แนวทางการออกแบบเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของแสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติในอาคารจอดแล้วจร
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาคารจอดรถระบบจอดแล้วจรเป็นองค์ประกอบที่ช่วยส่งเสริมให้การเชื่อมต่อการเดินทางด้วยระบบสาธารณะเป็นไปได้สะดวก และเป็นแรงจูงใจให้คนเปลี่ยนพฤติกรรมการเดินทางจากการพึ่งพารถยนต์ส่วนตัวเป็นการใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งเป็นแนวคิดหลักของระบบการคมนาคมที่ยั่งยืน การศึกษาฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอแนวทางการออกแบบอาคารจอดแล้วจรที่มีการใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยสามารถสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศให้กับผู้ใช้งาน ผ่านการวิเคราะห์ลักษณะทางกายภาพของอาคารที่มีใช้ในปัจจุบัน 2 รูปแบบ คือ แบบพื้นเรียบและพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 2 ขนาด คือ 32 เมตรและ 60 เมตร ภายใต้สภาพอากาศของกรุงเทพมหานคร จากผลการจำลองประสิทธิภาพอาคารด้วยโปรแกรม DIALux evo 10.0 และ DesignBuilder v.5.5.2.007 ผลการศึกษาพบว่ารูปแบบอาคาร ความกว้างของอาคาร และขนาดของช่องเปิดเป็นปัจจัยที่ส่งอิทธิพลต่อค่าความส่องสว่างและอัตราการแลกเปลี่ยนอากาศของอาคาร และอาคารกรณีศึกษาที่สามารถใช้แสงธรรมชาติและการระบายอากาศด้วยวิธีธรรมชาติเพื่อสร้างสภาพแวดล้อมภายในอาคารที่มีความปลอดภัยทางการมองเห็นและคุณภาพอากาศตามที่กฎหมายและมาตรฐานกำหนดได้แก่ อาคารจอดรถแบบพื้นเล่นระดับที่มีความกว้าง 32 เมตรและมีความสูงช่องเปิด 1.20-1.40 เมตร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2544. (3 สิงหาคม 2544). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 118 ตอนพิเศษ 75 ง.
เจตน์ ชุนถนอม. (2559). แนวทางการพัฒนาพื้นที่จอดแล้วจรเพื่อรองรับการเดินทาง ด้วยระบบขนส่งมวลชนระบบรางในกรุงเทพมหานคร [วิทยานิพนธ์สถาปัตยกรรมศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ และสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย. (2564). มาตรฐานระบบปรับอากาศและระบายอากาศ. (พิมพ์ครั้งที่ 1). สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร. (2553). โครงการศึกษาปรับแผนแม่บทระบบขนส่งมวลชนทางรางในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (ม.ป.ท.). https://www.otp.go.th/post/view/1657
อรุช สวัสดิ์รณภักดิ์. (2555). การออกแบบไฟส่องสว่างเพื่อความปลอดภัย กรณีศึกษาจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย [วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต ไม่ได้ตีพิมพ์]. จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Bullough, J. D., Rea, M. S., Narendran, N., Freyssinier, J. P., Snyder, J. S., Brons, J. A., Leslie, R. P., & Boyce, P. R. (2019). Integrating research on safety perceptions under parking lot illumination. Commission Internationale de l'Eclairage 29th Session. https://doi.org/10.25039/x46.2019.OP60
Hill, J. D., Shenton, D. C., & Jarrold, A. J. (1989). Multi-storey Car Parks. British Steel General Steels.
Illuminating Engineering Society of North America. (2003). IESNA G-1-03 Guideline for Security Lighting for People, Property, and Public Spaces. IESNA Security Lighting Committee.
Leng, Pau., Ahmad, Mohd., Ossen, Dilshan., & Hamid, Malsiah. (2014). Application of CFD in prediction of indoor building thermal performance as an effective pre-design tool towards sustainability. World Applied Sciences Journal. https://doi.org/10.5829/idosi.wasj.2014.30.icmrp.35
The Institute of Structural Engineers. (2002). Design recommendations for multi-storey and underground car parks (3rd edition). (n.p.).