ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการใช้งานซอฟแวร์ทางการบัญชีของธุรกิจ SMEs ในเขต ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อการใช้งานซอฟแวร์ทางการบัญชี และเปรียบเทียบระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบต่อการใช้งานซอฟแวร์ทางการบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา ตำแหน่งงาน ประสบการณ์ทำงาน และการฝึกอบรมการใช้งาน ใช้กลุ่มตัวอย่างจากสถานประกอบการในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างง่าย จำนวน 430 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือ แบบสอบถาม กำหนดสถิติที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-Way ANOVA) จากผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ทั้งในด้านความสามารถในการจัดทำรายงาน ด้านการควบคุมและรักษาความปลอดภัยของข้อมูล ด้านการบริหารจัดการ ด้านความง่ายและความคล่องตัวในการใช้งาน และด้านการประมวลผลข้อมูล 2) ลักษณะส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับผลกระทบจากการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีไม่แตกต่างกัน ดังนั้นผู้บริหารและผู้ทำบัญชีควรทำความเข้าใจและใช้งานโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีอย่างเต็มประสิทธิภาพเพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กัญฐณา ดิษฐ์แก้ว วันดี อ๊อดปัญญา และสุนิสา ธงวิชัย.(2558). การศึกษาการเลือกใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ในอำเภอเมือง จังหวัดตาก.
การประชุมวิชาการระดับชาติ สถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร. ครั้งที่ 2 (603 - 613). มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.
กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์ข้อมูลด้วย SPSS for Windows. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2550.
ปรียนันท์ วรรณเมธี. ปัจจัยที่มีผลต่อการซื้อโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีของอุตสาหกรรมการผลิตในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการประชุมวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. (ฉบับที่ 1 มกราคม 2555): 3 – 15
ปัทมา เกรัมย์และคณะ. ผลกระทบของความสามารถในการประยุกต์ใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทาง
การบัญชี ที่มีต่อผลการปฏิบัติงานทางด้านบัญชีของผู้ทำบัญชีในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ฉบับที่ 1เดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2557) : 153 –163
นภาพร ลิขิตวงศ์ขจรและไพลิน ตรงเมธีรัตน์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้ซอฟต์แวร์ทางการบัญชีของหน่วยธุรกิจในจังหวัดขอนแก่น. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย. (ฉบับเดือนมกราคม 2557) : 33 – 47
พลพธู ปียวรรณและคณะ. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพมหานคร : วิทยพัฒย์, 2560.
พัชรินทร์ คำหาญ. (2556) ผลกระทบของคุณภาพโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีที่มีต่อประสิทธิภาพรายงานทางการเงินของธุรกิจ SMEs จังหวัดอุดรธานี. วารสารการบัญชีและการจัดการ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. (ฉบับที่ 3 มกราคม 2556): 317.
วัชนีพร เศรษฐสักโก. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : วี.เจ.พริ้นติ้ง, 2560.
วิไล วีระปรีย จงจิตต์ หลีกภัยและประจิต หาวัตร. ระบบบัญชี. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2561.
ส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม.ฐานข้อมูลผู้ประกอบการ SMEs. (ออนไลน์) 2557. ( อ้างอิงเมื่อ 27 ธันวาคม 2557). จาก https://203.154.140.77/sme/Report/View/1190
อรรถพล ตริตานนท์. ระบบสารสนเทศทางการบัญชี. กรุงเทพฯ : เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น, 2546.
อุเทน เลานำภา. การออกแบบระบบบัญชี. มหาสารคาม : ตักศิลาการพิมพ์, 2561.
Mahesh.U.Daru. Role of accounting software in today scenario. International journal of Research in Finance and Marketing. Volume 6, Issue 6 (June, 2016).
Richardson, Chang, and Smith. Accounting Information Systems. USA: McGraw-Hall Education, 2018.
Robert L. Hurt. Accounting Information Systems. USA: McGraw-Hall Education, 2016.