นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาศิลปนิพนธ์โดยนักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาศิลปะการแสดง (นาฎศิลป์ไทย) คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์และออกแบบการแสดงนาฏศิลป์ ซึ่งอยู่ในรูปแบบของงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แนวความคิดและทฤษฎีนาฏยประดิษฐ์ร่วมกับการปฏิบัติการ นำข้อมูลทั้งหมดมาวิเคราะห์ แล้วนำมาสร้างสรรค์การแสดงนาฏศิลป์ตามลำดับ
ผลการวิจัยพบว่า ในประวัติศาสตร์ของอาณาจักรปาตานีมีกษัตรีย์ผู้มีพระปรีชาสามารถปกครองแผ่นดิน 3 พระองค์ ได้แก่ รายาฮิเยา รายาบีรู และรายาอูงู แต่ละพระองค์มีอัตลักษณ์โดดเด่น และสามารถปกครองอาณาจักรปาตานีให้มีความเจริญรุ่งเรืองที่สุดในยุคลังกาสุกะ จากข้อความดังกล่าวนำมาสู่การสร้างสรรค์นาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี ซึ่งประกอบไปด้วย 7 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) แนวความคิด 2) นักแสดง 3) การประพันธ์บทร้องและการบรรจุเพลง 4) การออกแบบกระบวนท่ารำ 5) การออกแบบเครื่องแต่งกาย 6)การออกแบบการใช้พื้นที่เวทีการแสดง 7) อุปกรณ์ประกอบการแสดงและการจัดวางตำแหน่งบนเวที ความน่าสนใจประการหนึ่งของการแสดงชุดนี้คือการใช้ท่าทางและดนตรีมะโย่งซึ่งเป็นการรำในราชสำนักปาตานีผสมผสานกับอัตลักษณ์การแสดงพื้นบ้านภาคใต้ตอนล่าง นำเสนอในรูปแบบนาฏศิลป์สร้างสรรค์พื้นเมืองภาคใต้ จากการวิจัยเชิงสร้างสรรค์นี้ได้นำมาซึ่งนาฏยประดิษฐ์ ชุด ตีฆารายาปาตานี อันจะเป็นการแสดงชุดหนึ่งที่เป็นประโยชน์ทางการศึกษาโดยเฉพาะการสร้างสรรค์งานนาฏกรรมจากเกียรติภูมิของบรรพบุรุษ ส่งเสริมให้เยาวชนในท้องถิ่นเกิดความตระหนักรู้และเห็นความสำคัญของประวัติความเป็นมาของกลุ่มคนในถิ่นฐาน วีถีชีวิตที่แสดงออกมาในรูปแบบที่แตกต่าง ความเชื่อ ความเป็นอยู่ การแต่งกาย ศิลปวัฒนธรรมประจำถิ่น อันเป็นมรดกล้ำค่าที่กำลังจะสูญหายไปจากความทรงจำให้อยู่ในรูปแบบที่เหมาะสมต่อไป
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลที่ได้รับการเผยแพร่ในวารสารวิพิธพัฒนศิลป์ ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้แต่งเท่านั้น โดยกองบรรณาธิการวารสารไม่มีส่วนรับผิดชอบต่อเนื้อหาหรือข้อคิดเห็นใด ๆ ที่ปรากฏในบทความ
References
จิระเดช นุกูลโรจน์. (2562). “กระบวนการสร้างสรรค์ระบำพื้นบ้านมลายูภาคใต้ คณะอัสลีมาลา”. Trends of Humanities and Social Sciences Research, 7(2), 156-179.
จุฑารัตน์ ปานผดุง. (2563, 21 กันยายน). กษัตริยาแห่งปัตตานี. PATTANIHERITAGECITY. https://shorturl.asia/rSpDN
ชาดา นนทวัฒน์. (2557). สี่กษัตริยาแห่งปาตานี อานาจ การเมือง การค้า และโจรสลัดบนแผ่นดินใต้สายลม. ยิปซี.
ณัฏฐนันท์ จันนินวงศ์ และ ผุสดี หลิมสกุล. (2557). “การออกแบบลีลานาฏศิลป์ไทยของอาจารย์สุวรรณี ชลานุเคราะห์ ศิลปินแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2533” วารสารศิลปกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 1(1), 32 - 39.
ดัชนีย์ ทองแกมแก้ว และ ทัศนียา คัญทะชา. (2555). “ตารีลีเล็ง: ระบำเทียนระบำพื้นบ้านไทยมุสลิมภาคใต้ ผลงานสร้างสรรค์จากจินตนาการของศิลปินพื้นบ้าน: เซ็ง อาบู”. RUSAMILAE JOURNAL, 33(3), 19–32.
ประพนธ์ เรืองณรงค์. (2563, 26 ตุลาคม). มะโย่ง. CLIB.PSU. https://clib.psu.ac.th/southerninfo/content/2/9e22cecf
มนัญชยา เพชรูจี. (2564). นาฏยประดิษฐ์ ชุด มัทรีทรงเครื่อง. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 10(2), 1 - 16.
วลัยลักษณ์ ทรงศิริ. (2559, 3 มิถุนายน). “ ปาตานี ” นครแห่งความทรงจำ. LEK-PRAPAI. https://lek-prapai.org/home/view.php?id=195.
อับดุลรากิ๊บ บินนิฮัสซัน. (2551). ปัตตานีกับโลกมลายู และตำนานปาตานี. มูลนิธิโตโยต้าประเทศไทย,มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์.
Dijkstra, Katinka; Zwaan, Rolf A. (2014). “Memory and action”. Routledge Handbook of Embodied Cognition. pp. 314–323.
Wilson, M. (2002). Six views of embodied cognition. Psychonomic Bulletin & Review 9, 625–636. https://doi.org/10.3758/BF03196322.