การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเมืองการปกครองไทยและกฎหมายเบื้องต้น

Main Article Content

ภัทรพล ทศมาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยเรื่อง การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเมืองการปกครองไทยและกฎหมายเบื้องต้น มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของการศึกษาการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาการเมืองการปกครองไทยและกฎหมายเบื้องต้น ประชากร ได้แก่ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ในปีการศึกษา 2561 จำนวน 11,497 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 372 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 อันดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจเพื่อพัฒนาตัวบ่งชี้โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า การตรวจสอบความเหมาะสมของเมทริกซ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวบ่งชี้ พบว่า ค่า KMO (Kaiser–Meyer–Olkin Measure of Sampling Adequacy) มีค่าเท่ากับ .956 ซึ่งมากกว่า .50 แสดงว่า ข้อมูลที่นำมาวิเคราะห์มีความเหมาะสมสำหรับนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ การทดสอบด้วย Barlett’s Test of Shericity พบว่า ค่า Chi-Square = 29602.433 และมีค่านัยสำคัญทางสถิติ (Sig.) = .000 ซึ่งน้อยกว่า .05 ได้ตัวบ่งชี้ทั้ง 117  ตัวบ่งชี้ มีความสัมพันธ์กัน จึงมีความเหมาะสมสำหรับนำมาวิเคราะห์องค์ประกอบ การสกัดองค์ประกอบ (Factor Extraction) โดยใช้วิธีองค์ประกอบหลัก (Principle Component Analysis) และหมุนแกนองค์ประกอบแบบออโทกอนอล (Orthogonal Rotation) ด้วยวิธีแวริแมกซ์ (Varimax) ได้องค์ประกอบ 16 องค์ประกอบ ตัวบ่งชี้ 113 ตัวบ่งชี้ มีค่าไอเกน (Eigen Value) อยู่ระหว่าง 1.221 – 42.557 ซึ่งมีค่ามากว่า 1.0 และมีค่าร้อยละของความแปรปรวนอยู่ระหว่าง 1.044 – 36.373 มีค่าร้อยละของความแปรปรวนสะสม อยู่ระหว่าง 36.373 – 60.116

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กนกพร ฉันทนารุ่งภักดิ์. (2553). การพัฒนาตัวบ่งชี้ความสำเร็จของระบบการเรียนการสอนอีเลิร์นนิ่งสำหรับสถาบันอุดมศึกษา ในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์ (2545). การคิดเชิงสร้างสรรค์. กรุงเทพฯ : ซัคเซสมีเดีย.
ฉันทนา ปาปัดถา. (2552). การศึกษาประสิทธิภาพการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. คณะเทคโนโลยีสื่อสารมวลชน มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร. กรุงเทพฯ : มหาวทิยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร, คณะเทคโนโลยีสีอสารมวลชน, สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องตน. พิมพครั้งที่7. กรงเทพฯ : สุวีริยาสาสน
ประสิทธิ์ สุวรรณรักษ์. (2555). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์ ภาควิชาทดสอบ. และวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่10) คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ยุทธ ไกรวรรณ์. (2551). การเลือกใช้สถิติที่เหมาะสม. กรุงเทพฯ : ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.
รังสรรค์ สิงหเลิศ. (2558). ระเบียบวิธีวิจัยและการใช้สถิติสำหรับการวิจัยทางสังคมศาสตร์. บริษัท ทริปเพิ้ล กรุ๊ป จำกัด.
สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2549). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักทะเบียนมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. (2561) รายงานจำนวนนักศึกษา ประจำปี 2562. มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
Beach, Don M. and Reinhertz, Judy. (1984). “Using Criteria of Effective Teaching to Judge Teacher Performance”, NASSP Bulletin. 12(November 1984) : 19-23.
Berk, Ronald A. (1979). “Effectiveness of Student-Rating Instruments for Faculty Evauluation”, Journal of Higher Education. 50(1979) : 650-669.
Wotruba, TR, and Wright, P.L. (1975). “How to Developed a Teacher Ratings Instrument”, Journal of Education Psychology. 55 (November-December 1975), 633-663.