การพัฒนาสื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1) พัฒนาสื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาผลการใช้สื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนแสงธรรมวิทยา อ.สุไหงโก-ลก จ.นราธิวาส จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย 1) สื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 2) แบบประเมินคุณภาพสื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 3) แบบประเมินคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้ผ่านสื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 4) แบบประเมินคุณภาพเนื้อหาสื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 5) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 6) แบบวัดความพึงพอใจต่อการเรียนผ่านสื่อการสอนเสมือนจริง ประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test แบบไม่อิสระ และ t-test แบบอิสระ
ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
- สื่อการสอนเสมือนจริงประกอบการสอนวิชาภาษาอังกฤษ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ผลเฉลี่ย 4.51 มีความเหมาะสมอยู่ในระดับคุณภาพดีมาก
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ สื่อการสอนเสมือนจริง ในวิชาภาษาอังกฤษ จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนได้คะแนนสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ที่เรียนโดยใช้ สื่อการสอนเสมือนจริง ในวิชาภาษาอังกฤษ จะมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงกว่าการเรียนของนักเรียนที่เรียนแบบปกติ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
- นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีความพึงพอใจต่อการเรียนโดยใช้ สื่อการสอนเสมือนจริง ในวิชาภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับพอใจมาก
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิดานันท์ มลิทอง. (2548). เทคโนโลยีและการสื่อสารเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อรุณการพิมพ์.
เขมณัฏฐ์ มิ่งศิริธรรม (2552). การเรียนรู้ด้วยการนำตัวเองบนเครือข่าย. วารสารศึกษาศาสตร์ ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา, 32 (1), 6-13.
ชิดชนก เชิงเชาว์. (2539). วิธีวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). ปัตตานี : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.
ชวนพิศ จะรา (2556). การพัฒนาการเรียนด้วยเทคโนโลยีประสารความจริง (AR) ร่วมกับหนังสือนิทานสองภาษาโดยใช้กระบวรการกลุ่มเพื่อส่งเสริมความสามารถทางภาษาด้านการฟัง
ของเด็กปฐมวัย. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรอุตสาหกรรมหาบัณฑิต). มหาวิทาลัยพระจอมเกล้าธนบุรี.
นารีรัตน์ รักวิจิตรกุล. (2531). การวางแผนและการประเมินโครงการศึกษาผู้ใหญ่. มหาสารคาม : ภาควิชาการศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาพิเศษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นงสมร พงษ์พานิช. (2554). การศึกษาปัญหาของการพูดภาษาอังกฤษในการสื่อสารด้วยวาจาของนิสิตคณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา.
วารสารมนุษยศาสตร์, 18(1), 85-97.
ปราณี อ่อนศรี (2552). การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานของนักเรียนพยาบาล วิทยาลัยพยาบาลกองทัพบก. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต.
บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พนิดา ตันศิริ. (2553). โลกเสมือนผสานโลกจริง Augmented Reality. สืบค้น 5 พฤษภาคม 2559, จากhttp://www.bu.ac.th/knowledgecenter/executive
ไพฑูรย์ ศรีฟ้า (2556). เอกสารประกอบการอบรบ เรื่อง Augmented Reality เพื่อทำการวิจัยและผลงานทางวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
รักษพล ธนานุวงศ์. (2553). สื่อเสริมการเรียนรู้ โลกเสมือนผสมโลกจริง (Augmented Reality) เรื่อง การจมและการลอย. สืบค้น 15 กันยายน 2559, จากhttp://secondsci.ipst.ac.th/index.php?
option=com_content&view=article&id=336:armedia&catid=19:2009-05-04-05-01-56&Itemid=34.
ล้วน สายยศ และอังคณา สายยศ. (2536). เทคนิคการวิจัยทางการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่3). กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพ์ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2554). การเรียนรู้ด้วยการสร้างโลกเสมือนผสานโลกจริง AUGMENTED REALITY TECHNOLOGY FOR LEARNING. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 16(1),
149-157.
วิวัฒน์ มีสุวรรณ์. (2556). การออกแบบและพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี ออคเมดเต็ดเรียลลิตี้ Augmented Aeality. กรุงเทพมหานคร : จุลดิศการพิมพ์.
ศุษมา แสนปากดี.(2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในบอร์ดประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. ใน การประชุมวิชาการ มหาสารคามวิจัย ครั้งที่ 10, 11-12 กันยายน 2557.
มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2558). ผลสรุปการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET). สืบค้น 20 กันยายน 2560, จากhttps://www.niets.or.th/th/.
สมชาย รัตนทองคำ. (2556). ทฤษฎีการเรียนรู้ของนักการศึกษา ที่นำมาใช้พัฒนาด้านการเรียนการสอน.ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จากhttp://www. oknation.nationtv.tv/blog/.
Bruner. (1960). ทฤษฎีเกี่ยวกับการสอนของบรูเนอร์ (Bruner’s Theory of Instruction) [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 20 กันยายน 2562, จาก http://edutech14.blogspot.com/blog-
post_23.html.
Duffy and Cunningham. (1996). ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์ [ออนไลน์]. ค้นเมื่อ 22 กันยายน 2562, จาก : https://krumamcom.wordpress.com/ทฤษฎีคอนสตรัคติวิสต์/.
Maslow (n.d.). จิตวิทยาการศึกษา : ทฤษฎีความต้องการของมาสโลว์. สืบค้น 20 กันยายน 2562, จากhttps://www.krupatom.com/มาสโลว์/.