แนวโน้มการวิจัยทางสถาปัตยกรรมระดับบัณฑิตศึกษาในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยภายใต้การจัดทำแผนยุทธศาสตร์ผลิตกำลังคนด้านการศึกษา ออกแบบและวิจัยทางสถาปัตยกรรม ของสภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาทิศทางด้านการวิจัยทางสถาปัตยกรรมผ่านการศึกษาเอกสารงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษาสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยในประเทศไทย จากการศึกษาข้อมูลวิทยานิพนธ์กว่า 3,000 เล่ม พบว่า ในภาพรวมปริมาณงานวิจัยมีความสัมพันธ์กับจำนวนหลักสูตรที่เปิดสอน โดยมีหัวข้อในสาขาสถาปัตยกรรมมากที่สุด รองลงมาคือสาขาสถาปัตยกรรมผังเมือง สาขาสถาปัตยกรรมภายในและมัณฑนศิลป์ และสาขาภูมิสถาปัตยกรรมตามลำดับ หัวข้อวิทยานิพนธ์ที่มีสัดส่วนสูงสุดอยู่ในกลุ่มคำสำคัญที่เกี่ยวข้องกับอสังหาริมทรัพย์ (ร้อยละ 18.58) รองลงมาคือกลุ่มคำสำคัญการออกแบบตอบสนองสภาพแวดล้อม (ร้อยละ 15.72) และสถาปัตยกรรมและการออกแบบ (ร้อยละ 12.90) และกลุ่มคำสำคัญกลุ่มสถาปัตยกรรมไทยและการอนุรักษ์สถาปัตยกรรม (ร้อยละ 11.00) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบกับผลการศึกษาความคิดเห็นระดับความสำคัญของปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนการสอนและการผลิตบัณฑิต ปัจจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ซึ่งเป็นหัวข้อที่มีการทำวิจัยสูงสุดนั้นมีค่าระดับสำคัญน้อยโดยอยู่ลำดับที่ 2 จากท้ายสุด ในขณะที่ปัจจัยด้านทัศนคติและคุณลักษณะของสถาปนิกซึ่งมีค่าระดับความสำคัญสูง แต่หัวข้อวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาคุณลักษณะของสถาปนิก เช่น จรรยาบรรณและการทำงานร่วมกัน ในปัจจุบันยังมีสัดส่วนค่อนข้างน้อย ดังนั้นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะในด้านการศึกษาสถาปัตยกรรม และการปฏิบัติวิชาชีพสถาปัตยกรรมจึงควรได้รับการพิจารณาและสนับสนุนให้มีงานวิจัยมากขึ้น นอกเหนือจากนั้นประเด็นงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบตอบสนองกับสภาพแวดล้อม การนำองค์ความรู้เกี่ยวกับสถาปัตยกรรมไทย สถาปัตยกรรมพื้นถิ่น และการอนุรักษ์สถาปัตยกรรมมาใช้ในบริบทร่วมสมัย รวมถึงการออกแบบเพื่อทุกคนและเทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ ซึ่งเป็นปัจจัยอันเกี่ยวข้องกับการทำงานในปัจจุบันที่ได้รับความสนใจและให้ความสำคัญ ก็ควรได้รับการศึกษาและวิจัยเพิ่มขึ้นด้วย
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ข้อบังคับสภาสถาปนิก ว่าด้วย การรับรองปริญญา อนุปริญญา และประกาศณียบัตร ในการประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรมควบคุม พ.ศ. 2545. (2546, 18 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 120 ตอนพิเศษ 68ง. (หน้า 68-72) https://act.or.th/uploads/legal/15/actcertificate_2545.pdf
ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง การกำหนดชื่อสาขาวิชาสำหรับการเสนอขอกำหนดตำแหน่งวิชาการ และการเทียบเคียงสาขาวิชาที่เคยกำหนดไปแล้ว พ.ศ. 2561. (2561, 15 มิถุนายน). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 138ง.(หน้า 18-19). http://www.basd.mhesi.go.th/Files/Announcement/ประกาศ ก.พ.อ. เรื่อง สาขาวิชา พ.ศ.2561 _web.PDF
สันต์ จันทร์สมศักดิ์, สิริมาส เฮงรัศมี, เพชรลัดดา เพ็ชรภักดี, กรรณิกา สงวนสินธุกุล, ภูดิท เงารังษี, ประรินทร์ บุตรดี, และ ณัฐพงษ์ ไผทฉันท์. (2566). การศึกษาแนวโน้มและทิศทางในการผลิตกำลังคนด้านสถาปัตยกรรม. งบประมาณอุดหนุนการวิจัยภายใต้โครงการยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนด้านการศึกษา ออกแบบและวิจัยทางสถาปัตยกรรม สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย ปีที่ 25.
สภาคณบดีคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์แห่งประเทศไทย. (2561). ร่าง มคอ. 1 มาตรฐานคุณวุฒิระดับสาขาวิชาสถาปัตยกรรมศาสตร์. (เอกสารอัดสำเนา). ม.ป.ท.
Arifin, M. A. (2021). Competence, competency, and competencies: a misunderstanding in theory and practice for future reference. International Journal of Academic Research in Business and Social Science, 11(9), 755-764.
AUN. (2015). Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 3.0. Bangkok: ASEAN University Network.
AUN. (2020). Guide to AUN-QA Assessment at Programme Level Version 4.0. Bangkok: ASEAN University Network.
Bakarman, A. A. (2011). Attitude, skill, and knowledge: (ASK) a new model for design education. Proceedings of the Cannadian Engineering Education Association (CEEA). Retrieved Jan 25, 2022, from https://doi.org/10.24908/pceea.v0i0.3894
Eurspace. (n.d.). Identifying the expected learning outcomes. Retrieved Jan 22, 2022, from https://eurspace.eu/ecvet/pedagogicalkit/framework-for-defining-learning-outcomes-knowledge-skills-competence/