การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียเรื่อง สารพันธุกรรม โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์เรื่องสาร
พันธุกรรม 2) ศึกษาประสิทธิภาพและประสิทธิผล 80/80 ในด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน กลุ่มตัวอย่าง
ที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/1 โรงเรียนดอนมดแดงวิทยาคม ปีการศึกษา
2559 จำ�นวน 44 คน เก็บข้อมูลจาก 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาชีววิทยา เรื่อง สารพันธุกรรม
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ 2) ใบกิจกรรมประกอบแผนการ
จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์ 3) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ผลการวิจัยพบว่า
กิจกรรมการเรียนรู้แบบสืบเสาะวิทยาศาสตร์นี้ ประกอบด้วย 5 ขั้น ขั้นที่ 1 นักเรียนจดจ่อกับคำถาม
ที่จะนำไปสู่การสืบเสาะ ขั้นที่ 2 นักเรียนเก็บข้อมูลเพื่อสร้างเป็นหลักฐานที่เกี่ยวเนื่องกับคำถาม ขั้นที่
3 นักเรียนสร้างคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์จากประจักษ์พยานที่ค้นพบ ขั้นที่ 4 นักเรียนเชื่อมโยงคำ
อธิบายไปยังองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ และขั้นที่ 5 นักเรียนสื่อสารและโต้แย้งแสดงเหตุผลสนับสนุน
ผลการค้นพบของตนเอง ใช้เวลาในการจัดกิจกรรม 10 ชั่วโมง ประสิทธิภาพของกิจกรรม (E1/E2) มี
ค่าเท่ากับ 83.25/ 81.82 ค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7693
This research aimed to develop science inquiry-based learning activity in topic
of DNA, including study efficiency and effectiveness 80/80 in terms of academic achievement
and retention. Research methodology comprised of developing learning activity
and achievement test and introducing the activity to the participants which is a total of
44 grade 12 students. Data were collected from 1) classroom action instructional tools
including Using Science Inquiry Instruction learning activities, 2) activity sheets, and 3)
academic achievement tests.The results showed that this 10 hours science inquiry-based
learning activity composed of 5 steps. Step 1: learner engages in scientifically oriented
questions. Step 2: learner gives priority to evidence in responding to question. Step 3:
learner formulates explanations from evidence. Step 4: learner connects explanations
to scientific knowledge. And step 5: learner communicates and justifies explanation.
The efficiency(E1/E2) and effectiveness (E.I.) of this activity were 8.25/ 81.82 and 0.7693.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์