การสร้างสื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านของนักเรียน ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาภิบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

โชติกา ชูโตศรี

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การสร้างสื่อนิทานมัลติมีเดีย ส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาภิบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์1) เพื่อสร้างสื่อนิทาน
มัลติมีเดียส่งเสริมการอ่าน ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาภิบาล สังกัด
กรุงเทพมหานคร 2) เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการอ่าน ก่อนและหลัง การใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่ง
เสริมการอ่านของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาภิบาล สังกัดกรุงเทพมหานคร
ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักเรียนระดับชั้นประถม
ศึกษาปีที่5/2 โรงเรียนประชาภิบาลสังกัดกรุงเทพมหานครจำ นวน 26คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์
ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ส่วนเบียงเบนมาตรฐาน และสถิติT-test เปรียบเทียมผลสัมฤทธิ์พฤติกรรม
การอ่าน ก่อนและหลัง ใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านตลอดชีวิต ผลการวิจัยพบว่า
1. ระดับพฤติกรรมในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนประชาภิบาล
สังกัดกรุงเทพมหานคร ก่อนการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่าน มีพฤติกรรมการอ่านในภาพ
รวมอยู่ในระดับปานกลางและหลังการใช้สื่อนิเทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านในภาพรวมอยู่ในระดับ
มาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า พฤติกรรมการอ่านก่อนการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริม
การอ่านอยู่ในระดับมาก และหลังการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านอยู่ในระดับมาก เท่ากัน
คือ ด้านวัตถุประสงค์ในการอ่าน พฤติกรรมการอ่านก่อนการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่าน
อยู่ในระดับปานกลาง และหลังจากใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านอยู่ในระดับมาก คือ ด้าน
สาเหตุการอ่าน และด้านสถานที่พฤติกรรมการอ่านก่อนการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านอยู่
ในระดับน้อย และหลักจากการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่านอยู่ในระดับปานกลาง คือ ด้าน
ความถี่ของการอ่าน
2. เปรียบเทียบพฤติกรรมการอ่าน ก่อนและหลังการใช้สื่อนิทานมัลติมีเดียส่งเสริมการอ่าน
ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5โรงเรียนประชาภิบาลสังกัดกรุงเทพมหานครในภาพรวม พบ
ว่า นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่5โรงเรียนประชาภิบาลสังกัดกรุงเทพมหานครมีพฤติกรรมการ
อ่านแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

จารุณีการี. (2555). “ความต้องการกิจกรรมส่งเสริมการอ่านของเด็กที่เป็นสมาชิกอุทยานการ
เรียนรู้ยะลา.” วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาวิชาบรรณารักษศาสตร์
และสารนิเทศศาสตร์. คณะอักษรศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). เทคนิคการอ่าน. กรุงเทพฯ : ศิลปาบรรณาคาร
บุบผา เรืองรอง. (ม.ป.ป.).กิจกรรมส่งเสริมการอ่าน.เข้าถึงจาก:http://taamkru.com/th/กิจกรรม
ส่งเสริมการอ่าน/
พงศ์ฐิติพัสอ๋อง. (2551). “การใช้สื่อสภาพจริงในการส่งเสริมการอ่านและการเขียนเชิงสร้างสรรค์
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3.”วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
วรรณีโสมประยูร. (2539).การพัฒนาทักษะการเขียนประดับประถมศึกษา (2) ในเอกสารการสอน
ชุดวิชาการสอนกลุ่มทักษะภาษาไทย หน่วยที่ 9. นนทบุรีสาขาวิชาศึกษาศาสตร์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
ศรีรัตน์เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ :
ไทยวัฒนาพานิช.
สำ นักงานสถิติแห่งชาติ. (2558). ข้อมูลสถิติการอ่าน 2558. กรุงเทพฯ : สำ นักงานสถิติแห่งชาติ.
สำ นักงานส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้. (2557). รักการอ่านฐานสังคมเรียนรู้. กรุงเทพฯ : สำ นักงาน
ส่งเสริมสังคมแห่งการเรียนรู้.