รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติก บ้านขุมดิน ตำบลน้ำใส อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด

Main Article Content

kaewmanee utiram

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติกบ้านขุมดิน และเพื่อพัฒนารูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติกบ้านขุมดิน ตำบลน้ำใส อำเภอจตุรพักตรพิมาน จังหวัดร้อยเอ็ด จังหวัดยโสธร ซึ่งกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ สมาชิกกลุ่มกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติกบ้านขุมดิน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ การสัมภาษณ์เจาะลึกรายบุคคล การสนทนากลุ่ม เข้าร่วมกิจกรรมชุมชน การสัมภาษณ์แบบไม่เป็นทางการ และการสังเกต


              ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัญหาการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติกบ้านขุมดิน พบว่า 1.1) กลุ่มเน้นจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบทางเดียว คือ การจำหน่ายผลิตภัณฑ์ไปลูกกลุ่มลูกค้าโดยตรง ซึ่งกลุ่มลูกค้า ได้แก่ หน่วยงานราชการ และบุคคลทั่วไปที่มาเที่ยวชมงานออกบูธขององค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) 1.2) กลุ่มไม่ได้เพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ในรูปแบบอื่นๆ เช่น การขายส่ง การขายปลีก การผลิตสินค้าตามคำสั่งซื้อของลูกค้า การฝากขายร้านค้า หรือห้างสรรพสินค้า เป็นต้น 1.3) กลุ่มไม่มีทักษะหรือความรู้ทางการตลาด ส่งผลทำให้กลุ่มผลิตได้แต่ไม่รู้ว่าจะจำหน่ายให้กับใคร 1.4) กลุ่มไม่มีการประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม เช่น การประชาสัมพันธ์ผ่านเสียงตามสายของหมู่บ้าน ประชาสัมพันธ์ผ่านเฟสบุ๊ค หรือช่องทางการประชาสัมพันธ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ของกลุ่ม และ 1.5) กลุ่มสามารถผลิตสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ออกมาได้ แต่ไม่มีผู้จำหน่ายหลักของกลุ่มทำให้กระบวนการจำหน่ายสินค้าของกลุ่มไม่มีการขับเคลื่อนเท่าที่ควร และ 2) รูปแบบช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าของกลุ่มจักสานผลิตภัณฑ์จากเส้นพลาสติกบ้านขุมดิน มีดังนี้ 2.1) กลุ่มมีการขายผ่านหน้าร้าน โดยเน้นการจัดหน้าร้านที่โดดเด่นที่สามารถกระตุ้นให้ผู้บริโภคมีความต้องการซื้อสินค้าของกลุ่มเพิ่มมากขึ้น 2.2) กลุ่มมีการเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายมากขึ้น เช่น การขายปลีก การขายส่ง และการมีตัวแทนขาย ทั้งนี้เพื่อกระจายสินค้าไปยังผู้บริโภคให้มากขึ้น และ 2.3) กลุ่มมีการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อดิจิทัล โดยใช้ช่องทางแห่งยุคสมัย 4.0 เช่น ไลน์ เฟสบุ๊ค เพื่อกระตุ้นการรับรู้และการเข้าถึงของผู้บริโภคให้มากขึ้นได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

ชนาธิป จันทร์เรือง และคณะ. (2560). การสร้างมูลค่าเพิ่มและช่องทางการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์น้ำตาลโตนดผง กรณีศึกษา :
น้ำตาลโตนดผง เสน่ห์เมืองเพชร อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษา
ครั้งที่ 2 มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2560. 287-291.
ประสิทธิ์ รัตนพันธ์ และคณะ. (2561). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายและการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชนประเภท
อาหารในจังหวัดสงขลา. Journal of Community Development Research (Humanities and Social
Sciences). 11(4) : 42-51.
รัฐพล สังคะสุข และคณะ. (2560). การพัฒนาช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าเครือข่ายวิสาหกิจชุมชนผ่านระบบพาณิชย์
อิเล็กทรอนิกส์. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 12(1) : 38-49.
Kotler, P., & Armstrog, G. (2015). Principle of Marketing Z16th ed). England, UK : Pearson Education.
Leelasuwat, s., Boonchuai, P., & Teianchan, N. (2015). Approaches to Develop OTOP Products in Sampran
District, Nakhon Prathom Province into Universal Standards. (Research report). Nakhon Prathom :
Rajamangala University of Technology Rattanakosin.
Prayalaw, N., & Manmart, L. (2015). Factors Affecting Consumers, Purchasing Decision in Food Product of one
Thambon Product Project Produced in Khon Kaen Province. KKU Research Journal, Humanities and
Social Sciences (Graduate Studies). 3(1) : 38-51.