การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น

Main Article Content

น้ำเพชร ฟักทอง

บทคัดย่อ

        ฆ้องวงใหญ่เป็นเครื่องดนตรีไทยประเภทเครื่องตี มีหน้าที่ดำเนินทำนองหลักในวงปี่พาทย์ ผู้เริ่มเรียนดนตรีไทยประเภทเครื่องตีทุกคนต้องมีทักษะการตีฆ้องวงใหญ่เบื้องต้นเพื่อเป็นพื้นฐานในการบรรเลงเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีชนิดอื่น การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น จึงเป็นพื้นฐานสำคัญสำหรับผู้เริ่มเรียนที่ไม่มีพื้นฐานการบรรเลงดนตรีไทยประเภทเครื่องตี


        ทักษะพื้นฐานสำหรับการเรียนฆ้องวงใหญ่เริ่มตั้งแต่การนั่ง วิธีการจับไม้ฆ้อง และลักษณะการตีฆ้อง ขั้นตอนการฝึกทักษะการตีฆ้องวงใหญ่เบื้องต้นเริ่มจากแบบฝึกทักษะการตีฉากคู่ 4 คู่ 8 การตีไล่เสียง ทีละมือ ขึ้น - ลง การตีไล่เสียงคู่ 8 แบบเรียงเสียง ขึ้น - ลง การตีไล่เสียงสลับมือขึ้น - ลง เป็นคู่ 8 การตีไล่เสียง 3 เสียง ขึ้น - ลง การตีไล่เสียง 4 เสียง ขึ้น - ลง แบบเรียงเสียง การตีไล่เสียง 4 เสียง ขึ้น - ลง แบบข้ามเสียง การตีแบ่งมือคู่ 8 แบบเรียงเสียง ขึ้น - ลง การตีกรอ การตีสะบัดมือขึ้น - ลง การตีผสมมือบรรเลงเป็นเพลงโดยใช้เพลงเหาะซึ่งเป็นเพลงที่เหมาะสำหรับผู้เริ่มเรียน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องฝึกทักษะดังกล่าวให้สามารถจดจำลักษณะการตีจนเกิดความชำนาญและการสร้างกำลังแขน เพื่อสามารถนำทักษะพื้นฐานดังกล่าวไปประยุกต์ พัฒนา และต่อยอดความรู้ทางด้านการบรรเลงดนตรีไทยในระดับขั้นสูงต่อไป

Article Details

How to Cite
ฟักทอง น. (2024). การฝึกทักษะฆ้องวงใหญ่เบื้องต้น . วิพิธพัฒนศิลป์, 4(2), 84–98. https://doi.org/10.14456/wipit.2024.14
บท
บทความวิชาการ

References

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี และ ธนวัฒน์ บุตรทองทิม. (2550). อักษรดุริยางค์ทางฆ้องวงใหญ่: ฉบับเพลงไม้นวม. โอเดียนสโตร์.

เฉลิมศักดิ์ พิกุลศรี. (2538). ฆ้องวง: ศิลปะและหลักการบรรเลงฆ้องวงใหญ่. ศูนย์วัฒนธรรมอีสาน มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2510). เครื่องดนตรีไทย. ศิวพร.

ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2557). การศึกษาเพื่อสร้างชุดการสอนคีย์บอร์ดเบื้องต้นโดยใช้วิธีการของ โคดาย. วารสารสถาบันวัฒนธรรมและศิลปะ. 16(1), 68 - 79. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jica/article/view/30526/27115

มานพ วิสุทธิแพทย์. (2535). เอกสารประกอบการสอน วิชาดุริย 336 (ฆ้องวง). ภาควิชาดุริยางคศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2545). สารานุกรมศัพท์ดนตรีไทย ภาคคีตะ-ดุริยางค์ (พิมพ์ครั้งที่ 2). สหมิตรพริ้นติ้ง.

วีระภัทร์ ชาตินุช. (2560). การพัฒนาโสตทักษะวิชาดนตรีสากลโดยใช้ชุดกิจกรรมตามแนวคิดของธอร์นไดค์ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. [วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์].