ผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT

Main Article Content

นงนารถ ร่มเย็น
สมศิริ สิงห์ลพ
ปริญญา ทองสอน

บทคัดย่อ

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์และ
ความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT ก่อน
เรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/6 จำานวน 27 คน
ที่เรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2559 โรงเรียนมัธยมตากสินระยอง สังกัดองค์การบริหารส่วน
จังหวัดระยอง ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster random) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย
แผนการสอนแบบ 4 MAT วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการดำารงชีวิต แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียน และแบบวัดความคิดสร้างสรรค์วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
และทดสอบค่าที (t-test) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคิดสร้างสรรค์ทางการเรียนวิทยาศาสตร์
ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบ 4 MAT
ผลการวิจัยพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ เรื่อง อาหารและการดำารงชีวิต
ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอนแบบ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัย
สำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการสอน
แบบ 4 MAT หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำาคัญทางสถิติที่ระดับ .01

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)

References

กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ. (2544). สาระและมาตรฐานการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้
วิทยาศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
กลุ่มวิจัยและพัฒนาคุณภาพการเรียนรู้. (2547). รายงานการวิจัยผลการศึกษาและพัฒนารูปแบบ
การจัดการเรียนรู้ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน. กรุงเทพมหานคร: สำานักวิชาการ
และมาตรฐานการศึกษา กรุงเทพมหานคร.
ฉัฐภิมณฑ์ เพชรศักดิ์วงส์. (2552). การเปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง หินและแร่ของนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ประกอบการเขียนแผนผังมโนทัศน์
และการจัดการเรียนรู้ตามคู่มือครูของ สสวท.สาขาหลักสูตรและการนิเทศบัณฑิตวิทยาลัย,
มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฏฐพงศ์ เจริญพิทย์. (2558). การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ทางวิทยาศาสตร์: ทักษะแบบองค์รวม.
กรุงเทพมหานคร.
ตรูเนตร อัชชสวัสดิ์. (2554). การศึกษาผลการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรม 4 MAT และการสอนโดยใช้
ชุดกิจกรรมตามวิธีการทางวิทยาศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถ
ในการคิดแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา. ปริญญานิพนธ์
การศึกษามหาบัณฑิต.สาขาวิชาการประถมศึกษา,บัณฑิตวิทยาลัย,มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
นันทยา วงค์ชัย. (2552). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
ที่ได้รับการสอนโดยเน้นกิจกรรมการพัฒนาสมองซีกขวา. วิทยานิพนธ์ปริญญา. ศึกษาศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สมศักดิ์ สินธุระเวชญ์. (2552). การพัฒนาแบบฝึกการเขียนเชิงสร้างสรรค์ สำาหรับนักเรียนชั้นประถม
ศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วิชัย วงษ์ใหญ่. (2521). การพัฒนาหลักสูตรและการสอน. กรุงเทพฯ: รุ่งเรื่องธรรม.
_________. (2537) . กระบวนการพัฒนาหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนภาคปฎิบัติ.
กรุงเทพฯ: รุ่งเรื่องธรรม.
Maccarthy. Bernice. (April 1985).“What 4 MAT Traning Thaches us a bout staff
Development” Eric Accession: NISC Discover Report 42, 7: 61-68