หนังสือ: ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว
Main Article Content
บทคัดย่อ
สุดยอดแนวคิดทางเศรษฐกิจเชิงพุทธ จากองค์พระประมุขผู้ทรงเป็นปรัชญาเมธี ยุทธศาสตร์
การแก้ไขเศรษฐกิจในระดับรากหญ้า ระบบเศรษฐกิจทุนนิยมที่ครอบงำาประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกอยู่นี้
เป็นระบบเศรษฐกิจที่มีการผลิตมุ่งหมายรับใช้ตัณหา ความทะยานอยาก แล้วนำาไปสู่การแข่งขัน ช่วง
ชิง การเอารัดเอาเปรียบ เกิดการต่อสู้กันระหว่างคนกับคน ทำาให้เกิดความทุกข์ในชีวิต ความรุนแรงใน
สังคม ไม่มีสันติภาพในสังคม คนส่วนใหญ่มองไม่เห็นทุกข์นี้ แต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 9
ทรงมองเห็นอย่างแจ่มชัด จึงมีพระราชดำาริยุทธศาสตร์ในทางเศรษฐกิจใหม่ โดยทรงเสนอ “เศรษฐกิจ
พอเพียงจากรากฐานของมัชฌิมาปฏิปทาในพระพุทธศาสนา”
ในการวิจารณ์หนังสือเล่มนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อให้ทราบเนื้อหาที่น่าสนใจของหนังสือ
2) เพื่อให้ทราบข้อที่ควรระวังของหนังสือ 3) เพื่อให้ทราบเนื้อหาที่ควรเพิ่มเติมให้เต็มของหนังสือ
และ4) เพื่อให้ทราบคุณค่าของหนังสือ โดยผู้วิจารณ์ทำาการวิจารณ์ด้วยความปรารถนาเพื่อให้เกิดผล
อันจักเป็นประโยชน์ของการเผยแพร่หนังสือ และการพัฒนาหนังสือเล่มนี้ให้สมบูรณ์ดีเลิศต่อไป
หนังสือเล่มนี้ถูกเรียบเรียงขึ้นด้วยความเจตนาของผู้เรียบเรียง ด้วยเพราะเหตุว่า “หลักปรัชญา
เศรษฐกิจพอเพียงพระเจ้าอยู่หัว” นั้นได้มีการเผยแพร่อย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ
หลายประเทศได้นำาไปสู่การปฏิบัติ เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศ ประเทศไทยเองได้นำาหลักหลัก
ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง บรรจุไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ ฉบับที่ 8 จนถึง
ฉบับที่ปัจจุบัน คือฉบับที่ 12 ขับเคลื่อนโดยสำานักงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำาริ มูลนิธิชัย
พัฒนา รวมถึงรัฐบาลทุกรัฐบาลยังกำาหนดไว้ในแผนบริหารราชการแผนดิน มีการเผยแพร่ กล่าวขาน
อย่างกว้างขวาง แต่หนังสือที่จะรวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฏี
ใหม่ หลักการ วิธีการ ดำาเนินชีวิต ที่ถูกพูดถึง ในวาระต่าง ๆ ตลอดถึงบุคคลสำาคัญ ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ
หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง มีอยู่น้อย หนังสือเล่มนี้ จึงเป็นหนังสืออีกเล่มหนึ่งที่ได้รับความสนใจ
ตอบรับจากผู้อ่าน จนมีการจัดพิมพ์เป็นครั้งที่ 2
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์