วัตถุประสงค์ (Aims)

1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ หรือผลงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม และการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม

2. เพื่อเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนความรู้ และสร้างเครือข่ายทางวิชาการ งานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรม

3. เพื่อเป็นแหล่งข้อมูลสำหรับบริการวิชาการ และงานวิจัยด้านศิลปวัฒนธรรมระดับชาติ และนานาชาติ

4. เพื่อเป็นการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์สถาบันบัณฑิตพัฒนศิลป์

ขอบเขตด้านเนื้อหา (Scopes)    

1. ศิลปวัฒนธรรมด้านนาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ มนุษยวิทยา

2. ศึกษาศาสตร์ อาทิ การจัดการเรียนรู้ การสอน การวัดและการประเมินผลทางการศึกษาด้านศิลปวัฒนธรรม

3. การบูรณาการศิลปวัฒนธรรมข้ามศาสตร์ 

ประเภทบทความที่เผยแพร่

ผู้เขียนต้องระบุประเภทของบทความว่าเป็นบทความประเภทใด โดยบทความที่เผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์มีขอบเขตประเภท ดังนี้

1. บทความวิจัย บทความวิชาการ หรือบทความงานสร้างสรรค์ ที่นำเสนอแนวคิดองค์ความรู้ แนวคิด ทฤษฎี วิธีการ การวิจัย หรือกระบวนการอันเกี่ยวข้องกับสาขาวิชาด้านศิลปะ นาฏศิลป์ ดุริยางคศิลป์ ทัศนศิลป์ และการศึกษาที่เกี่ยวข้องกับสาขาศิลปะ

2. บทความวิจารณ์หนังสือ หรือบทความปริทัศน์ ที่เกี่ยวข้องกับสาขาวิชาที่ปรากฏในข้อ 1. ทั้งนี้บทความที่ส่งมาตีพิมพ์ต้องไม่เคยเผยแพร่ในวารสารหรือสิ่งพิมพ์ใดมาก่อน
และไม่อยู่ระหว่างการพิจารณาของวารสารหรือสิ่งพิมพ์อื่น ๆ

เกณฑ์การพิจารณากลั่นกรองบทความ

1. การตอบรับ หรือปฏิเสธบทความ กองบรรณาธิการฯ จะเป็นผู้พิจารณาคุณภาพบทความขั้นต้นจากแบบตรวจสอบรายการเอกสารประกอบการเสนอส่งบทความต้นฉบับ ที่ผู้เขียนได้แนบมาพร้อมหลักฐานต่าง ๆ โดยกองบรรณาธิการจะแจ้งผลการพิจารณาตอบรับ หรือปฏิเสธบทความให้ภายใน 60 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับบทความ หากบทความมีรูปแบบ หรือองค์ประกอบไม่ตรงตามหลักเกณฑ์การจัดทำต้นฉบับบทความที่วารสารกำหนด ฝ่ายประสานงานของวารสารจะส่งต้นฉบับบทความให้ปรับปรุงแก้ไขใหม่ภายใน 15 - 20 วัน โดยฝ่ายประสานงานจะทำหน้าที่ประสานงานกับผู้ส่งบทความในทุกขั้นตอน

2. การประเมินบทความ บทความต้นฉบับที่ผ่านการตรวจสอบปรับแก้ให้ตรงตามรูปแบบวารสาร (การอ้างอิงบรรณานุกรมและอื่นๆ) อีกทั้งเป็นงานเขียนเชิงวิชาการ ที่มีความสมบูรณ์และความเหมาะสมของเนื้อหา เมื่อผ่านการพิจารณาจากกองบรรณาธิการแล้ว ฝ่ายประสานงานจะเสนอให้ผู้ทรงคุณวุฒิประเมินพิจารณาบทความ (Peer Review) จำนวน 3 ท่านต่อบทความ ซึ่งกองบรรณาธิการจะเป็นผู้เลือกผู้พิจารณาบทความที่มีองค์ความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือมีประสบการณ์การตรงตามสาขาที่เกี่ยวข้อง ซึ่งไม่มีส่วนได้ส่วนเสียกับผู้เขียน ให้เป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในการเผยแพร่บทความ โดยเก็บข้อมูลเป็นความลับ และไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุล รวมถึงหน่วยงานที่สังกัดของผู้เขียน และผู้ทรงคุณวุฒิ จนกว่าต้นฉบับบทความจะได้รับการเผยแพร่ โดยใช้เวลาพิจารณาแต่ละบทความประมาณ 30 วัน

3. ผลการประเมินบทความ บทความที่ได้ผ่านการพิจารณาจากผู้ทรงคุณวุฒิ โดยมีความเห็นสมควรให้ตีพิมพ์จะได้รับการบันทึกสถานะและเก็บรวบรวมต้นฉบับที่สมบูรณ์เพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ ซึ่งบทความทุกบทความจะต้องผ่านการพิจารณาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ (Peer-Review) จำนวน 3 ท่าน ตามเกณฑ์ที่กำหนดในลักษณะปกปิดข้อมูลทั้งสองฝ่าย (Double-blind peer review) โดยผู้เขียนต้องปรับแก้บทความตามข้อคิดเห็นหรือข้อเสนอแนะของทั้งผู้ทรงคุณวุฒิและกองบรรณาธิการ จนกว่าบทความเสร็จสมบูรณ์ ทางกองบรรณาธิการจึงจะดำเนินการออกใบตอบรับการตีพิมพ์และนำบทความเข้าสู่กระบวนการตีพิมพ์วารสาร

4. การแจ้งผลการประเมินบทความ ฝ่ายประสานงานของวารสารจะส่งผลการประเมินจากผู้ทรงคุณวุฒิทุกท่าน ให้ผู้ส่งบทความทราบภายใน 7 วัน นับตั้งแต่วันที่ได้รับผลการประเมิน
จากผู้ประเมินท่านสุดท้าย หากมีข้อเสนอแนะหรือข้อแก้ไขปรับปรุงจากผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ผู้เขียนแก้ไขปรับปรุงและนำส่งต้นฉบับบทความให้ฝ่ายประสานงานของวารสารภายใน 30 วัน นับตั้งแต่วันที่ฝ่ายประสานงานแจ้งผลการพิจารณาให้ทราบ หากผู้เขียนไม่เห็นด้วยกับข้อเสนอแนะ หรือข้อแก้ไขปรับปรุงของผู้ทรงคุณวุฒิ ให้ทำหนังสือเป็นลายลักษณ์อักษรชี้แจงรายละเอียดให้กองบรรณาธิการพิจารณา