การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ

Main Article Content

ฐิตา ครุฑชื่น

บทคัดย่อ

        ผลงานชุด “การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ” มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์ผลงานจิตรกรรมด้วยเทคนิคสีน้ำบนกระดาษ เพื่อถ่ายทอดความงามของพืชพรรณตามลักษณะที่เป็นจริงตามธรรมชาติ เลือกพืชดอกที่มีสีอยู่ในโทนอุ่นได้แก่ สีเหลือง สีส้ม สีแดง และเป็นพืชใกล้ตัวที่สามารถพบเห็นได้จริงเพื่อสามารถสังเกตลักษณะได้โดยตรง สร้างสรรค์โดยใช้ทักษะทางด้านจิตรกรรมและหลักวิธีการทางการวาดภาพพฤกษศาสตร์ ซึ่งมีกระบวนการสังเกตลักษณะของพืชโดยสังเกตจากพืชของจริงอย่างละเอียด และศึกษา ค้นคว้าข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับพืชที่จะวาดก่อน เพื่อแสดงถึงลักษณะทางกายภาพที่ถูกต้องของพืช ผลของการสร้างสรรค์ได้ผลงานที่เป็นการบูรณาการศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้าด้วยกันทั้งหมด 3 ชิ้น ซึ่งเป็นผลงานที่มีคุณค่าด้านความงามในทางศิลปะ ทั้งทางด้านองค์ประกอบที่เป็นความจริงตามธรรมชาติและองค์ประกอบทางศิลปะที่ผู้สร้างสรรค์ปรับให้มีความลงตัวมากขึ้น โดยการจัดระเบียบให้รูปทรงที่ยุ่งเหยิงในธรรมชาติให้เกิดเอกภาพในผลงาน เพื่อให้เห็นถึงความงามตามธรรมชาติที่มีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละช่วงเวลาของพืช รวมถึงคุณค่าด้านเนื้อหาข้อมูลความรู้ด้านพฤกษศาสตร์ สามารถนำภาพผลงานไปใช้อ้างอิงข้อมูลทางในการศึกษาด้านพฤกษศาสตร์ได้ และผลที่เกิดกับผู้สร้างสรรค์คือในระหว่างการสร้างสรรค์ผลงานได้มีการสังเกตและพินิจพิจารณาในลักษณะของพืชพรรณอย่างละเอียด จึงทำให้เกิดความตระหนักและเห็นคุณค่าของความงามในรายละเอียดจากธรรมชาติใกล้ตัว

Article Details

How to Cite
ครุฑชื่น ฐ. (2024). การถ่ายทอดความงามของพืชพรรณผ่านจิตรกรรมสีน้ำ . วิพิธพัฒนศิลป์, 4(2), 115–131. https://doi.org/10.14456/wipit.2024.16
บท
บทความงานสร้างสรรค์

References

ชะลูด นิ่มเสมอ. (2553). องค์ประกอบของศิลปะ (พิมพ์ครั้งที่ 7). อมรินทร์.

ณรงค์ศักดิ์ สุกแก้วมณี. (2558). ภาพวาดพฤกษศาสตร์กล้วยป่าในประเทศไทย ในมิติทางศิลปะ. สำนักคณะกรรมการการอุดมศึกษา.

พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก. (2561). พันธุ์ศักดิ์ จักกะพาก บนเส้นทางที่คดเคี้ยวกว่าจะมาเป็นพฤกษศิลปินสีน้ำชั้นแนวหน้าของโลก. BOT Magazine. 1(6), 52-55.

ไพรวัลย์ ดาเกลี้ยง. (2558). DEL Gallery of Modern Art. Facebook. https://www.facebook.com/ardelgallery

ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. (2564). สานพฤกษพรรณผ่านงานพฤกษศิลป์ ครั้งที่ 6 Botanical Art Thailand 2024. https://plantscience.sc.mahidol.ac.th/?p=11218

ลลิตา โรจนกร. (2548). ศิลปะการวาดภาพพฤกษศาสตร์. โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช.

ศศิวิมล แสวงผล. (2549). เรียนวาดเพื่อเรียนรู้. ภาควิชาพฤกษศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศันสนีย์ ดีกระจ่าง. (2562, 16 มิถุนายน). นักวาดภาพพฤกษศาสตร์ ตื่นพร้อมแสงเช้า ทุ่มเทและเฝ้ารอจนถึงวันที่ความพยายามผลิดอกออกผล. Aday Buleltin. https://adaybulletin. com/talk-guest-geek-05-botanical-artist-sansanee-deekrajang/34685

ศูนย์ปฏิบัติการวิจัยและเรือนปลูกพืชทดลอง. (2564). ไม้ดอกไม้ประดับ. http://clgc.agri.kps.ku.ac.th/resources/ornament/hibiscus.html

อนุรักษ์ อินต๊ะวงศ์. (2562). ยุคทองของศิลปะภาพวาดทางพฤกษศาสตร์. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 12(3), 1193-1209. https://he02.tci-thaijo.org/index.php/ Veridian-E-Journal/article/view/173474/149399

Juan Luis Castillo. (2017, May 26). Works by Juan Luis Castillo in the collection. https://shirleysherwood.com/~926

Rachel Ruysch. (2022, July 19). Vanitas: a modern reflection on death and its depiction in art. https://finearts-music.unimelb.edu.au/research/vanitas-a-modern-reflection-on-death-and-its-depiction-in-art

Vivienne Rew. (2017, October 27). Plant life: botanical illustration. https://www.jacksonsart.com/blog/2017/10/27/winners-announced-plant-life-botanical-illustration/