ความคิดเห็นต่อประโยชน์ที่มีแก่โครงการและผู้ปฏิบัติงานในการปฏิบัติงานล่วงเวลา: กรณีศึกษาโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารชุดพักอาศัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การปฏิบัติงานล่วงเวลาสามารถถูกนำมาใช้กับสถานการณ์ที่โครงการก่อสร้างต้องเร่งรัดการดำเนินงาน โดยแนวทางนี้มักนำมาใช้กับโครงการก่อสร้างอาคารสูงแม้อยู่ในสถานการณ์ปกติซึ่งทำให้เกิดข้อกังขาถึงการนำมาใช้เพื่อแสวงหาประโยชน์ส่วนตนหรือเป็นการเอาเปรียบฝ่ายอื่น การศึกษานี้มุ่งสำรวจทัศนคติของผู้ปฏิบัติงานในโครงการ 2 กลุ่ม (กลุ่มผู้มอบหมายให้มีการปฏิบัติงานล่วงเวลาและกลุ่มผู้ปฏิบัติงานล่วงเวลาตามการมอบหมาย) เพื่อประเมินความคิดเห็นที่มีต่อประโยชน์ที่โครงการและผู้ที่ปฏิบัติงานในโครงการก่อสร้างกลุ่มอาคารชุดพักอาศัยกรณีศึกษาพึงได้รับจากการปฏิบัติงานล่วงเวลา ทั้งเปรียบเทียบความแตกต่างระหว่างความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานแต่ละกลุ่มโดยใช้ค่าสถิติทดสอบ Mann-Whitney U ผลการศึกษาสรุปได้ว่าทุกฝ่ายในโครงการเห็นด้วยตรงกันว่าการกำหนดให้มีการปฏิบัติงานล่วงเวลาสามารถทำให้บริษัทและโครงการได้รับประโยชน์โดยตรงและสามารถบรรลุหมุดหมายทั้งทางการเงินและกำหนดเวลาที่ได้วางไว้ ตลอดจนมิได้มีผลจูงใจให้ผู้ปฏิบัติงานมีการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่จะแสวงหาประโยชน์หรือความได้เปรียบจากการปฏิบัติงานล่วงเวลาจนถึงเป็นการเอารัดเอาเปรียบและสร้างภาระและภาวะการปฏิบัติงานที่ไม่เหมาะสมให้กับตัวผู้ปฏิบัติงานล่วงเวลา
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กระทรวงมหาดไทย (2526). กรมโยธาธิการและผังเมือง. “กฎกระทรวง ฉบับที่ 4 ออกตามความในพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522.”
กระทรวงแรงงาน (2541). กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. “พระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541.”
กระทรวงสาธารณสุข (2564). สำนักอนามัยสิ่งแวดล้อม กรมอนามัย. “มาตรการและแนวปฏิบัติการจัดการสถานที่ก่อสร้างและที่พักชั่วคราวของคนงานก่อสร้าง กรณีการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID 19).
กรุงเทพมหานคร (2564). สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ. “ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง สั่งปิดสถานที่เป็นการชั่วคราว (ฉบับที่ 34).”
ธานินทร์ ศิลป์จารุ (2557). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 15. ห้างหุ้นส่วนสามัญบิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.
พิเชษฐ์ สุขเสกสรรค์ (2566). การวางแผนและกำหนดเวลางานก่อสร้าง. ศูนย์ผลิตตำราเรียนและสิ่งพิมพ์ดิจิทัล มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ.
Bannai, A., & Tamakoshi, A. (2014). The association between long working hours and health: A systematic review of epidemiological evidence. Scandinavian Journal of Work, Environment & Health, 40(1), 5-18, DOI: 10.5271/sjweh.3388.
Cui, J. Y., Li, X. Y., & Xue, Y. (2020). Can overtime behaviour improve employee happiness at work? Journal of Capital University of Economics and Business, (01), 80-91.
Dharmayanti, C., Sudarsana, D. K., & Pradnyawati, P. M. D. (2022). Analysis of the Covid-19 pandemic impact on the performance of construction projects in Denpasar city. International Journal of Civil, Mechanical and Energy Science, 8(4), 11-19, DOI: 10.22161/ijcmes.84.2.
Duan, Z. & Sun, Y. (2022). Overtime work and the impact on job satisfaction [Master Thesis]. Jonkoping University.
Field, A. (2009). Discovering statistics using SPSS (and sex and drugs and rock ‘n’ roll. (3rd Ed.). SAGE Publications.
Khoiry, M. A., Kalaisilven, S., & Abdullah, A. (2018). A review of minimizing delay in construction industries. E3S Web of Conferences 65, 03004, DOI: 10.1051/e3sconf/2018653004.
Mechanical Contractors Association of America, MCAA (2016). Change Orders, Productivity, Overtime: A Primer for the Construction Industry [Bulletin] (pp. 185-206). United States of America.
Nweke, K. I. & Nouban, F. (2022). Effect of Covid-19 pandemic on construction industry management. World Wide Journal of Multidisciplinary Research and Development, 8(04), 25-29, DOI: 10.17605/OSF.IO/ZRGBY.
Webb, C., Gao, L., & Song, L. G. (2015). Schedule compression impact on construction project safety. Frontiers of Engineering Management, 344-350, DOI 10.15302/J-FEM-2015059.