การประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
การดำเนินการวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมาย เพื่อประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัย
ราชภัฏบุรีรัมย์ โดยใช้รูปแบบการประเมินหลักสูตรแบบ CIPP Model ซึ่งได้ดำเนินการประเมิน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 9 คน คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน ครู จำนวน 23 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 165 คน และผู้ปกครองของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 165 คน รวมจำนวน 377 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบบันทึกข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า
1) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต โดยภาพรวม พบว่ามีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก
2) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านบริบท โดยภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา รองลงมาเป็นด้านพันธกิจหลักของสถานศึกษา ด้านวัตถุประสงค์ของสถานศึกษา และด้านโครงสร้างหลักสูตรของสถานศึกษา ตามลำดับ
3) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านปัจจัยนำเข้า โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านงบประมาณ รองลงมาเป็น ด้านบุคลากร ด้านอาคารสถานที่ และด้านสื่อ วัสดุ และอุปกรณ์ ตามลำดับ
4) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านกระบวนการ โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านการออกแบบการจัดการเรียนรู้ รองลงมาเป็น ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการวัดและประเมินผล และด้านการใช้สื่อในการจัดการเรียนรู้ ตามลำดับ
5) ผลการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษา ในด้านผลผลิต โดยภาพรวมพบว่ามีความคิดเห็นเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน รองลงมาเป็นด้านสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน และในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่านักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอยู่ในระดับ
ดีมาก
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
โขมพัสตร์ สินสา. (2557). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตดินแดง. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (การวิจัยการศึกษา). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ฆนัท ธาตุทอง. (2550). การพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่น. นครปฐม : เพชรเกษมการพิมพ์.
จันทิวา เตจ๊ะ. (2559). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษากลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์โรงเรียนแม่ลาววิทยาคม อำเภอแม่ลาว จังหวัดเชียงราย. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน). : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
จีรนันท์ ตรีพรหม. (2558). การประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา อุบลราชธานี เขต 3. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (วิจัยและประเมินผลการศึกษา). : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี
ทิพยรัตน์ บุญมา. (2558). ศึกษาการประเมินการใช้หลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธิดารัตน์ พรหมเชียรรัตน์. (2556). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชน สังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชน จังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา.
เนตรหทัย เรืองสุข. (2555). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนโชคเพชรพิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่ การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. วิทยานิพนธ์ ศษ.ม. (หลักสูตรและการสอน). : บัณฑิตวิทยาลัย
มหาวิทยาลัยรังสิต
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2557). เอกสารประกอบการสอนวิชา การพัฒนาหลักสูตร. สุรินทร์ : กลุ่มวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์
พิษณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา : แนวคิดสู่การปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : เทียมฝ่าการพิมพ์.
โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ (2558). ต้นกล้าสาธิตบัณฑิตน้อย. คณะครุศาสตร์ :
มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สายหยุด ภูปุย . (2555). โครงการตำราเฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษาสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร : ข้อมูลพื้นฐานการพัฒนาหลักสูตร. โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม : มหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ
สนิท พาราษฎ์. (2559). การประเมินหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สมศักดิ์ โกลากุล. (2556). การประเมินหลักสูตรสถานศึกษา โรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้น พื้นฐาน พุทธศักราช 2551สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในเขตจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยานิพนธ์ ค.ม. (หลักสูตรและการสอน) : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเทพสตรี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (2560) แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 - 2579. พิมพ์ครั้งที่ 1. บริษัทพริกหวาน กราฟฟิค จำกัด : กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (2557). รายงานการประเมินคุณภาพภายนอกรอบสาม
(พ.ศ. 2554 - พ.ศ. 2558). โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรรัมย์
สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2553). แนวทางการบริหารจัดการหลักสูตร ตามหลักสูตรแกนกลาง การศึกษาขั้น พื้นฐาน 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทยจำกัด.
สุภา นิลพงษ์. (2554). การประเมินหลักสูตรโรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ พุทธศักราช 2552. วิทยานิพนธ์ วท.ม. (วิทยาการการประเมิน). : บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.