วารสาร “วิพิธพัฒนศิลป์” ISSN 2985-265X (Online) รับตีพิมพ์บทความคุณภาพทางด้านศิลปะ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาศิลปะ โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ คณาจารย์ นักศึกษา นักวิจัย และบุคคลทั่วไป ทั้งในระดับชาติและนานาชาติ โดยตีพิมพ์ 3 ฉบับต่อปี
ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน
ฉบับที่ 2 พฤษภาคม – สิงหาคม
ฉบับที่ 3 กันยายน – ธันวาคม
ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์
1. อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาไทย ดังนี้
(1) นักศึกษา บทความละ 1,500 บาท
(2) บุคลากร บทความละ 2,000 บาท
(3) บุคคลทั่วไป บทความละ 3,000 บาท
2. อัตราค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์บทความภาษาอังกฤษบทความละ 4,500 บาท
บัญชี : ธนาคารกรุงไทย
ชื่อบัญชี : สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ (เงินนอกงบประมาณ)
เลขที่บัญชี : 982-2-56571-2
หมายเหตุ: ค่าธรรมเนียมการตีพิมพ์จะเรียกเก็บเมื่อบทความเข้าสู่กระบวนการพิจารณาบทความ และค่าธรรมเนียมที่ชำระแล้วจะไม่คืนให้กับผู้เขียนไม่ว่ากรณีใด ๆ ทั้งสิ้น
นอกจากนี้ วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ มีความประสงค์สำรวจความพึงพอใจของผู้ใช้บริการของวารสาร เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงคุณภาพของวารสาร การให้บริการ ขั้นตอนการดำเนินงานต่าง ๆ ให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด จึงขอความอนุเคราะห์ท่านโปรดตอบแบบสำรวจความพึงพอใจการใช้บริการของวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ตามแบบประเมินด้านล่างนี้
แบบประเมินความพึงพอใจการใช้บริการวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์
ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 (2024): วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ (พฤษภาคม - สิงหาคม 2567)
วารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ปีที่ 4 ฉบับที่ 2 เป็นวารสารอิเล็กทรอนิกส์ที่โครงการบัณฑิตศึกษา สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์ จัดทำขึ้นเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ ผลงานวิจัย ด้านศิลปวัฒนธรรมในระดับชาติและนานาชาติ ประกอบไปด้วยความรู้ที่หลากหลายของสาขานาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ ศึกษาศาสตร์ การบูรณาการศิลปวัฒนธรรม และวัฒนธรรมข้ามศาสตร์ ปัจจุบันวารสารฯ อยู่ในระบบฐานข้อมูล TCI กลุ่มที่ 2 และอยู่ระหว่างรอผลการประเมินคุณภาพวารสารวิชาการที่อยู่ในฐานข้อมูล TCI รอบที่ 5 พ.ศ. 2567-2572
ในวารสารฉบับนี้ ประกอบด้วยบทความวิจัย 3 เรื่อง บทความวิชาการ 3 เรื่อง และบทความงานสร้างสรรค์ 2 เรื่อง ได้แก่ 1) Ndadi: A Preliminary Perspective on Trance in the Angguk Sripanglaras Folk Performance of Kulon Progo, Yogyakarta, Indonesia 2) กลวิธีการเล่นมือฆ้องวงใหญ่เพลงเชิด ตามแนวทางของครูสอน วงฆ้อง 3) ฟ้อนทางหวาน: การสร้างอัตลักษณ์นาฏยศิลป์อีสานของวิทยาลัยนาฏศิลปกาฬสินธุ์ 4) ภาษาไทยกับกลวิธีการแปลคำทางวัฒนธรรมจากภาษาต่างประเทศ 5) การศึกษาแนวคิดการออกแบบเนื้อหาและนำเสนองานด้านนาฏศิลป์ที่ประสบความสำเร็จในแอปพลิเคชัน TikTok กรณีศึกษา: ครูเทเท่ และป้าปุ๋ยนางรำพาเที่ยว 6) การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น 7) นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี 8) การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ
กองบรรณาธิการขอขอบคุณผู้เขียนบทความทุกท่าน ที่ทุ่มเทผลิตผลงานทางวิชาการอันทรงคุณค่า และให้ความไว้วางใจในการดำเนินการเผยแพร่บทความในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ และขอขอบคุณผู้ประเมินทุกท่านที่ให้ความอนุเคราะห์ตรวจสอบความถูกต้อง กลั่นกรองคุณภาพของทุกบทความที่เผยแพร่ในวารสารฉบับนี้อย่างเข้มข้นและมีมาตรฐาน
เผยแพร่แล้ว:
2024-07-29
ดูทุกฉบับ