การศึกษาสภาพการส่องสว่างที่สอดคล้องกับนาฬิกาชีวภาพของร่างกายในอาคารสำนักงานที่มีการวางผังแบบเปิดในกรุงเทพมหานคร
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและเปรียบเทียบปริมาณการส่องสว่างในพื้นที่ทำงานของอาคารสำนักงานและประเมินประสิทธิภาพของแสงเพื่อการกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพตามเกณฑ์ Well Building standard และเพื่อประเมินคุณภาพการนอนหลับและระดับความง่วงนอนตอนกลางวันจากการสัมผัสแสงในพื้นที่ทำงานตามเกณฑ์แบบประเมินคุณภาพการนอนหลับของแบบสอบถามพิตส์เบิร์ก (The Pittsburgh Sleep Quality Index : PSQI) และแบบประเมินระดับความง่วงนอนตอนกลางวัน (Epworth Sleepiness Scale : ESS) โดยใช้การสำรวจความส่องสว่าง (Lux) บนระนาบพื้นโต๊ะทำงานและอุณหภูมิแสง (Kelvin) ในตำแหน่งที่นั่งทำงานประจำของบุคคล จากการศึกษาพบว่าปริมาณแสงสว่างในพื้นที่ไม่สามารถกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพตามเกณฑ์ของ Well Building standard โดยมีค่าเฉลี่ยของความส่องสว่างทั้ง 3 ชั้น ( 23, 25 และ 27) อยู่ที่ 460.97 หรือ Melanopic Lux เท่ากับ 207.44 ซึ่งเป็นค่าความส่องสว่างเพื่อการใช้งานปกติในอาคารเท่านั้น ไม่เพียงพอที่จะกระตุ้นการทำงานของระบบนาฬิกาชีวภาพ โดยปริมาณความส่องสว่างในพื้นที่ทำงานเฉพาะที่ส่งผลต่อนาฬิกาชีวภาพที่เหมาะสมคือ ≥ 560 Lux (หลอดFluorescent) หรือ Melanopic Lux เท่ากับ 250 ขึ้นไปอย่างน้อย 4 ชั่วโมงต่อวันหรือทุกวันตลอดทั้งปี ซึ่งสอดคล้องกับผลประเมินด้านคุณภาพการนอนหลับและระดับความง่วงนอนในตอนกลางวันจากการทำแบบประเมินของกลุ่มผู้เข้าร่วม พบว่าสัดส่วนผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่มีคุณภาพการนอนไม่ดีร้อยละ 71 และมีระดับความง่วงนอนตอนกลางวันมากกว่าปกติร้อยละ 46 ซึ่งผลคะแนนประเมินมีความสัมพันธ์กับสัดส่วนของการใช้แสงธรรมชาติในอาคารที่มีน้อยและใช้แสงประดิษฐ์ (Fluorescent) เป็นแสงหลักและเป็นแสงที่ไม่มีประสิทธิภาพการกระตุ้นระบบนาฬิกาชีวภาพ ฉะนั้นการบริหารจัดการอาคารสำนักงานควรให้ความสำคัญด้านแสงสว่างของสภาพแวดล้อมและแสงสว่างภายในให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์การกระตุ้นนาฬิกาชีวภาพเพื่อส่งเสริมสุขภาวะที่ดีและประสิทธิภาพการทำงานของผู้ใช้พื้นที่ภายในอาคาร
Downloads
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของวารสารสถาปัตยกรรม การออกแบบและการก่อสร้าง คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ผังเมืองและนฤมิตศิลป์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
References
กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและการอนุรักษ์พลังงาน,กระทรวงพลังงาน. (2562). ทิศทางการออกแบบ อาคารตามมาตรฐานการออกแบบอาคาร WELL Building Standard เรื่องการออกแบบแสงและทิวทัศน์สาหรับพื้นที่ทำงาน. โครงการบริหารศูนย์ประสานงานการออกแบบอาคารเพื่อการอนุรักษ์พลังงาน. https://2e-building.dede.go.th/
Blask DE, Brainard GC, Dauchy RT, Hanifin JP, Davidson LK, Krause JA, Sauer LA,Rivera-Bermudez MA, Dubocovich ML, Jasser SA., Lynch DT, Rollag MD, Zalatan F. (2005). Melatonin-depleted blood from premenopausal women exposed to light at night stimulates growth of human breast cancer xenografts in nude rats. National Library of Medicine. Dec 1;65(23):11174-84. DOI: 10.1158/0008-5472.CAN-05-1945.
