อาร์คคาเฟแอนด์สตูดิโอกับความเป็นสถานที่ที่สาม ในมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
อาร์คคาเฟแอนด์สตูดิโอ เป็นพื้นที่รองรับกิจกรรมและสถานที่ประจำนอกห้องเรียนของนักศึกษาสาขาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรมที่นอกจากบ้านและห้องเรียน ในการศึกษานี้เป็นการสำรวจความสัมพันธ์ของคนกับสถานที่ในมิติสถานที่ที่สาม ซึ่งเป็นกระบวนการด้านจิตวิทยาสภาพแวดล้อมผ่านทฤษฎีสถานที่ที่สาม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงปริมาณ เพื่อสำรวจความเป็นสถานที่ที่สาม กิจกรรม และคุณลักษณะที่นำไปสู่สถานที่ที่สามของอาร์คคาเฟแอนด์สตูดิโอ ผลการศึกษาพบว่า อาร์คคาเฟแอนด์สตูดิโอเป็นสถานที่ที่สาม มีกิจกรรมทั้งการพักผ่อน ทำงาน และพบปะสังสรรค์ โดยมีคุณลักษณะที่สอดคล้องกับความเป็นสถานที่ที่สามของ เรย์ โอเดนเบิร์ก ทั้ง 8 ข้อ นอกจากนั้น ยังพบคุณลักษณะด้านความยืดหยุ่น ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก และด้านความมีอิสระ ที่นำไปสู่ลักษณะเฉพาะในความเป็นสถานที่สุดโปรดของนักศึกษาวิชาเทคโนโลยีสถาปัตยกรรม การศึกษานี้ ได้แสดงความเป็นสถานที่ที่สามสามารถจำกัดความขึ้นใหม่ โดยอาศัยความเข้าใจในพฤติกรรมและความต้องการของผู้ใช้เป็นสิ่งสำคัญ และเป็นแนวทางในการปรับตัวทางพื้นที่ใช้สอยเพื่อรองรับวิถีชีวิตของสังคมยุคใหม่ที่มีส่วนพัฒนาและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของผู้คนในอนาคต
Downloads
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
ณัฐณิชา โอภาสเสรีปาดัง. (2564, 28 พฤษภาคม). Central Perks-เรียนรู้ผ่านมุมมองซีรีส์ดังตลอดกาลอย่าง Friends. Citycracker. https://citycracker.co/intangible-city/central-perks-friends/
น้ำทิพย์ องอาจวาณิชย์. (2559). แนวทางการประเมินทักษะแห่งศตวรรษที่ 21. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 16(2), 1–11.
ประสงค์ พรหมเมตตา. (2563, 22 พฤษภาคม). ทักษะในศตวรรษที่ 21. https://is.gd/gUm5Y1
ปาริฉัตร คำวาส. (2564, 2 กุมภาพันธ์). The 4th Space. https://readthecloud.co/gmw-experience-center/
ปุณณ กาญจนะโภคิน. (2565, 26 มกราคม). Jim Thompson Art Center อาร์ตเซนเตอร์แห่งใหม่ ที่ออกแบบอย่างยั่งยืนและตั้งใจเป็นพื้นที่สาธารณะทางศิลปะที่ผูกมิตรกับผู้คนและเมือง. The Cloud. https://readthecloud.co/jim-thompson-art-center/
พีรดร แก้วลาย และ ทิพย์สุดา จันทร์แจ่มหล้า. (2561). สภาพแวดล้อมเพื่อการเรียนรู้สาธารณะรูปแบบใหม่: การเปลี่ยนกระบวนทัศน์ของการเรียนรู้และผลกระทบที่มีต่อรายละเอียดโครงการ ที่ว่าง และสถาปัตยกรรมศูนย์ความรู้ร่วมสมัย. JARS, 15(2), 135–152. https://doi.org/10.56261/jars.v15i2.167939.
วีซานา อับดุลเลาะ และ วุฒิชัย เนียมเทศ. (2020). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ”. Princess of Naradhiwas University Journal of Humanities and Social Sciences, 227–245.
สมศักดิ์ เอี่ยมคงศรี. (2561). การจัดการห้องเรียนในศตวรรษที่ 21. ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.
Bruxvoort, D. (2017, October 12). Library as third place: A strategic framework. Sconul. https://www.sconul.ac.uk/SCONULDownloadController/Download?iType=1&iID=351&cGUID=ce9370bb-7976-460d-a899-89983c52a72f&cTempLocation=
Das, D. (2008). Urban quality of life: A case study of Guwahati. Social Indicators Research, 88(2), 297–310.
Degroot, D. (2020, February 2). Creating third place spaces at church. https://info.aspengroup.com/hs-fs/hub/288364/file-1210704834-pdf/Downloadable_Resources/Creating_Third_Spaces__Aspen_Group.pdf?hsCtaTracking=556b3c9b-23af-4a65-a2b8-d8792f2b9ec3%7C62f7e8cc-2047-4931-8b26-449a0836344f
Glover, T. D., & Parry, D. C. (2009). A third place in the everyday lives of people living with cancer: Functions of Gilda’s Club of Greater Toronto. Health and Place, 15(1), 97–106.
Huyser, J., & Fridsma, S. (2006, February 2). Steve Fridsma on the Church as a Third Place. https://worship.calvin.edu/resources/articles/steve-fridsma-church-third-place
Jeffres, L. W., Bracken, C. C., Jian, G., & Casey, M. F. (2009). The impact of third places on community quality of life. Applied Research in the Quality of Life, 4(4), 333–345.
Lukito, Y. N., & Xenia, A. P. (2017). Café as third place and the creation of a unique space of interaction in UI campus. Earth and Environmental Science, 99.
McCarter, J., Boge, G., & Darlow, G. (2001). Safeguarding the world’s national treasures. Science, 294, 2099–2101.
Morehart, P. (2016, May 4). Library space planning: The third place. The Library Incubator. https://www.acohen.com/blog/library-space-planning-the-third-place/
Myers, P. (2012). Going home: Essays, articles, and stories in honour of the Andersons. Oak Hill College.
Oldenburg, R. (1989). The great good place. Da Capo Press.
Oldenburg, R. (1999). The great good place: Cafes, coffee shops, bookstores, bars, hair salons, and other hangouts at the heart of a community (2nd ed.). Marlowe.
Oldenburg, R., & Brissett, D. (1982). The third place. Qualitative Sociology, 5(4), 265–284.
Slater, A., & Koo, H. (2010). A new type of third place? Journal of Place Management and Development, 2, 99–112.
Woldoff, R., Lozzi, D., & Dilks, L. (2013). Social transformation of coffee houses: The emergence of chain establishments and the private nature of usage. International Journal of Social Science Studies, 1(2), 205–218.