การพัฒนาความสามารถด้านการเขียนเชิงเปรียบเทียบ ด้วยกิจกรรมการสอน ตามกระบวนการอรรถฐาน สำหรับนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบคะแนนความสามารถด้านการเขียน
ภาษาอังกฤษเชิงเปรียบเทียบ ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยวิธี
การสอนตามกระบวนการอรรถฐาน และ 2) เพื่อศึกษาเจตคติที่มีต่อการเขียนภาษาอังกฤษเชิงเปรียบ
เทียบ หลังเรียนของนักศึกษาที่ได้รับการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนตามกระบวนการอรรถฐาน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 2 สาขาภาษาอังกฤษ
เพื่อการสื่อสารสากล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์ ในภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2558 ที่ลงทะเบียนเรียนวิชาการเขียนระดับย่อหน้า (Paragraph Writing) รหัสวิชา 01-
074-201 จำนวน 1 ห้องเรียนรวมทั้งสิ้น 32 คน ซึ่งได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random
Sampling) โดยการจับฉลากเลือกกลุ่ม (Section) เข้ากลุ่มทดลอง
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แผนการจัดกิจกรรมการสอนตามกระบวนการอรรถฐานประเภท
การเขียนอธิบาย (Explanation) ด้านการเขียนเชิงเปรียบเทียบ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถใน
การเขียนภาษาอังกฤษเชิงเปรียบเทียบ จำนวน 6 เรื่อง 3) เกณฑ์ประเมินการเขียนภาษาอังกฤษเชิง
เปรียบเทียบ (Comparison and Contrast Rubric) 4) แบบวัดเจตคติต่อการเรียนเขียนภาษาอังกฤษ
เชิงเปรียบเทียบ วิเคราะห์ข้อมูลโดย ใช้ค่าเฉลี่ยของคะแนน ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการ
ทดสอบค่าสถิติ t-test Dependent Samples
ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้
1. นักศึกษาระดับปริญญาตรี ที่เรียนด้วยวิธีการสอนตามกระบวนการอรรถฐาน มีคะแนน
ความสามารถด้านการเขียนภาษาอังกฤษเชิงเปรียบเทียบ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญ
ทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ระดับคะแนน 81.16 และ 39.72 และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
(S.D) ในงานเขียนครั้งแรกอยู่ที่ระดับคะแนน 5.32 และในงานเขียนครั้งสุดท้ายอยู่ที่ระดับคะแนน 7.67
ทั้งนี้ผู้เรียนมีระดับความสามารถในการเขียนภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้น
2. นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีเจตคติต่อการเรียนด้วยวิธีการสอนตามกระบวนการอรรถ
ฐานหลังเรียนอยู่ในระดับพึงพอใจมาก อย่างมีนัยสำ�คัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยมีค่าเฉลี่ยอยู่ที่
ระดับ (X=4.42) และมีค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ (S.D = 0.66) ซึ่งระดับเจตคติของผู้เรียนมี
ความพึงพอใจมาก
The purposes of this research were to compare and enhance students’ learning
achievement in English comparison and contrast writing and to investigate their attitudes
after taking genre-based learning activities. This experimental research was carried out
with a one-group pre- and post-test design.
The participants of the present study, selected using simple random sampling
method, were 32 second-year English for International Communication students at
Rajamangala University of Technology Isan, Surin Campus, who enrolled in Paragraph
Writing Course in Semester 1/2015. Research instruments utilized for data collection
were 1) a genre-based writing activity lesson plan; 2) tests of metaphorical writing on 6
topics; 3) comparison and contrast writing rubrics; 4) and the set of a student attitude
questionnaire on genre-based learning activities. Data analyses were conducted using
descriptive statistical methods using mean scores, percentage, standard deviation and
a Dependent Sample t-test.
The results of the study were as follows:
1) The students who participated in genre-based learning activities achieved
significant higher scores (p<.05) in compare-and-contrast writing in the posttest
than the pretest with the mean scores of 81.16 and 39.72, respectively, and standard
deviation values in the first writing assignment and final writing assignment of 5.32 and
7.67, respectively.
2) The students’ attitude questionnaire suggested that the students perceived
genre-based learning activities as very satisfactory at 0.05 statistical significance value
with an average score of 4.42 and a standard deviation of 0.66.
The findings indicated that the genre-based learning activities could effectively
improve students’ abilities in compare-and-contrast paragraph writing, and could
motivate the students to have better attitudes in learning English. The results have
also enhanced genre-based instructional method to be an effective teaching technique
for writing instruction.
Article Details
- ต้นฉบับที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ถือเป็นกรรมสิทธิ์ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ห้ามนำข้อความทั้งหมดหรือบางส่วนไปพิมพ์ซ้ำเว้นเสียแต่ว่าจะได้รับอนุญาตจากมหาวิทยาลัยฯ เป็นลายลักษณ์อักษร
- เนื้อหาต้นฉบับที่ปรากฏในวารสารเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียน ทั้งนี้ไม่รวมความผิดพลาด อันเกิดจากเทคนิคการพิมพ์