ปัญหาการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชน

Main Article Content

กัลยาณี ธีระวงศ์ภิญโญ

บทคัดย่อ

เนื่องจากการดำเนินงานยุติธรรมกระแสหลักมีปัญหาในหลาย ๆ ด้านไม่ว่าจะเป็นปัญหาคดีล้นศาล ผู้ต้องขังล้นคุก ดังนั้นเพื่อแก้ไขปัญหาดังกล่าวรัฐจึงนำกระบวนการยุติธรรมชุมชนมาใช้จนในปัจจุบันมีศูนย์ยุติธรรมชุมชนกว่าสี่พันแห่ง และเครือข่ายยุติธรรมชุมชนกว่าสองแสนคน และต่อมาในปี พ.ศ. 2560 ได้มีการจัดทำร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชนขึ้น ซึ่งจากการศึกษาพบปัญหาความคาบเกี่ยวระหว่างการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนในปัจจุบันกับร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชนหากมีการประกาศใช้ ดังนั้นการวิจัยปัญหาการดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนในครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาแนวคิด ทฤษฎี นโยบายและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับด้านยุติธรรมชุมชนของไทยและต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชน และเพื่อเสนอแนะแนวทางในการดำเนินงานของยุติธรรมชุมชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป โดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพประกอบด้วยการศึกษาเอกสาร และกระบวนการเปรียบเทียบทางกฎหมาย ตลอดจนการสัมภาษณ์เชิงลึก ผลการวิจัย พบว่า การดำเนินงานด้านยุติธรรมชุมชนมีเฉพาะกฎหมายลำดับรองคือระดับคำสั่งกระทรวง จึงทำให้เกิดปัญหาทั้งด้านโครงสร้างการดำเนินงานของศูนย์ยุติธรรมชุมชน คณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน และสมาชิกเครือข่ายยุติธรรมชุมชน ดังนั้นจึงควรมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชนหรือกฎหมายระดับท้องถิ่นเพื่อให้เกิดความชัดเจนในการดำเนินงาน โดยให้ศูนย์ยุติธรรมชุมชนและคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชนมาจากชุมชนอย่างแท้จริง ทั้งควรเพิ่มอาสาสมัครยุติธรรมชุมชนประจำหมู่บ้าน ตลอดจนควรมีงบประมาณในการดำเนินงาน มีค่าตอบแทนและมีอุปกรณ์สำนักงาน อีกทั้งมีการจัดอบรมที่ตรงตามความต้องการของชุมชน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

