การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวชุมชน โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน : กรณีศึกษาพื้นที่ ต. นกออก อ. ปักธงชัย จ. นครราชสีมา
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มุ่งศึกษาและออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ที่เข้าถึงกลุ่มตัวอย่างจากการมีส่วนร่วมของชุมชนสู่นักท่องเที่ยว
มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์ส่งเสริมการท่องเที่ยวโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน 2) เพื่อประเมินความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อสื่อประชาสัมพันธ์ โดยมีขั้นตอนดังนี้ 1) การสำรวจข้อมูลชุมชน 2) การศึกษาความต้องการของชุมชน 3) การออกแบบแผนที่ท่องเที่ยวและสื่อดิจิทัล 4) การประเมินความพึงพอใจนักท่องเที่ยว การมีส่วนร่วมจากชุมชนโดยรอบพื้นที่ ต.นกออก ทำให้ได้สื่อประชาสัมพันธ์คือแผนที่ท่องเที่ยวและสื่อดิจิทัล นำเสนอข้อมูลเส้นทางท่องเที่ยว ทั้งนี้ผู้นำชุมชนและตัวแทนจากชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมโดย 1) บุคคล 2) เนื้อหา 3) กระบวนการ มีวิธีการดำเนินงานเก็บข้อมูลใช้การสัมภาษณ์ การมีส่วนร่วมจากการสนทนากลุ่ม ลงพื้นที่ภาคสนามในชุมชนพื้นที่ ต. นกออก อ. ปักธงชัยจ. นครราชสีมา เป็นการนำเสนอผลงานการออกแบบแผนที่ท่องเที่ยว และสื่อดิจิทัลให้ชุมชนพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหา รูปภาพ และให้ข้อเสนอแนะ ปรับปรุงสื่อประชาสัมพันธ์ให้สมบูรณ์ และประเมินความพึงพอใจกับกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 370 คน การสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน พบว่า ความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด มีคะแนนเฉลี่ยเท่ากับ 4.63
มีส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.56 แสดงว่าการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์แผนที่ท่องเที่ยวและสื่อดิจิทัลส่งเสริมการท่องเที่ยวของแหล่งชุมชนตำบลนกออก เป็นการใช้งานระหว่างงานพิมพ์ที่เลือกใช้วัสดุกระดาษและสื่อดิจิทัลควบคู่กันไป สื่อดิจิทัลมีการเผยแพร่
ในรูปแบบออนไลน์ ใช้งานผ่านสมาร์ตโฟนส่วนตัว สอดคล้องกับเทคโนโลยีและรองรับพฤติกรรมของผู้อ่านที่เปลี่ยนแปลงไป สื่อดิจิทัลตอบสนองพฤติกรรมของผู้อ่านซึ่งชื่นชอบความสะดวก และไม่คุ้นเคยกับการต้องรอนาน เข้าถึงเนื้อหาได้ทุกที่ ทุกเวลา จึงใช้งานได้เป็นอย่างดี
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2567, 25 กรกฎาคม). รายงานประจำปีท่องเที่ยวไทย. ททท. (tat). https://www.tat.or.th/th/about-tat/annual-report
ข้อมูลพื้นฐานตำบลนกออก. (2566, 20 ตุลาคม). เทศบาลตำบลนกออก อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา. (nokaoklocal). https://www.nokaoklocal.go.th/ข้อมูลพื้นฐาน/
คณะผู้จัดทำบริษัท โกลบเทค จำกัด. (2556). แผนที่ทางหลวงเพื่อการเดินทางและการท่องเที่ยว. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ชลธิดา เกษเพชร. (2565). การออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว ชุมชนแม่แจ๋ม จังหวัดลำปาง. ดีไซน์เอคโควารสารวิชาการด้านการออกแบบ, 3(2), 22-30.
