ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครู ในโรงเรียนมัธยมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัดสระแก้ว

Main Article Content

ปรานีต จินดาศรี
สุรัตน์ ไชยชมภู
สมุทร ชำนาญ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อแรงจูงใจ
ในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7
ในจังหวัดสระแก้ว กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ ครูโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 จำนวน 234 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วน
ประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
แบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1) ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียน
มัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัดสระแก้ว โดยรวมและ
รายด้านอยู่ในระดับมาก 2) ระดับแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 7 ในจังหวัดสระแก้ว โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ใน
ระดับมาก 3) ภาวะผู้นำที่ส่งผลต่อแรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนมัธยมศึกษา คือ แบบ
การใช้อำนาจกดขี่(X1) แบบการใช้อำนาจอย่างเมตตากรุณา (X2) แบบการบริหารแบบปรึกษาหารือ
(X3) และแบบการบริหารที่มีการร่วมมือกันทุกฝ่าย (X4) แบบภาวะผู้นำทั้ง 4 แบบเป็นตัวพยากรณ์
ได้ทุกตัว ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ กับตัวแปรเกณฑ์มีค่าเท่ากับ .989 มีนัยสำคัญทางสถิติที่
ระดับ .05 สามารถพยากรณ์แรงจูงใจในการปฏิบัติงานของครูได้ร้อยละ 97.81


The purpose of this research was to study Leadership styles influencing teacher
motivation in secondary schools under the Secondary Educational Service Area Office 7.
There were 234 secondary school teachers who were randomly selected to be the
samples. Questionnaires were used as tools in data collection. Statistical analysis was
performed in terms of Mean, Standard Deviation, and Stepwise Multiple Regression
Analysis. The results revealed that: 1) School administration leadership styles level
in schools under the Secondary Educational Service Area Office 7, Sa Kaeo Province
as a whole and each aspect was at a high level. 2) Teacher motivation level of secondary
schools under the Secondary Educational Service Area Office 7 as a whole
and each aspect was at a high level. 3) Exploitative authority, Benevolent authority,
Consultative leadership, and Participative leadership styles were the best predictors.
The collective correlation coefficient regression of four leadership styles mention
was .989 with statistical significance at level .05. The predicted power was found of
being 97.81 percent.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Paper)