การส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้สุขภาวะผ่านการออกแบบพื้นที่ สวนสมุนไพรโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบึงยี่โถ (หมู่บ้านฟ้ารังสิต)
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อออกแบบพื้นที่สวนสมุนไพรของโรงเรียนอนุบาลเทศบาลบึงยี่โถ (หมู่บ้านฟ้ารังสิต) ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้สุขภาวะ (สมุนไพร) เทศบาลบึงยี่โถ วิธีการดำเนินวิจัยใช้วิธีทางคุณภาพประกอบไปด้วยการสำรวจสมุนไพรในเทศบาลเมืองบึงยี่โถในการนำไปเป็นฐานข้อมูลประกอบการออกแบบสวนสมุนไพรร่วมกับทางโรงเรียนและหน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสัมภาษณ์และสังเกตผลที่ได้รับ ผลการศึกษาการออกแบบสวนสมุนไพรพบว่าสวนสมุนไพรนั้นต้องส่งเสริมจินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาการของเด็กปฐมวัย เป็นฐานการเรียนรู้นอกห้องเรียน โดยมีการดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้สวนสมุนไพรบนฐานวิทยาศาสตร์ผ่าน 3 ทักษะการเรียนรู้ ได้แก่ 1.ฐาน ”สัมผัสฉันสมุนไพรอะไรกัน” 2.ฐาน “ดม ให้รู้ ฉันคืออะไร” และ 3.ฐาน “สีสัน ชวนชิม ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการปลูกฝังการเรียนรู้ให้กับกลุ่มเด็กปฐมวัยตั้งแต่เยาว์วัยในการสร้างภูมิความรู้ด้านสุขภาวะที่ดีจากฐานการเรียนรู้สมุนไพรภายในโรงเรียนและสู่การเป็นเครือข่ายเสริมสร้างความรู้เกี่ยวกับสมุนไพรในท้องถิ่นให้เป็นไปตามแผนงานและสู่เป้าหมายในการส่งเสริมเมืองแห่งการเรียนรู้สุขภาวะ (สมุนไพร) เทศบาลเมืองบึงยี่โถในระยะต่อไป
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560 สำหรับเด็กอายุต่ำกว่า 3–5 ปี. https://bit.ly/3DFErBL
กองการแพทย์ทางเลือก. (2561). คู่มือการใช้สมุนไพรในโรงเรียน. https://bit.ly/3FufSrX
กุสุมาลี โพธิปัสสา. (2562). การส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัยโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น. วารสารโรงพยาบาลสกลนคร, 22(3), 115–128.
ธนภูมิ วงษ์บำหรุ, วรากร สงวนทรัพย์, ปริญญา มรรคสิริสุข และ วิกันดา สีคง. (2565). การออกแบบพื้นที่การเรียนรู้คลองรังสิตประยูรศักดิ์ผ่านการกระบวนคิดเชิงออกแบบ. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 35(2), 144–163.
มานิตา ลีโทชวลิต อรรถนุพรรณ. (2561). ปลูกและเติบโต: การทำงานสวนสำหรับเด็กปฐมวัย. วารสารมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ มหาวิทยาลัยศิลปากร, 11(3), 177–191.
ศิริวรรณ อุบลเลิศ และ ณัฏฐ พิชกรรม. (2557). การศึกษาองค์ประกอบพื้นฐานสำหรับการออกแบบสวนสมุนไพรอย่างครบวงจร.
ใน การประชุมวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์และวิศวกรรมศาสตร์ (น. 340–347). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศิริวิมล ศรีมีทรัพย์. (2563). แนวทางการออกแบบสวนเพื่อกิจกรรมพืชสวนบำบัดสำหรับเด็กและเยาวชนในสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน จ.ปทุมธานี. วารสารศิลปศาสตร์และอุตสาหกรรมบริการ, 3(2), 55–64.
ศรีวิภา ขวัญช่วย, มาลี แก้วสุขศรี, ชมรรัตน์ พะยุหะ, นรีรัตน์ ศรีสวัสดิ์, อรอนงค์ พันธ์ทวี, ปะภัสสร พะยุหะ, สุนิสา หลักชุม, พุธตาล รสเจริญ, พิมพ์ชนก บุญสนอง, สวรรยา ชูนิ่ม, นุชนาฎ ไกรนรา, ศุภลักษณ์ สุวรรณมณี, จาริยา ทิพย์ธรรม, เสาวรักษ์ วรดิษฐ์, ศิราภรณ์ สุวรรณปักขิน, รัชนก สุขศรีนวน, พัสตราภรณ์ ไพเราะ, อรอนงค์ แก้วสวัสดิ์ และ ปิยาวัลย์ บางโรย (2556). โครงการศึกษาองค์ความรู้ในการฟื้นฟูเรื่องสมุนไพรและการแพทย์แผนไทยอย่างมีส่วนร่วมโดยกลุ่มเยาวชนรักสุขภาพ โรงเรียนเวียงสระ อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี: รายงานฉบับสมบูรณ์. สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม. https://elibrary.tsri.or.th/fullP/PDG52S0010/PDG52S0010_s01.pdf
ศูนย์สร้างเสริมสุขภาวะเมือง. (2563). Healthy space next door สุขภาพดีมีได้ข้างบ้าน: คู่มือแนะนำการสร้างพื้นที่สุขภาวะในชุมชน. https://www.thaihealth.or.th/?p=194236
สรประเวศ กระจ่างคันถมาตร์. (2566). ทัศนคติของประชาชนที่มีต่อคุณลักษณะของเมืองแห่งการเรียนรู้ในบริบทกรุงเทพมหานคร. วารสารสหศาสตร์, 23(1), 156–177.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ. (2567, 18 กันยายน). Universal design garden: สวนสำหรับทุกคน. https://section09.thaihealth.or.th/?p=152909
สิริมณี บรรจง. (2566, 6 เมษายน). ทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของเด็กปฐมวัย. https://eledu.ssru.ac.th/sirimanee_ba/pluginfile.php/71/course/section/67/14-ทักษะวิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย.pdf
อรุณี หรดาล. (2562). ภูมิปัญญาท้องถิ่นกับการพัฒนาเด็กปฐมวัย. สักทอง: วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 25(2), 1–11.
Adhikary, P., Gajurel, T., Kashung, S., & Yakang, T. (2023). Promotion of traditional knowledge systems of herbal medicines among school students through development of herbal gardens in school premises. International Journal of Herbal Medicine, 11(3). https://doi.org/10.22271/flora.2023.v11.i3a.864
Butcher, K., & Pletcher, J. (2017). Gardening with young children helps their development. https://www.canr.msu.edu/news/gardening_with_young_children_helps_their_development
UNESCO Institute for Lifelong Learning. (2015, 27 October). UNESCO global network of learning cities: Guiding documents. Hamburg: UNESCO Institute for Lifelong Learning. https://unesdoc.unesco.org/ark:/48223/pf0000234986
Van Den Berg, A. E., & Custers, M. H. (2011). Gardening promotes neuroendocrine and affective restoration from stress. Journal of Health Psychology, 16(1), 3–11. https://doi.org/10.1177/1359105310365577