บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว ปีที่ 10 ฉบับที่ 1 มกราคม - มิถุนายน 2561 จังหวัดบุรีรัมย์ กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาเรื่อง บทบาทของชุมชนในท้องถิ่นต่อการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยวจังหวัดบุรีรัมย์
กรณีศึกษาชุมชนวนอุทยานเขากระโดง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนใน
การพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดง อำาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ และเพื่อหาแนวทาง
ในการพัฒนาตลาดการท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดงอำาเภอเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ การวิจัยครั้งนี้ได้
กำาหนดกลุ่มเป้าหมาย เป็นประชาชนในชุมชนพื้นที่ใกล้แหล่งท่องเที่ยว 3 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนตำาบล
เสม็ด ชุมชนตำาบลอิสาน และชุมชนตำาบลสวสยจีก อำาเภอเมืองบุรีรัมย์ จังหวัดบุรีรัมย์ผู้นำาชุมชน และ
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยผู้วิจัยได้กำาหนดขนาดตัวอย่างประชาชนในชุมชน โดยใช้สูตรการหาขนาด
ของกลุ่มตัวอย่างแบบทราบจำานวนประชากร ใช้สูตรของ Taro Yamane ทดสอบความน่าเชื่อถือของ
เครื่องมือ ผู้วิจัยได้ดำาเนินการศึกษาทั้งการวิจัยแบบคุณภาพจากเอกสารทางราชการและเอกสารเผย
แพร่ การสัมภาษณ์เชิงคุณภาพและจัดประชุมระดับความคิดเห็น ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เพื่อค้นหาแนวทาง
การพัฒนาวนอุทยานเขากระโดง และการวิจัยเชิงปริมาณสำารวจความมีส่วนร่วมของประชาชนในชุมชน
ต่อการพัฒนาวนอุทยานเขากระโดง เมื่อได้เก็บข้อมูลเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ผู้วิจัยทำาการวิเคราะห์ข้อมูล
และสรุปผล มีรายละเอียดดังนี้
เชิงปริมาณ
บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชนในการพัฒนาตลาดท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดง จำาแนก
ตามส่วนประสมทางการตลาดบริการสรุปผล ได้ดังนี้ บทบาทด้านแหล่งท่องเที่ยวและบริการ บทบาท
ด้านราคา บทบาทด้านทำาเลที่ตั้ง บทบาทด้านการส่งเสริมการตลาด บทบาทด้านบุคลากร บทบาท
ด้านกระบวนการ บทบาทด้านทางกายภาพ บทบาทด้านผลิตภาพ บทบาทการมีส่วนร่วมของชุมชน
ในการพัฒนาตลาดท่องเที่ยว วนอุทยานเขากระโดงโดยรวมแล้วอยู่ในระดับปานกลาง
ิงคุณภาพ
จากการสัมภาษณ์แนวทางการพัฒนาตลาดท่องเที่ยววนอุทยานเขากระโดง กล่าว โดยสรุป
ผู้สัมภาษณ์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่าวนอุทยานเขากระโดงควรพัฒนาในรูปแบบของการอนุรักษ์ธรรมชาติ
และสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาเป็นพักผ่อนหย่อนใจ และพัฒนาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ศึกษาข้อมูลธรณีวิทยา
ธรรมชาติภูเขาไฟ ร้านค้าจำาหน่ายสินค้า จำาหน่ายอาหาร จำาหน่ายของที่ระลึกต้องมีการกำาหนดหรือ
ควบคุมดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ พัฒนาถนนทางขึ้นเขากระโดง อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและรักษา
สิ่งแวดล้อม ควรมีการปลูกต้นไม้เพิ่มมากขึ้นเพื่อสร้างทัศนียภาพที่สวยงาม พัฒนาชุมชนใกล้แหล่ง
ท่องเที่ยว จัดให้ชุมชนสะอาดเป็นระเบียบเพื่อรองรับนักท่องเที่ยว เพิ่มช่องทางการสื่อสารให้มากขึ้น
โดยพัฒนาสื่อ เนื้อหา จุดขายของแหล่งท่องเที่ยว ผ่านสื่อทุกรูปแบบ เช่น แผ่นพับ วิทยุกระจายเสียง
โทรทัศน์ อินเตอร์เน็ท บทความลงในหนังสือพิมพ์หรือหนังสือเกี่ยวกับการท่องเที่ยว นำาเสนอทั้งภาษา
ไทยและภาษาต่างชาติ ให้มากกว่า 3 ภาษา บุคลากรมีจำานวนจำากัด ควรเพิ่มบุคลากรให้มากขึ้นกว่า
เดิม เพื่อรองรับนักท่องเที่ยวที่เขามาเยี่ยมชมวนอุทยานเขากระโดง ซึ่งมีจำานวนเพิ่มขึ้นทุกปี ประสาน
งานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น สถานศึกษา เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยววนอุทยานเขากระโดง และ
ควรพัฒนาระบบการรักษาความปลอดภัย มีการจัดเจ้าหน้าที่ รปภ. หรืออป.พร หมู่บ้าน รักษาความ
ปลอดภัยให้กับนักท่องเที่ยว พัฒนาบริเวณแหล่งท่องเที่ยวให้มีความสะอาด รวมทั้งร้านอาหาร ร้าน
จำาหน่ายสินค้าที่ระลึก ให้ปราศจากการทิ้งขยะ เศษกระดาษ เศษอาหาร รณรงค์อนุลักษณ์สิ่งแวดล้อม
เพื่อสร้างให้แหล่งท่องเที่ยวมีความสวยงามปรับปรุงสิ่งอำานวยความสะดวก สาธารณูปโภค ให้สะอาด
และพร้อมที่จะให้บริการนักท่องเที่ยวได้ตลอดเวลา ควรนำาเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในการบริการ
นักท่องเที่ยว เช่น ติดตั้ง WIFI ในแหล่งท่องเที่ยว
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์
References
กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกียรติ และคณะ. (2552). ระเบียบวิธีวิจัยทางธุรกิจ. กรุงเทพฯ : วิรัตน์ เอ็ดคูเคชั่น.
กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไว (2554). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวโดยชุมชนจังหวัดลำาปาง. กรุงเทพฯ :
คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปิยะมาน เตชะไพบูลย์. (2557). ผู้บริการหญิงคนเก่งแห่งวงการท่องเที่ยวเผยเชื่อมั่นในศักยภาพ
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทยในAEC. วารสารการค้าระหว่างประเทศ, (4), 4-9
ประพัทธ์ชัย ไชยนอก. (2553). แนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านด่านซ้าย
อำาเภอด่านซ้ายจังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์
การพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย.