การออกแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนเกาะเกร็ด หมู่ 1 จังหวัดนนทบุรี

Main Article Content

ณัชชา โลหะพิริยกุล
พรชัย โลหะพิริยกุล
รุจ รัตนพาหุ
วีรวรรณ สระทองห้อย
พัลยมล หางนาค
สมชาย ธีรภาพสกุลวงศ์
วราภรณ์ บุตรจันทร์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์คือ การสร้างแนวคิดในการออกแบบเพื่อพัฒนาพื้นที่ท่องเที่ยวให้เป็นพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน และการบูรณาการการเรียนการสอนด้านสถาปัตยกรรม เพื่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้ใหม่ โดยมีขอบเขตพื้นที่ในการศึกษาคือ บริเวณหมู่ 1 ของเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี มีวิธีการดำเนินการแบ่งออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้ 1) ศึกษารวบรวมข้อมูลของพื้นที่และชุมชน วิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้น และสังเคราะห์ภูมิสังคมเพื่อการออกแบบแนวความคิด 2) สรุปแนวคิดและนำเสนอรูปแบบในการออกแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมกับชุมชน การศึกษานี้ได้นำแนวคิดเรื่อง “พื้นที่ทางวัฒนธรรม (Cultural Space)” มาใช้ในการออกแบบปรับปรุงสภาพแวดล้อมทางกายภาพของชุมชนให้รองรับความต้องการด้านการท่องเที่ยว ผลลัพธ์ของงานวิจัยนี้ เพื่อเป็นแนวทางการออกแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรมที่แสดงถึงการเชื่อมโยงระหว่างที่ตั้งทางกายภาพ วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ การพัฒนาควรเน้นการอนุรักษ์เอกลักษณ์ของชุมชนผ่านการมีส่วนร่วมของคนในพื้นที่ซึ่งส่งผลต่อการออกแบบพื้นที่วัฒนธรรมและกิจกรรมของชุมชน รวมถึงการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน 

Downloads

Article Details

How to Cite
โลหะพิริยกุล ณ. ., โลหะพิริยกุล พ. ., รัตนพาหุ ร., สระทองห้อย ว., หางนาค พ. ., ธีรภาพสกุลวงศ์ ส. ., & บุตรจันทร์ ว. . (2025). การออกแบบพื้นที่ทางวัฒนธรรม โดยการมีส่วนร่วมกับชุมชนเกาะเกร็ด หมู่ 1 จังหวัดนนทบุรี. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 7(1), 26–38. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/269832
บท
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยว. (2561). แผนยุทธศาสตร์พัฒนาการท่องเที่ยว พ.ศ.2561-2564 ของกรมการท่องเที่ยว . กรมการท่องเที่ยว. https://www.dot.go.th/storage/กลุ่มแผน/5V7jtvCF7hvNiPXPU7MOdT7giHiF1ZbRokN8nBVx.pdf

กาญจนา แสงลิ้มสุวรรณ และ ศรันยา แสงลิ้มสุวรรณ. (2555). การท่องเที่ยวเชิงมรดกวัฒนธรรมอย่างยั่งยืน. วารสารนักบริหาร, 32(4), 139–146.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2565). สัมผัสเสน่ห์เกาะเกร็ด นนทบุรี. https://www.tourismthailand.org

จิตตินุช วัฒนะ. (2557). การศึกษาเพื่อกำหนดอัตลักษณ์ถนนวัฒนธรรม (ถนนคนเดิน) ของจังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการและสารสนเทศศาสตร์, 7(2), 71–80.

ชมพูนุท คงพุนพิน (2561). การสรรค์สร้างพื้นที่สาธารณะชุมชนเมือง เพื่อส่งเสริมอัตลักษณ์เชิงสังคมอย่างยั่งยืน [ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์]. http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2018/TU_2018_5716300024_10638_11303.pdf

ณัฐกานต์ เพ็งหาพันธ์. (2554). การพัฒนาศักยภาพด้านการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย [วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยขอนแก่น]. http://tourismlibrary.tat.or.th/medias/KKU0069/KKU0069_fulltext.pdf

แดนชัย ไพรสณฑ์. (2557). การอนุรักษ์ภูมิทัศน์วัฒนธรรม กรณีศึกษา: ชุมชนเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการ Veridian, 7(2), 1477–1487.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติด้านการสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. https://www.ilaw.or.th/wp-content/uploads/2018/03/NS_Draftplan05-1.pdf

สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม และ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. (2550). แนวทางการจัดการภูมิทัศน์วัฒนธรรม. กรุงเทพฯ: คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด. (2562). แผนการส่งเสริมการท่องเที่ยวเกาะเกร็ด ประจำปี พ.ศ. 2562 – 2565. องค์การบริหารส่วนตำบลเกาะเกร็ด. https://www.kohkred-sao.go.th/public/list/data/detail/id/75/menu/1196/page/1/catid/67

Creighton, J. L. (2005). The public participation handbook: Making better decisions through citizen involvement. Jossey-Bass.

Jackson, J. B. (1984). Discovering the vernacular landscape. Yale University Press.

Lynch, K. (1981). A theory of good city form. MIT Press.

Smith, L. (2006). Uses of heritage. Routledge.

UNESCO. (2003). Convention for the safeguarding of the intangible cultural heritage. UNESCO. https://ich.unesco.org/doc/src/15164-EN.pdf

UNESCO. (2013). Operational guidelines for the implementation of the World Heritage Convention. UNESCO. https://whc.unesco.org/archive/opguide13-en.pdf