ หรับเด็กปฐมวัย ดำ เนินการโดย
ศึกษาวิเคราะห์สภาพปัญหาและการดูแลอาหารสำ หรับเด็กปฐมวัยโดยสอบถามผู้ปกครองเด็กปฐมวัย
จำ นวน 250คน พบว่าสภาพและปัญหาการดูแลอาหารสำ หรับเด็กปฐมวัย พบว่าระดับปฏิบัติการดูแล
อาหารสำ หรับเด็กปฐมวัยด้านโภชนาการ ด้านการประกอบอาหาร และพฤติกรรมการบริโภคอาหาร
ของลูก ค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ส่งเสริมให้ลูกดื่มนมเพื่อบำ รุงร่างกาย ( X =4.72) ให้ลูกดื่มนํ้าสะอาดทุกวัน
( X =4.54) ให้ลูกรับประทานอาหารด้วยตนเอง( X =4.43) ให้ลูกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์เหมาะ
สมกับวัย( X =4.37)และสอนและเป็นแบบอย่างในเรื่องมารยาทในการรับประทานอาหาร( X =4.19)
ส่วนอันดับที่น้อยที่สุดคือ พาลูกรับประทานอาหารจานด่วน หรือเข้าร้านสะดวกซื้ออยู่เสมอ( X =2.88)
อนุญาตให้ลูกรับประทานอาหารในขณะดูทีวีหรือเล่นเกมคอมพิวเตอร์( X =2.97) ประกอบอาหารด้วย
วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น กุ้ง หอย ปูปลา ผักที่อยู่ในพื้นบ้าน ปลาร้า เป็นต้น ให้ลูกรับประทานทุกวัน ( X
=2.99) ลูกชอบอาหารที่มีไขมันสูง เช่น ไก่ทอด แฮมเบอเกอร์ข้าวขาหมูข้าวมันไก่ ( X =3.10) และ
ลูกรับประทานอาหารที่ทำจากแป้ง และติดรสหวานมาก ( X =3.12)
ระยะที่ 2 การสร้างและพัฒนารูปแบบอาหารพื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัย พบว่ารูป
แบบอาหารพื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัย ประกอบด้วย วัตถุดิบอาหารพื้นบ้านอาหารสำ หรับเด็ก
ปฐมวัย เครื่องปรุงอาหาร เครื่องแกง และประเภทอาหารพื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัย
ระยะที่3ติดตามผลการใช้รูปแบบอาหารพื้นบ้านอีสานสำ หรับเด็กปฐมวัยโดยนำ รูปแบบ
ที่ได้ไปจัดอบรมให้กับผู้ปกครองเด็กปฐมวัย จำ นวน 25 คน และติดตามผล พบว่าอาหารพื้นบ้านรูป
แบบที่เด็กชอบรับประทานมากที่สุด ได้แก่ อาหารประเภทแกง ทอด อ่อม ปิ้งย่าง หมก อาหารพื้น
บ้านที่ผู้ปกครองทำแล้วเด็กชอบรับประทานมากและต้องทำ ให้อีกได้แก่อ่อมปลาดุกอ่อมไก่แกงไก่
บ้าน แกงหอยแกงเห็ด หมกปลา,หมกไข่ปลาต้มไก่ ปลาต้มในนํ้าปลาร้าอาหารพื้นบ้านที่ทำแล้วเด็ก
ไม่ชอบรับประทาน ได้แก่ อาหารประเภทปิ้งย่าง เพราะแข็ง เคี้ยวยากและไม่มีนํ้า วัตถุดิบพื้นบ้านที่
นิยมนำ มาประกอบเป็นอาหารบ่อยๆและเด็กรับประทานได้และชอบรับประทานได้แก่ ไก่บ้าน ปลา
ตามธรรมชาติผักพื้นบ้านต่างๆที่ปลูกเองที่บ้าน เช่นตำลึง บวบ ไข่เป็ด ไข่ไก่ เห็ดต่างๆ ไข่มดแดง
หอยขม แมลงต่างๆ ข้อดีของการทำอาหารพื้นบ้านอีสานให้เด็กรับประทาน ได้แก่ ไม่ต้องปรุงอาหาร
แบบใหม่ให้เด็กสามารถนำอาหารที่ทำ ให้ผู้ใหญ่มาทำ ให้เด็กรับประทานได้เลยเพียงแต่ปรุงให้รสชาติ
อ่อนๆ เครื่องปรุงก็มีอยู่ในท้องถิ่นไม่ต้องซื้อหา และเด็กรับประทานได้เยอะกว่าอาหารทั่วไป ส่วนข้อ
เสีย ได้แก่ หน้าตา สีสันของอาหารพื้นบ้านดูไม่น่ารับประทาน ไม่ดึงดูดความสนใจให้เด็กรับประทาน
เช่น แกงอ่อม ห่อหมก เป็นต้น และอาหารบางอย่างเด็กรับประทานยากต้องให้ผู้ปกครองป้อน เช่น
อาหารประเภทปลา เพราะมีก้าง หรือเผ็ด

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กรมอนามัย. (2546). ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำ หรับคนไทย พ.ศ. 2546.
คณะกรรมการจัดทำข้อกำ หนดสารอาหารที่ควรได้รับประจำวันสำ หรับคนไทย
กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. (2546). การสำ รวจอาหารและโภชนาการของประเทศไทย ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2546.
กระทรวงสาธารณสุข.
กรมอนามัย. อาหารเด็กวัยก่อนเรียน อายุ 3-5 ปี. กรุงเทพฯ : ฝ่ายวิเคราะห์อาหารและโภชนาการ
กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข, มปป.
สุวรรณาฝ่ายไทย. (2554).กระบวนการจัดการเรียนรู้สาระท้องถิ่น เรื่องการทำอาหารพื้นบ้านอีสาน
สำ หรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. ปริญญานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิตสาขาหลักสูตร
และการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สำ นักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2556).แผนยุทธศาสตร์ชาติด้านเด็กปฐมวัย (แรกเกิดถึงก่อนเข้า
ประถมศึกษาปีที่ 1) ตามนโยบายรัฐบาลด้านเด็กปฐมวัย พ.ศ. 2555-2559. กรุงเทพฯ :
บริษัทพริกหวานกราฟฟิค จำกัด.
สุธิภา อาวพิทักษ์. (2542). การดูแลเด็กปฐมวัย. คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อบเชย วงศ์ทอง. (2546). โภชนศาสตร์ครอบครัว. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร