ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R

Main Article Content

นางสาวพัฒน์นรี - ธรรมาภิมนฑ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R เทียบกับเกณฑ์ 2) เพื่อศึกษาพฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสนใจในการอ่านก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนอักษรศึกษา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 28 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้การอ่านจับใจความภาษาไทยที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R แบบสังเกตพฤติกรรมการอ่านที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความ และแบบสอบถามวัดความสนใจในการอ่าน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test)


               ผลการวิจัยพบว่า


  1. ผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R คิดเป็นร้อยละ 88.21 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

  2. พฤติกรรมการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R อยู่ในระดับดีเยี่ยม 

  3. ความสนใจในการอ่านของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่จัดการเรียนรู้โดยประยุกต์ใช้การอ่านแบบ SQ4R หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 


 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้า
และพัสดุภัณฑ์.
พันธุ์ทิพา หลาบบุญเลิศ. (2545). ภาษาไทย 3 (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์วิทยาลัย.
พิบูลย์ ตัญญบุตร. (2557). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ด้วยวิธีการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ร่วมกับข้อมูลท้องถิ่นจังหวัดสุพรรณบุรี.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วันเพ็ญ วัฒฐานะ. (2557). การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคนิคการอ่านแบบ SQ3R เพื่อพัฒนาความเข้าใจในการอ่านและศึกษา
พฤติกรรมการอ่านภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต,
สาขาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2554). นวัตกรรมการเรียนรู้ภาษาไทย. กาฬสินธุ์: ประสานการพิมพ์.
แววมยุรา เหมือนนิล. (2553). การอ่านจับใจความ (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
สถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ. (2560). ระบบประกาศและรายงานผลสอบโอเน็ต.
เข้าถึงได้จาก :http://www.onetresult.niets.or.th
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, (2559) สรุปผลการวิจัย PIZA. เข้าถึงได้จาก:
https://pisathailand.ipst.ac.th
สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2545). การจัดกระบวนการเรียนรู้ เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน.
กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.
สุนันทา มั่นเศรษฐวิทย์. (2545). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ (2558). สำรวจการอ่านหนังสือของประชากร ปี 2558. เข้าถึงได้จาก:
http://service.nso.go.th/nso/web/survey/surpop2-3-1.html
อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
โดยใช้วิธีสอนแบบ SQ4R ร่วมกับการใช้ผังกราฟิกสาหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน, บัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยทักษิณ.
อัจฉรา ประดิษฐ์. (2552). ชวนเด็กไทยให้เป็นนักอ่าน (1). กรุงเทพฯ: สำนักงานอุทยานการเรียนรู้.
Robinson, F. P. (1961). Effective study. New York: Harper & Brothers.
Walter Pauk. (1984). The New SQ4R. Jouranl Reading World, 23(3).