Emi Yuda, Hiroki Ogasawara, Yutaka Yoshida and Junichiro Hayano. (2017) Enhancement of autonomic and psychomotor arousal by exposures to blue wavelength light: importance of both absolute and relative contents of melanopic component. Journal of Physiological Anthropology, 36:13. DOI 10.1186/s40101-017-0126-x
Jason Hunziker. (2022). THE SEASON OF SAD. Division of Adult Psychiatry.University of Utah Health.
https://healthcare.utah.edu/healthfeed/2022/11/season-of-sad
Kaplan, R. (1993) The role of nature in the context of the workplace. Landscape and Urban Planning Volume 26, Issues 1–4, October, 193–201.
Konis, K. (2017). A Novel Circadian Daylight Metric for Building Design and Evaluation. Building and Environment, Volume 113, 15 February, Pages 22–38.DOI:10.1016/j.buildenv.2016.11.025
Mariana G. Figueiro. (2017). Disruption of Circadian Rhythms by Light During Day and Night. National Library of Medicine. 3(2): 76–84. DOI: 10.1007/s40675-017-0069-0
Mariana G. Figueiro, Kassandra Gonzales and David Pedler. (2016). Designing with Circadian Stimulus. Lighting Design
and Applications (LD+A). The magazine of the Illuminating Engineering Society of North America (IESNA). Published October. https://www.ies.org/
Mohamed Boubekri, Ivy N. Cheung, Kathryn J. Reid, Chia-Hui Wang and Phyllis C. Zee,. (2014). Impact of Windows and Daylight Exposure on Overall Health and Sleep Quality of Office Workers: A Case-Control Pilot Study. Journal of Clinical Sleep Medicine, Vol. 10, No. 6. https://doi.org/10.5664/jcsm.3780
Newsham G., Brand J., Donnelly C., Veitch, J. A. (2009) Linking indoor environment conditions to job satisfaction: a field study. Building Research and Information 37(2):129-14737(2):129-147. DOI:10.1080/096132 10802710298
Peter R. Boyce. (2003). Human factor in lighting. Engineering & Technology. 2 (602). https://doi.org/10.1201 /9780203426340
Peter R. Boyce.(2010). The impact of light in buildings on human health. Article in Indoor and Built Environment. Rensselaer Polytechnic Institute. DOI: 10.1177/1420326X09358028
Silfia Mona Aryani, Arif Kusumawanto, Jatmika Suryabrata (2020). Lighting in the Workplace as the Visual Environment That Affect the Occupant’s Mood: A Literature Review. Advances in Social Science, Education and Humanities Research, volume 475. DOI:10.2991/assehr.k.201009.002
Stevens RG (1987). Electric power use and breast cancer: a hypothesis. National Library of Medicine. Apr;125(4), 556-61. DOI: 10.1093/oxfordjournals.aje.a114569.
The WELL Building Standard (WELL). (2023). Circadian Lighting Design. https://v2.wellcertified.com/en/wellv2-2/light/feature/3
Veitch, J.A. and Gifford, R. (1996a) Assessing beliefs about lighting effects on health, performance, mood, and social behavior. Environment and Behavior. 28(4). 446– 470. DOI: 10.1177/0013916596284002
Zee, Phyllis C. Badr, M. Safwan Kushida, Clete Mullington, Janet M. Pack, Allan I. Parthasarathy, Sairam Redline, Susan Szymusiak, Ronald S. Walsh, James K. Watson, Nathaniel F. (2014) Strategic opportunities in sleep and circadian research: Report of the Joint Task Force of the Sleep Research Society and American Academy of Sleep Medicine. Journal of Sleep and Sleep Disorders Research, 37(2), 219 -227. https://doi.org/10.5665/sleep.3384