การประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาดของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชน บ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ Applying Watermelon Rinds to Increase the Marketing Value of Watermelon Growers in the Community of Baan Khokmuang, Chorakhemak Sub-district, Prakhon Chai District, Buriram Province.
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาข้อมูลการปลูกแตงโมของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมือง ศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาด และประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาดของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มผู้ปลูกแตงโมปลอดสารพิษชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม และการสังเกต และการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า 1) การศึกษาข้อมูลการปลูกแตงโมของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมือง พบว่า 1.1 ข้อมูลการปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมืองมีปริมาณการปลูกแตงโมทั้งสิ้น 301.27 ไร่ แยกเป็นการปลูกในพื้นที่ตนเอง จำนวน 44 ไร่ และพื้นที่เช่า จำนวน 257.27 ไร่ คิดเป็นค่าเช่าพื้นที่ 110,735 บาท ต้นทุนการเพาะปลูกรวม 836,655 บาท ได้แก่ ค่าวัตถุดิบ จำนวน 252,680 บาท ค่าแรง จำนวน 144,805 บาท และค่าใช้จ่าย จำนวน 439,170 บาท และมีรายได้จากการขายแตงโมรวม 1,541,710 บาท 1.2 ปัญหาจากการปลูกแตงโม ได้แก่ ปัญหาสภาพดิน ปัญหาศัตรูพืชที่เป็นสิ่งรบกวนในการเจริญเติบโตของแตงโม ปัญหาน้ำที่ใช้ในการรดแตงโม ปัญหาปุ๋ย และปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนในการปลูกแตงโม และ 1.3 ปัญหาจากการจำหน่ายแตงโม สามารถแบ่งออกได้ 5 ด้าน ได้แก่ ด้านการจำหน่ายแตงโม ด้านการตลาด ด้านราคาจำหน่าย ด้านสถานที่จำหน่าย และด้านระยะเวลาในการเพาะปลูก 2) การศึกษากระบวนการประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาด พบว่า 1) กลุ่มผู้ปลูกแตงโมมีกระบวนการประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาด ดังนี้ 1.1) จัดหาแตงโมจากสมาชิกกลุ่มที่ปลูกเพื่อนำมาแปรรูป โดยกระบวนการแปรรูปจะเป็นการจัดหาวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเพื่อมาถ่ายถอดความรู้เกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปเพื่อให้สมาชิกกลุ่ม 1.2) ประสานวิทยากรที่มีความเชี่ยวชาญเกี่ยวกับการแปรรูปแยมแตงโมมาถ่ายถอดความรู้ให้กับสมาชิก 1.3) สมาชิกกลุ่มจัดเตรียมสถานที่ และแตงโมในการแปรรูป และ 1.4) ดำเนินการแปรรูปผลิตภัณฑ์แยมแตงโม 2) ส่วนผสมแยมแตงโม ประกอบไปด้วย 2.1) เปลือกแตงโม (สีขาว) หั่นหยาบ จำนวน 1 ถ้วย 2.2) เปลือกแตงโมปั่นละเอียด จำนวน 2 ถ้วย 2.3) น้ำตาลทราย จำนวน 0.5 ถ้วย 2.4) น้ำเปล่าจำนวน 1 ถ้วย 2.5) เกลือป่น จำนวน 1 ช้อนชา 2.6) เจลาติน จำนวน 1 ช้อนชา และ 2.7) น้ำมะนาวจำนวน 4 ช้อนชา และ 3) วิธีการทำผลิตภัณฑ์แยมแตงโม มีดังนี้ 3.1) ต้มเปลือกแตงโมให้สุก แล้วตักขึ้นมาพักไว้ให้สะเด็ดน้ำ 3.2) ผสมเปลือกแตงโมกับน้ำ น้ำตาลทราย เกลือป่น เจลาติน แล้วคนให้ละลายแล้วนำไปตั้งไฟกลาง กวนจนส่วนผสมสุกข้น จึงใส่น้ำมะนาว คนให้เข้ากันจึงยกลงจากเตา และ 3.3) ตักส่วนผสมบรรจุในภาชนะที่เตรียมไว้ ปิดฝาให้สนิท และ 3) การศึกษาประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมเพิ่มมูลค่าการตลาดของกลุ่มผู้ปลูกแตงโมชุมชนบ้านโคกเมือง พบว่า กลุ่มสมาชิกมีการนำผลิตภัณฑ์แยมแตงโมไปจำหน่ายในการจัดงานเทศกาลแตงโมของชุมชนบ้านโคกเมือง โดยในการแปรรูปแยมแตงโมครั้งที่ 2 มีปริมาณการทำ จำนวน 50 กระปุก และมีการจัดทำโลโก้ ฉลากติด และมีการปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่ โดยการออกแบบจากทีมนักวิจัยที่มีความเชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ ซึ่งโลโก้ที่ได้มาจากการร่วมกันคิดค้นของสมาชิกกลุ่ม หลัวจากนั้น ทีมนักวิจัย และชุมชนจึงมีการนำผลิตภัณฑ์แยมแตงโมไปจำหน่ายในงานเทศกาลวัน ซึ่งจากการนำผลิตภัณฑ์แยมแตงโมไปจำหน่าย ส่งผลสมาชิกกลุ่มสามารถจำหน่ายแยมแตงโมได้ จำนวน 1,500 บาท ซึ่งทีมนักวิจัยได้มีการมีการมอบเงินจำนวนดังกล่าวให้กับสมาชิกลุ่มเพื่อเป็นทุนเริ่มต้นในการดำเนินงาน
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
คหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
เชาวลิต อุปฐาก. (2556). การศึกษากรรมวิธีการทำเปลือกแตงโมปรุงรส. รายงานการวิจัย คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์.
กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
นพพร สกุลยืนยงสุข และคณะ. (2558). การประยุกต์ใช้เปลือกแตงโมในผลิตภัณฑ์ไอศกรีมและขนมหวาน. รายงานการวิจัย
คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.
พงศกร ศยามล. (2557). “การสร้างมูลค่าเพิ่มของเงาะในอำเภอบ้านนาสาร จังหวัดสุราษฎรธานี.” การนำเสนอในงาน
International Conference on Management Science, Innovation, and Technology 2014.
สุราษฎรธานี : คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎรธานี.
ลักษณพร โรจน์พิทักษ์กุล. (2555). “การสร้างมูลค่าเพิ่มการทอเสื่อกกเพื่อเศรษฐกิจของชุมชน ตำบลกระทุ่มแพ้ว อำเภอ
บ้านสร้าง จังหวัดปราจีนบุรี.” วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. เดือนตุลาคม 2555 - มกราคม 2556.
24(1) : 49-64.
ศูนย์เครือข่ายข้อมูลอาหารครบวงจร. (2560). สร้างมูลค่าเพิ่ม/ความแตกต่างและความหลากหลายให้กับผลิตภัณฑ์เกษตร
แปรรูป. ออนไลน์. เข้าถึงได้จาก : http://www.foodnetworksolution.com/news_and_articles/
article/0315. (สืบค้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2560).