ดนตรีประกอบพิธีกรรมสะเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ในเขตอีสานตอนใต้ของไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาองค์ประกอบทางดนตรีประกอบพิธีกรรมสะเองของกลุ่มชาติพันธุ์กูย ในเขตอีสานตอนใต้ของไทย ด้วยกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ รวบรวมข้อมูลจากการลงพื้นที่ภาคสนาม นำเสนอผลการศึกษาด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า พิธีสะเองเป็นพิธีกรรมที่เกิดจากความเชื่อและความศรัทธาในการรักษาผู้มีอาการเจ็บป่วย ด้วยวิธีการบรรเลงดนตรีและการฟ้อนรำ ชาวบ้านได้มีการบนบานกล่าวไว้ว่าขอให้หายจากอาการเจ็บป่วย เมื่อหายจากอาการป่วยแล้วจะมีการประกอบพิธีกรรมสะเองขึ้นภายในหมู่บ้าน พิธีกรรมสะเองนี้มีปรากฏอยู่ในหมู่บ้านซำ ตำบลโพธิ์กระสัง อำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ การประกอบพิธีกรรมนี้ชาวบ้านจะจัดปะรำพิธีและเครื่องสังเวยบูชาให้ผู้ประกอบพิธีได้ดำเนินการตามลำดับขั้นตอนพร้อมกับการบรรเลงดนตรีและการฟ้อนรำ มีความเชื่อว่าไม่นิยมกระทำกันในช่วงเข้าพรรษา องค์ประกอบทางดนตรีสำหรับประกอบพิธีกรรมสะเอง จะประกอบไปด้วยเครื่องดนตรี ได้แก่ ปี่สะเอง 1 เลา กลองโทน 2 ใบ และฆ้องหุ่ย 1 ใบ ในบางโอกาสจะมีแคนบรรเลงประกอบเพิ่มเติม การบรรเลงรวมวง เป็นวงดนตรีขนาดกลาง ประมาณ 4 – 5 คน เพลงบรรเลงประกอบพิธีกรรมจะเป็นทำนองเพลงสั้น ๆ อัตราจังหวะปานกลาง บรรเลงซ้ำทำนองไปมาหลายรอบ มีระบบเสียงที่เรียกว่าเพนทาโทนิค มีการแบ่งโครงสร้างของบทเพลงไว้อย่างชัดเจน วงดนตรีบรรเลงตั้งแต่พิธีกรรมเริ่มต้นไปจนถึงเสร็จสิ้นพิธีกรรม
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
พรหมา โพธิ์กระสัง. (2561, 15 กันยายน). สัมภาษณ์.
มานพ วิสุทธิแพทย์. (2533). ดนตรีไทยวิเคราะห์. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชวนพิมพ์.
สมจิตร พ่วงบุตร. (2527). เพลงพื้นบ้านและการละเล่นพื้นบ้านจังหวัดสุรินทร์. กรุงเทพฯ:กรุงสยามการพิมพ์.
สมทรง บุรุษพัฒน์. (2537). เรียนภาษาและชีวิตความเป็นอยู่ของชาวกูย – กวย(ส่วย) จากบทสนทนา. กรุงเทพฯ: สหธรรมิก จำกัด
. (2538). สารานุกรมชนชาติกูย. นครปฐม: โรงพิมพ์สถาบันพัฒนาการสาธารณสุขอาเซียน มหาวิทยาลัยมหิดล.