ณกฤช รัตนวงศา, สุวรรณรัตน์ พุทธอุปถัมภ์ และ เพียงฤทัย หนูสวัสดิ์. (2563). แผนที่ท่องเที่ยวแบบความจริงเสมือน กรณีศึกษา อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วารสารสาระคาม, 11(1), 33-44.
ณัฏฐ์ชุดา วิจิตรจามรี. (2559). หลักการประชาสัมพันธ์. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
ทักษิณา ชัยอิทธิพรวงศ์. (2560). การออกแบบและผลิตนิตสาร จากสื่อสิ่งพิมพ์สู่สื่อดิจิทัล. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
บัวผิน โตทรัพย์, พวงเพ็ญ ชูรินทร์, จิตติมา จ้อยเจือ และ อโศก ศรีสวัสดิ์. (2562). การศึกษาการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวผ่านสื่อสังคม ออนไลน์ : กรณีศึกษาชุมชนพุมเรียง อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารนิเทศศาสตร์ธุรกิจบัณฑิตย์, 13(2), 190-192.
รายงานข้อมูลตำบลนกออก. (2566, 23 ตุลาคม). จำนวนประชากรทั้งหมด. [ เขต 9 ] -> [ จังหวัด นครราชสีมา ] -> [อำเภอ ปักธงชัย ] -> [ตำบล นกออก ]. https://3doctor.hss.moph.go.th/main/rp_village?region=9&prov=MzA=&provn=4LiZ4LiE4Lij4Lij4Liy4LiK4Liq4Li14Lih4Liy&id=3014&n=4Lib4Lix4LiB4LiY4LiH4LiK4Lix4Lii&tamid=301406&tamname=4LiZ4LiB4Lit4Lit4LiB
รุ่งรวี จิตภักดี. (2566). นวัตกรรมการท่องเที่ยวโดยชุมชน. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
วิโรจน์ ศรีหิรัญ. (2565). การใช้สื่อประชาสัมพันธ์ดิจิทัลในยุคการหลอมรวมสื่อเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดสมุทรสงคราม. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 7(2), 121-131.
วิลาวัณย์ ชมนิรัตน์. (2564). การมีส่วนร่วมของชุมชน : จากแนวคิดสู่การพัฒนาสุขภาพชุมชน. ขอนแก่น: คลังนาวิทยา.
ศรัณย์ บุญประเสริฐ และ ยอด เนตรสุวรรณ. (2563, 2 มีนาคม). ท่องเที่ยวชุมชน บนเส้นทางเรียนรู้. กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (DEPARTMENT OF CULTURE PROMOTION). https://www.culture.go.th/culture_th/ewt_news.php?nid=4812&filename=index
ศิริพร น้อยอําคา และ อรทัย สุทธิจักษ์. (2564). สื่อสิ่งพิมพ์เพื่อการประชาสัมพันธ์แบบมีปฏิสัมพันธ์ด้วยเทคนิค QR Code บนสมาร์ทโฟน แอนดอรย์. วารสารวิชาการ ศิลปะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร, 12(1)
สกนธ์ ภู่งามดี. (2546). การออกแบบและผลิตงานโฆษณา. กรุงเทพฯ: แชทโฟร์พริ้นท์ติ้ง จำกัด.
สมาคมการพิมพ์ไทย. (2566, 12 ธันวาคม). แนวทางการพัฒนาสิ่งพิมพ์ออนไลน์ในยุคดิจิทัล. สมาคมการพิมพ์ไทย. (The Thai Printing Association). https://www.thaiprint.org/2022/04/vol135/industrial135-03/
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2567, 25 กรกฎาคม). คู่มือแนวทางการปฏิบัติตามมาตรฐานการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน. อพท. (STMS). https://www.dasta.or.th/th/article/3122
อรุณรัตน์ ชินวรณ์. (2553). สื่อประชาสัมพันธ์= PUBLIC RELATIONS MEDIA. กรุงเทพฯ: วี.พริ้นท์.