การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1

Main Article Content

อนงนาฎ บรรหาร
สมนึก ทองเอี่ยม
สมุทร ชำนาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมาย เพื่อศึกษาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของโรงเรียนประถม
ศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 กลุ่มตัวอย่างคือครู
ที่ปฏิบัติงานสอนในโรงเรียนประถมศึกษาขนาดกลาง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
สระแก้ว เขต 1 จำนวน 265 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณ
ค่า 5 ระดับ จำนวน 105 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ .97 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบ
ด้วย ร้อยละ (%) ร้อยละสะสม (% สะสม) ค่าเฉลี่ย ( X ) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และดัชนีความ
ต้องการจำเป็นในการพัฒนา (PNImodified )
ผลการวิจัยพบว่าสภาพที่เป็นจริงในปัจจุบันในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ซึ่งจะต้องหาทาง
ปรับปรุงให้ดีขึ้น สภาพที่ควรจะเป็นในความคาดหวังในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งจะต้องพัฒนา
ต่อไปตามลำดับดังนี้ ความต้องการจำเป็นในการพัฒนา พบว่าต้องการการพัฒนา ตามลำดับดังนี้ หลัก
การกระจายอำนาจ หลักการมีส่วนร่วม หลักความเสมอภาค หลักความโปร่งใส หลักฉันทามติ หลัก
ประสิทธิภาพ หลักประสิทธิผล หลักนิติธรรม หลักการตอบสนอง และหลักภาระรับผิดชอบ และข้อ
เสนอแนะเพิ่มเติมต่อการพัฒนาการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลตามลำดับความต้องการจำเป็น
ในการพัฒนาดังนี้ หลักการกระจายอำนาจ ควรมีการกระจายอำนาจในการทำงานอย่างเหมาะสม
ตามความสามารถและความชำนาญ หลักการมีส่วนร่วม ควรมีการสนับสนุนนโยบายการมีส่วนร่วม
ในการดำเนินกิจกรรมร่วมกัน หลักความเสมอภาคควรมีการสนับสนุนการบริหารงานอย่างเสมอภาค
ส่งเสริมให้ทุกฝ่ายมีความเสมอภาคในการทำงานและรับผลประโยชน์ร่วมกัน หลักความโปร่งใสควรมี
ความโปร่งใสในการบริหารงานสามารถตรวจสอบได้ทุกขั้นตอน หลักฉันทามติควรมีมติ ข้อตกลงร่วม
กันอย่างชัดเจนหลักประสิทธภิ าพควรมกี ารบริหารงานตามบริบทของโรงเรียน ดำเนินกิจกรรมโดยคำ นึงถงึ ประโยชน์
และประสิทธิภาพสูงสุด หลักประสิทธิผลควรมีเป้าหมายและทิศทางที่ชัดเจนตามบริบทของโรงเรียน
หลักนิติธรรมควรมีกฎ กติกา และข้อตกลงที่ชัดเจน หลักการตอบสนองควรมีการดำเนินงานและ
กิจกรรมต่างๆอย่างรวดเร็วและทันสมัย หลักภาระรับผิดชอบควรมีการแบ่งหน้าที่รับผิดชอบอย่างชัดเจน


The purposes of this research were study the Good governance in medium
schools under Sakaeo Primary Educational Service Area, Office 1. The samples of this
research were 265 teachers. The research instrument was the 5 rating scales questionnaire
with 105 questions. The reliability value was .97. The statistical devices were
mean, standard deviation, percentage; cumulative percentage and modified priority
need index.
The findings were as follows: the actual situation of Good Governance in
medium schools under Sakaeo Primary Educational Service Area, Office 1, as a whole
was rated at high level. The expectation of Good Governance in medium schools;
Sakaeo Primary Educational Service Area, Office 1, as a whole was rated at highest
level. The Good Governance priority need index in medium schools under Sakaeo
Primary Educational Service Area, Office 1, as a whole needed to develop in order;
Decentralization, Participation, Equity, Transparency, Consensus Oriented, Efficiency,
Effectiveness, Rule of Law, Responsiveness and Accountability. The suggestion for goodgovernance in medium schools under Sakaeo Primary Educational Service Area, Office 1
consisted of Decentralization: the school’s management should distribute tasks by
staff availability and skillset. Participation: the school’s management should support an
inclusive work participation policy. Equity: the school’s management should support
and encourage everyone to practice equality in the workplace. Transparency: The
school’s management can be able to investigate every process. Consensus Oriented:
the school’s management should seek communal agreement with teachers on resolutions.
Efficiency: the school’s management should consider the school context in
order to receive the most benefits. Effectiveness: the school’s management should
have clear direction that follows the school context and goal. Rule of Law: the school’s
management should have clear rules. Responsiveness: the school’s management
should employ modern techniques to respond quickly. Accountability: the school’s
management should clearly identify the roles of staff.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)