ศิลปะกลองชัยมงคล สู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ศูนย์วัฒนธรรมชุมชนต้นแบบ บ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

วันชัยยุทธ วงษ์เทพ
ภัทราวดี ธงงาม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศิลปะกลองชัยมงคล ศึกษากลุ่มผู้ใช้งานภายในโครงการและความต้องการภายในพื้นที่บริบทโดยรอบทั้งหมดของศูนย์วัฒนธรรมต้นแบบบ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่ วิเคราะห์และนำผลจากการศึกษามาออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์วัฒนธรรมต้นแบบบ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่ งานวิจัยนี้ เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method) ด้วยการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Approach) ใช้วิธีการสัมภาษณ์เจาะลึกเน้นประเด็นเรื่อง ศิลปะกลองชัยมงคล จากผู้เชี่ยวชาญ และผู้ที่เกี่ยวข้องกับการจัดศูนย์วัฒนธรรมชุมชน ด้านต่าง ๆ และแนวทางเชิงปริมาณ (Quantitative Approach) ผู้วิจัยใช้วิธีการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม จากกลุ่มคนภายในชุมชน กลุ่มนักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติที่มีความสนใจเกี่ยวกับวัฒนธรรมชุมชนบ้านแม่กลางหลวง เพื่อหาความเหมาะสมของการนำแนวคิดการใช้กลองชัยมงคลเพื่อมาประยุกต์ใช้ สอบถามความต้องการของทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านความต้องการพื้นที่ ผลการวิเคราะห์ข้อมูลศิลปะกลองชัยมงคลด้านคุณค่าความสำคัญ ด้านพลังศรัทธา ด้านพิธีกรรมการสร้าง และระเบียบในการตีกลองชัยมงคล สามารถนำมาสรุปสาระโดยได้คำสำคัญคือ “ชัยมังคละ – กลองศักดิ์สิทธิ์นำมาซึ่งความเป็นสิริมงคล” เพื่อนำมาสร้างแนวคิดในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์วัฒนธรรมต้นแบบบ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่ โดยผลการประเมินความเหมาะสมมีค่า และผลประเมินความต้องการของทั้งผู้ให้และผู้ใช้บริการด้านความต้องการพื้นที่ พบว่า ชุมชนต้องการให้การออกแบบเฟอร์นิเจอร์สามารถปรับเปลี่ยนการใช้งานได้ตามกิจกรรม รวมทั้งการเลือกใช้วัสดุในท้องถิ่น จากนั้นนำผลมาประยุกต์ใช้ในการออกแบบสถาปัตยกรรมภายในศูนย์วัฒนธรรมชุมชนต้นแบบ บ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่ ในส่วนการจัดผังแปลน ทัศนียภาพ และเฟอร์นิเจอร์ภายในพื้นที่จัดแสดง ประเมินผลความพึงพอใจรวมจากกลุ่มตัวอย่าง 100 คน พบว่า มีความพึงพอใจระดับ “ดี” คะแนนค่าเฉลี่ย (𝑥̅) 3.92 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) = 0.72

Downloads

Article Details

How to Cite
วงษ์เทพ ว. ., & ธงงาม ภ. . (2025). ศิลปะกลองชัยมงคล สู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายใน ศูนย์วัฒนธรรมชุมชนต้นแบบ บ้านแม่กลางหลวง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง, 7(1), 89–101. สืบค้น จาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/Jadc/article/view/266677
บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565, 21 มกราคม). สรุปสถานการณ์พักแรม จำนวนผู้เยี่ยมเยือน และรายได้จากผู้เยี่ยมเยือน เดือนมกราคม - ธันวาคม 2564. https://www.mots.go.th/news/category/630

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2555, 19 มีนาคม). กลองชัยมงคล. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=DcXJJJvaFms&t=104s

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม. (2556, 22 สิงหาคม). ศิลปะการแสดงชัยมงคล1. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=ObLdgeJvm28

ชัชวาลย์ ทองดีเลิศ. (2553). องค์ความรู้กลองชัยยะมงคล. โฮงเฮียนสืบสานภูมิปัญญาล้านนา.