Todd Clear, และ David Karp. (2000). The Community Justice Ideal: Preventing Crime and Achieving Justice. NIJ Journal, 20-29.
Winstone, J., & Pakes, F. (2005). Community Justice: Issues for Probation and Criminal Justice Paperback. Oregon: Willan Publishing.
กรมพัฒนายุติธรรมชุมชน (กยช.) สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม . (2557). คู่มือการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน (Access to Justice) ฉบับเจ้าหน้าที่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานปลัดกระทรวงยุติธรรม.
กรมราชทัณฑ์. (18 สิงหาคม 2563). รายงานสถิติผู้ต้องราชทัณฑ์. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2563, จาก http://www.correct.go.th/stathomepage/
กระทรวงยุติธรรม. (1-15 มิถุนายน 2560). ร่างพระราชบัญญัติยุติธรรมชุมชน พ.ศ. ..... สืบค้นเมื่อ 21 สิงหาคม 2562, จาก กระทรวงยุติธรรม: https://www.moj.go.th/view/9318
กระทรวงยุติธรรม. (6 ธันวาคม 2561). กองทุนยุติธรรม. เข้าถึงได้จาก สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงราย: https://provincial.moj.go.th/view/1787
จุฑารัตน์ เอื้ออำนวย. (2550). การเปิดพื้นที่ยุติธรรมชุมชนเชิงสมานฉันท์ในสังคมไทย. การประชุมวิชาการระดับชาติว่าด้วยงานยุติธรรม ครั้งที่ 5 เรื่องการพัฒนากระบวนการยุติธรรมในสภาวะการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก (หน้า 27-30). กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกิจการยุติธรรม กระทรวงยุติธรรม.
ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์. (2558). หลักนิติธรรมกับการเข้าถึงความยุติธรรมของประชาชน: ยุติธรรมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.
ณัฐพงศ์ ปัทมโรจน์ . (2558). ทุนทางสังคมในกระบวนการยุติธรรมเชิงสมานฉันท์: กรณีศึกษาศูนย์ยุติธรรมชุมชนพนมสารคาม จังหวัดฉะเชิงเทรา. ฉะเชิงเทรา: วิทยานิพนธ์หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารการพัฒนาสังคม) คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ธนยศ ยันตะนะ. (2561). รูปแบบการบริหารเครือข่ายยุติธรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม. ฉะเชิงเทรา: วิทยานิพนธ์ ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
นิตยา โพธิ์นอก และคณะฯ. (2561). ระบบยุติธรรมชุมชนในประเทศประชาคมอาเซียน: กรณีศึกษาสาธารณรัฐฟิลิปปินส์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
วรพล พินิจ. (2017). บทบาทของสำนักงานยุติธรรมจังหวัดกับการขับเคลื่อนนโยบายสาธารณะ. วารสารสำนักหอสมุดมหาวิทยาลัยทักษิณ, 45.
ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลหนองหญ้าปล้อง. (2559). คู่มือการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนและแนวทางการปฏิบัติงานของคณะกรรมการศูนย์ยุติธรรมชุมชน. จังหวัดเลย: ศูนย์ยุติธรรมชุมชนตำบลหนองหญ้าปล้อง.
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. (2559). กระบวนการยุติธรรมชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: วิทยานิพนธ์ นิติศาสตรมหาบัณฑิต คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สัญญพงศ์ ลิ่มประเสริฐ. (2562). ยุติธรรมชุมชน: กระบวนการยุติธรรมทางเลือกในสังคมไทย. งานประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยรังสิต (หน้า 1472). ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.
สำนักงานกระทรวงยุติธรรม. (5 ตุลาคม 2563). รายงานสรุปผลจำนวนการจัดตั้งศูนย์ยุติธรรมชุมชนและเครือข่ายยุติธรรมชุมชน กระทรวงยุติธรรม. เข้าถึงได้จาก สำนักงานพัฒนารัฐบาลดิจิทัล (องค์การมหาชน) (สพร.): https://data.go.th/th/dataset/item_ab5c65aa-59f2-45b6-bd1d-fb01e86372e3
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงราย. (10 ตุลาคม 2561). ประวัติสำนักงานยุติธรรมจังหวัด. เข้าถึงได้จาก สำนักงานยุติธรรมจังหวัดเชียงราย: https://provincial.moj.go.th/view/1454
สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม. (5 ตุลาคม 2563). ประวัติความเป็นมาของสำนักงานยุติธรรมจังหวัด. เข้าถึงได้จาก สำนักงานยุติธรรมจังหวัดนครปฐม: http://www.servicelink2.moj.go.th/nakhonpathom/topic_view.php?id_topic=72
สุรชัย (ฟุอ๊าด) ไวยวรรณจิตร. (2559). การปฏิรูปกระบวนการยุติธรรมชุมชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
อภิรัชศักดิ์ รัชนีวงศ์. (มิถุนายน 2561). การประเมินผลการจัดการศูนย์ยุติธรรมชุมชน กระทรวงยุติธรรม. เอกสารข่าวสารงานวิจัยและพัฒนา, หน้า 2561.
อรทัย ก๊กผล, ฉัตรระวี ปริสุทธญาณ, ปทุมวดี ลดาพรหมทอง, วุฒิสาร ต้นไชย, และ ศักดิ์ชัย เลิศพานิชพันธุ์. (2554). รายงานการวิจัยโครงการนำร่องเพื่อเตรียมความพร้อมในการขยายบทบาทและภารกิจงานยุติธรรมสู่ท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรมและวิทยาลัยพัฒนาการปกครองท้องถิ่น สถาบันพระปกเกล้า.
อัคคกร ไชยพงษ์. (2561). แนวทางการพัฒนายุติธรรมชุมชนของตำบลหนองโก อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น. สุทธิปริทัศน์, 215.