ดิษฐ์ พิยารมย์. (2553). องค์ความรู้ศิลปินแห่งชาติ นายมานพ ยาระณะ. (งานวิจัยอิสระโครงการวิจัยศิลปวัฒนธรรม). สำนักงานกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงวัฒนธรรม.

ที่นี่โอเค. (2563, 18 สิงหาคม). กลองชัยมงคล คติความเชื่อเกี่ยวกับการตีกลองแบบต่าง ๆ ของชาวล้านนา. [Video]. YouTube. https://www.youtube.com/watch?v=xXpBfy6Aj0M

พระนคร ปญฺญาวชิโร. (2555). กลองในพระไตรปิฎกที่ปรากฎในล้านนา. สำนักพิมพ์มรดกล้านนา.

พระศักดิ์สกล สกฺกมหิทฺธิมลาวิโก (ผลสนอง), พระครูปริยัติพัฒนบัณฑิต, พระครูสุธีคัมภีรญาณ และ เพลิงสุริยเทพ รามางกูร ณ โคตะปุระ. (2566). กลองในพระพุทธศาสนาเถรวาท. Journal of Roi Kaensarn Academi, 8(11), 767–780.

พิพัฒน์ เสียงชารี. (2551). การศึกษากลองชัยยะมงคลของนายมานพ ยาระณะ จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รณชิต แม้นมาลัย. (2536). กลองหลวงล้านนาและความสัมพันธ์ระหว่างชีวิตกับชาติพันธุ์. [วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต, ไม่ได้ตีพิมพ์]. มหาวิทยาลัยมหิดล.

รณฤทธิ์ ไหมทอง. (2566). กลองขุมดิน มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมดนตรีล้านนา. วารสารดนตรีและการแสดง, 9(2), 96–109.

วิลาวัณย์ เศวตเศรนี. (2555). ภูมิปัญญาเชิงช่างเชียงใหม่. สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สนั่น ธรรมธิ. (2550). นาฏดุริยการล้านนา. สุเทพการพิมพ์.

สารสนเทศภูมิปัญญาท้องถิ่น ภาคเหนือ. (2555, 4 ตุลาคม). เครื่องดนตรีและอุปกรณ์ในการแสดงตีกลองชัยมงคล. http://bansanpakoy.blogspot.com/2012/10/

สิปปกร ขจรกุลจรรยา, ทิพวรรณ ทั่งมั่งมี และฉลองเดช คูภานุมาต. (2565). การอนุรักษ์และเผยแพร่การตีกลองไชยมงคลในรูปแบบของ พ่อครูมานพ ยาระณะ. วารสาร มจร อุบลปริทรรศน์, 7(3), 1023–1036.

Bazarbayeva, S. M., Erkin, A., Sadykova, Z. M., Baizhanova, Z. B., & Shmygol, N. N. (2023). Ethnic multifunctional furniture: A design approach to the use of waste plastic. International Journal of Design & Nature and Ecodynamics, 18(1), 21–28. https://doi.org/10.18280/ijdne.180103

Garip, B., Onay, N. S., Garip, E., & Guzelci, O. Z. (2019). Flexible and modular furniture design for changing living environments. Proceedings of the 29th International Conference Research for Furniture Industry, 533–546. Ankara, Turkey.

Jagtap, S., & Corsini, L. (2023). Design and sustainability. (Edited). MDPI. https://doi.org/10.3390/books978-3-0365-8343-3

Supply Chain X Change. (2021). Modular wall systems offer a fast and flexible solution for interiors. Thescxchange. https://www.thescxchange.com/articles/4809-modular-wall-systems-offer-a-fast-and-flexible-solution-for-interiors

Tovar, E. (2024, April 25). How can modular design be used to revolutionize housing architecture?. https://www.archdaily.com/1015545/how-can-modular-design-be-used-to-revolutionize-housing-architecture